Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45158
Title: โลกบาลในวรรณคดีพุทธศาสนา
Other Titles: Lokapālas in Buddhist literature
Authors: ณัชพล ศิริสวัสดิ์
Advisors: ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว
บรรจบ บรรณรุจิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Banjob.B@Chula.ac.th
Subjects: วรรณคดีพุทธศาสนา
เทพปกรณัม
Buddhist literature
Mythology
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษารวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ “โลกบาล” ในวรรณคดีพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทบาลี (มูล) สรรวาสติวาทิน และมหาสังฆิกะ ในด้านลักษณะและบทบาทรวมถึงแนวคิดเรื่องโลกและทิศอันเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับโลกบาล ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดเรื่องเทวดาผู้เป็นใหญ่แห่งทิศปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเวท ในวรรณคดีสันสกฤตเรียกเทวดากลุ่มดังกล่าวว่า “ทิศามฺปติ” หรือ “ทิคธิปติ” หรือ “โลกบาล” มีรายชื่อ จำนวน และบทบาทแตกต่างกันตามแต่ละสมัย ส่วนวรรณคดีพุทธศาสนาเรียกว่า “มหาราช” หรือ “โลกบาล” มีรายชื่อและจำนวนที่แน่นอน พุทธศาสนาอาจสืบทอดแนวคิดเรื่องเทวดาผู้เป็นใหญ่แห่งทิศที่มีอยู่เดิม แต่ได้ปรับเปลี่ยนและจัดระเบียบแนวคิดดังกล่าวให้เข้ากับหลักคำสอนทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะในเรื่องกฎแห่งกรรมวิบากและกฎแห่งไตรลักษณ์ ทำให้โลกบาลมีลักษณะและบทบาทตามโลกทัศน์ของพุทธศาสนา ในด้านลักษณะ โลกบาลในวรรณคดีพุทธศาสนาประกอบด้วยเทวดา 4 องค์ ได้แก่ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสวัณหรือกุเวร อยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาในกามสุคติภูมิ โลกบาลทรงปกครองทิศหลักทั้ง 4 ของโลกในมิติแนวราบโดยมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง และทรงเป็นใหญ่เหนือคนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ ซึ่งเป็นบริวารของโลกบาลโดยตรง โลกบาลมีลักษณะทางกายภาพที่ดีวิเศษกว่ามนุษย์ในทุกด้านซึ่งเกิดขึ้นด้วยอานิสงส์แห่งกุศลกรรม อย่างไรก็ดี โลกบาลยังตกอยู่ในอำนาจของ ไตรลักษณ์และยังเวียนว่ายตายเกิดเหมือนสัตว์โลกทั่วไป ในด้านบทบาท โลกบาลมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์โลกที่มีคุณธรรมสูงส่งประกอบด้วย พระพุทธเจ้า พุทธบริษัท และท้าวสักกะ อีกทั้งยังปกป้องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นโลกในเชิงกายภาพ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทเป็นผู้ฟังธรรม ผู้ปฏิบัติธรรม และเป็นผู้แจ้งข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในพุทธศาสนา โลกบาลจึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับทั้งโลกมนุษย์และเทวโลก แนวคิดเรื่องโลกบาลในวรรณคดีพุทธศาสนาแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการรวมความเชื่อดั้งเดิมหรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมซึ่งปรากฏมาแล้วตั้งแต่ก่อนหรือร่วมสมัยกับพุทธกาลให้เข้ามาอยู่ภายใต้ พุทธศาสนาด้วยการกำหนดให้คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ซึ่งเป็นตัวแทนของความเชื่อดั้งเดิมและ ชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ยังคงมีความขัดแย้งกับพุทธศาสนาเข้ามาเป็นบริวารของโลกบาลเพื่อเป็นการแสดงการยอมรับพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันพุทธศาสนาก็เป็นฝ่ายยอมรับความเชื่อดั้งเดิมหรือชนพื้นเมืองดั้งเดิม ดังจะเห็นจากรายนามของโลกบาลทั้ง 4 ที่อาจสะท้อนร่องรอยของความเชื่อดั้งเดิมและชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ได้เปลี่ยนฐานะให้กลายเป็นเทวดาในความเชื่อทางพุทธศาสนา การรับพระปริตรของพระพุทธเจ้าจากโลกบาล และการกำหนดให้โลกบาลเป็นผู้ดูแลทิศทั้ง 4 เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นการแสดงให้เห็นว่า ต่างฝ่ายต่างประนีประนอมยอมรับความสำคัญของกันและกัน ดังนั้น แนวคิดเรื่องโลกบาลในวรรณคดี พุทธศาสนาจึงมีความแตกต่างจากวรรณคดีสันสกฤตอย่างเห็นได้ชัด
