Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45304
Title: ผลของรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกันที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: The effects of different feedback styles on the ability to solve mathematics problems of seventh grade students
Authors: อนงค์ เมธีพิทักษ์ธรรม
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: tkamonwan@hotmail.com
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การแก้ปัญหา
Mathematics -- Study and teaching (Secondary)
Problem solving
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในแต่ละระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ได้รับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบอธิบายรายละเอียด แบบชี้แนะ แบบผสม และแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง และ (2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนกับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 140 คน แบ่งเป็นผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูง ปานกลางและต่ำ โดยผู้เรียนในแต่ละระดับความสามารถจะได้รับข้อมูลย้อนกลับ 4 รูปแบบ (ข้อมูลย้อนกลับแบบอธิบายรายละเอียด ข้อมูลย้อนกลับแบบชี้แนะ ข้อมูลย้อนกลับแบบผสม และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียน และหลังเรียน (2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และ(3) โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูงที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบอธิบายรายละเอียดและแบบชี้แนะมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ส่วนผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับปานกลางที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบอธิบายรายละเอียด แบบชี้แนะและแบบผสม มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบผสมมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบอธิบายรายละเอียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับต่ำที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบอธิบายรายละเอียด แบบชี้แนะและแบบผสม มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบผสมมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบชี้แนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์กับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The objectives of the research were: (1) to compare problem solving ability of seventh grade students who received four types of feedback which are elaborative feedback, suggestive feedback, mixed feedback, and corrective feedback and (2) to study the interactions between learning ability in mathematics and feedback types which can affect problem solving ability of seventh grade students. Quasi-experimental approach with pretest-posttest was used in this study. Samples were 140 seventh grade students classified into 3 groups of mathematics learning ability, i.e., high, moderate, and low. Students were provided with 4 types of feedback, i.e., elaborative feedback, suggestive feedback, mixed feedback, and corrective feedback. The research instruments were (1) pretest and posttest examination, (2) single variable equation exercise, and (3) computer assisted instruction. Data were analyzed by using descriptive statistics, one-way ANOVA and two-way ANOVA. Results were provided as follows: (1) In the high learning ability in mathematics group, those who received elaborative feedback, suggestive feedback are better at problem solving ability than those who received corrective feedback with statistical significance level of .05 and .01. In the moderate learning ability in mathematics group, those who received elaborative feedback, suggestive feedback, and mixed feedback are better at problem solving ability than those who received corrective feedback with statistical significance level of .01. In this group, those who received mixed feedback are better at problem solving ability than those who received elaborative feedback with statistical significance level of .05. In the low learning ability in mathematics group, those who received elaborative feedback, suggestive feedback, and mixed feedback are better at problem solving ability than those who received corrective feedback with statistical significance level of .01. Also, In this group, those who received mixed feedback are better at problem solving ability than those who received suggestive feedback with statistical significance level of .05. (2) There were interactions between learning ability in mathematics and feedback types on ability to solve mathematics problems with statistical significance level of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45304
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1376
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1376
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_ma.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.