Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4512
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorวิภาพร สิทธิสาตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-10-26T11:55:48Z-
dc.date.available2007-10-26T11:55:48Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743344071-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4512-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractเปรียบเทียบความเครียดและความสามารถในการบริหารเวลา ของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังฝึกทักษะการบริหารเวลา และเปรียบเทียบความเครียดและความสามารถในการบริหารเวลา ของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา และกลุ่มที่ศึกษาเอกสารเรื่องการบริหารเวลา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2542 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครสวรรค์ และสวรรค์ประชารักษ์ ซึ่งกำลังศึกษาภาคทฤษฎี อยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 40 คน ได้รับการสุ่มแบบจับคู่ ตามคุณสมบัติดังนี้ (1) ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ในภาคต้นปีการศึกษา 2542 (2) คะแนนความเครียด โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา กลุ่มควบคุมได้ศึกษาเอกสารเรื่องการบริหารเวลา ทำการทดลองโดยทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการฝึกทักษะการบริหารเวลา แบบประเมินความเครียดของนักศึกษาพยาบาล แบบสอบถามความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาล และแบบบันทึกการใช้เวลาของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Nonparametric ได้แก่ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks กับ The Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา มีความเครียดลดลงภายหลังได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษากลุ่มที่ได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา มีความสามารถในการบริหารเวลา ภายหลังได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา มากกว่าก่อนได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา 3. นักศึกษากลุ่มที่ได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา มีความเครียดหลังการฝึกทักษะการบริหารเวลา น้อยกว่ากลุ่มที่ศึกษาเอกสารเรื่องการบริหารเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษากลุ่มที่ได้รับการฝึกทักษะการบริหารเวลา มีความสามารถในการบริหารเวลา มากกว่ากลุ่มที่ได้ศึกษาเอกสารเรื่องการบริหารเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeTo compare stress and time management ability, by pretest and posttest, of nursing students. Groups of sample deviced into two groups, the experimental group practiced time management and the control group worked with documents, were 40 freshmen nursing students from Nakornsawan Nursing College and Sawanpracharak Nursing College. They were allocated in group by G.P.A and stress score in randomly assigned experimental group for time training management. The research instruments were time training management plan, stress test and time management ability test. Data were analyzed by using median, quartile deviation, The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks test and the Mann-Whitney U Test statistics at .05 level. The findings revealed that: 1. After the experimental period, the experimental group had less stress. 2. The experimental group had a better level of ability in time management. 3. The experimental group, which practiced time management, had less stress than the control group. 4. The experimental group,which practiced time management, had more ability in time management than the control group.en
dc.format.extent18395752 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.537-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการพยาบาล-- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)en
dc.subjectนักศึกษาพยาบาล -- การดำเนินชีวิตen
dc.subjectการบริหารเวลาen
dc.subjectNursing -- Study and teaching-
dc.subjectStress (Psychology)-
dc.subjectNursing students -- Conduct of life-
dc.subjectTime management-
dc.titleผลของการฝึกทักษะการบริหารเวลาต่อความเครียดและความสามารถ ในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาลen
dc.title.alternativeEffects of time management skill training on nursing students' stress and time management abilityen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการพยาบาลศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.537-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wipaporn.pdf17.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.