Other Abstract: The purpose of this thesis was to study “Lokapālas” in Buddhist literatures, including Theravāda, (Mūla)sarvāstivādin, and Mahāsaghika. It specifically aimed to analyze Lokapālas’ characteristics, roles, and the concept of world (loka) and direction (diś) relating to the concept of Lokapālas. The study revealed that the concept of the rulers of the direction had existed since the vedic period. In Sanskrit literature, the rulers of the direction were called “Diśāmpati,” “Digadhipati,” or “Lokapāla” which were different in names, numbers, and roles depending on the periods while in Buddhist literature, they were called “Mahārāja” (the great kings) or “Lokapāla” (the guardians of the world) which were similar in names, numbers, and roles. Buddhism might inherit this precedent concept of the rulers of the direction from Brahmanism but it modified and arranged these concepts in relation to the Buddhist teaching especially the Law of Kamma and the Three Characteristics of Existence (Tilakkhaa). Therefore, Lokapālas had characteristics and roles according to Buddhist thought. In terms of its characteristics, Lokapālas are four in number: Dhataraha (Skt. Dhtarāra), Virūha or Virūhaka (Skt. Virūhaka), Virūpakkha (Skt. Virūpāka), and Kuvera or Vessavaa (Skt. Kubera or Vāiśravaa). Their habitation is Cātummahārājikā, the heavenly realm of the Four Great Kings, classified in the world of sense-desire (Kāmabhūmi). They rule over four horizontal direction of the world as viewed by Meru mountain in centric. They are lord of the gandhabbas, the nāgas, the kumbhaas, and the yakkhas respectively. These gods exist in a state and environment far superior to that of humans. They are, however, still bound to the Three Characteristics of Existence and subject to being reborn in the endless cycle of Saṃsāra. The roles of Lokapālas are the helper of beings with high virtuous accomplishments including the Buddha, the Buddhist assembly, and Sakka, and they also protect Tāvatiṃsā heaven sphere which is the physical world. Moreover, they are the listener of the dhamma and the meditator, and the messenger of the important Buddhist messages or situations. Therefore, Lokapālas are involved in the world of man (Manussaloka) and the heavenly world (Devaloka). The concept of Lokapālas in Buddhist literature reflects an attempt to incorporate the precedent or contemporary indigenous beliefs and people into Buddhism by positioning the gandhabbas, the nāgas, the kumbhaas, and the yakkhas representing indigenous beliefs and people still in conflict with Buddhism to be the retinues of Lokapālas in order to show their acceptance of Buddhism. Similarly, Buddhism also shows their acceptance of indigenous beliefs and people as evidenced by the names of the Four Great Kings which reflect the trace of changing indigenous beliefs and people to be Buddhist gods, the acceptance of the verses of protection (paritta), and the assignment of Lokapālas to rule over four direction and the Cātummahārājikā heaven sphere. These show their compromise and mutual recognition. The concept of Lokapālas in Buddhist literature is, therefore, distinctively different from Sanskrit literature.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาบาลีและสันสกฤต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45158
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natchapol_si.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.