Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45182
Title: อิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานและข้อเรียกร้องในงานต่อความผูกใจมั่นในงานโดยมีทุนทางจิตวิทยาเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Effects of job researches and job demands on work engagement : the mediating role of psychological capital
Authors: สิริพร ทรัพยะประภา
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
เรวดี วัฒฑกโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: atuicomepee@gmail.com
Rewadee.W@Chula.ac.th
Subjects: การทำงาน
ความภักดีของลูกจ้าง
สภาพแวดล้อมการทำงาน
ความผูกพันต่อองค์การ
สัมพันธภาพในงาน
จิตวิทยาองค์การ
Work
Job relation
Employee loyalty
Work environment
Organizational commitment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกใจมั่นในงานโดยมีแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานข้อเรียกร้องในงานเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านทุนทางจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือพนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งเพศชายและเพศหญิงโดยมีอายุการทำงานในองค์การปัจจุบันไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 570 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) มาตรวัดข้อเรียกร้องในงาน 2) มาตรวัดแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน 3) มาตรวัดทุนทางจิตวิทยา และ 4) มาตรวัดความผูกใจมั่นในงานโดยมีค่าความเที่ยงของมาตรวัดอยู่ระหว่าง .87 ถึง .69 ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานและข้อเรียกร้องในงานต่อความผูกใจมั่นในงานโดยมีทุนทางจิตวิทยาเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 = 60.111, df = 46, N 46, N = 570, p = 0.079, GFI = 0.984, RMSEA = 0.023) 2. แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานมีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกใจมั่นในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และทุนทางจิตวิทยามีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกใจมั่นในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน และข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกใจมั่นในงานโดยผ่านทุนทางจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่พบอิทธิพลทางอ้อมระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคต่อความผูกใจมั่นในงานโดยผ่านทุนทางจิตวิทยา
Other Abstract: The purposes of this research were to develop and to validate the causal model of work engagement and to investigate and to compare the effects size, both direct and indirect effects, of job resources, job demands, and psychological capital, Participants were 570 Thai employees in Bangkok metropolis. There were 4 research instruments: 1) job demands scale 2) job resources scale 3) psychological capital scale 4) work engagement scale. Reliability of all scales ranged from .87 to .96 Findings are as follows: 1. The causal model of work engagement fits the empirical data ( 2 = 60.111, df = 46, N 46, N = 570, p = 0.079, GFI = 0.984, RMSEA = 0.023) 2. Direct effect of job resources to work engagement is significantly different from zero at alpha level 0.05. Challenge-job demands, hindrance-job demends, and psychological capital have direct effect on work engagement which is significantly different from zero at alpha level 0.01 3. Indirect effect of job resources and challenge-job demands to work engagement via psychological capital is significantly different from zero at alpha level 0.01. There is no indirect effect of hindrance-job demands to work engagement via psychological capital.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45182
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1288
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1288
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_sa.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.