Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45490
Title: การพัฒนาโมเดลคุณภาพการให้คะแนนระหว่างกลุ่มผู้ประเมินในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราสซ์
Other Titles: DEVELOPMENT OF THE QUALITY RATING MODELS ACROSS GROUPS OF RATERS IN PROBLEM BASED LEARNING: AN APPLICATION OF MANY-FACET RASCH MEASUREMENT
Authors: ศุกลรัตน์ อิงชาติเจริญ
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Kamonwan.T@Chula.ac.th,tkamonwan@hotmail.com
Aimorn.J@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์ความแม่นยำและความคลาดเคลื่อนในการให้คะแนนของกลุ่มผู้ประเมินในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราสซ์ 2) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพการให้คะแนนในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) ตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพการให้คะแนนในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างกลุ่มผู้ประเมินอาจารย์ เพื่อน และตนเอง และ 4) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลคุณภาพการให้คะแนนในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามคุณลักษณะของผู้ประเมิน และแบบประเมินกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย MFRM ตรวจสอบความตรงของโมเดล ตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ANCOVA และ MANCOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในภาพรวมผู้ประเมินทั้งสามกลุ่มมีแนวโน้มให้คะแนนที่มีความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย (Measure in Logits อยู่ระหว่าง -0.75 ถึง 0.47) โดยผู้ประเมินกลุ่มเพื่อนมีแนวโน้มให้คะแนนที่มีความคลาดเคลื่อนชนิดปล่อยคะแนน ส่วนผู้ประเมินกลุ่มอาจารย์มีแนวโน้มให้คะแนนที่มีความคลาดเคลื่อนชนิดกดคะแนนเป็นอันดับสองรองจากผู้ประเมินกลุ่มตนเอง และทั้งหมดถือว่าเป็นการให้คะแนนที่มีความแม่นยำ (Infit MNSQ อยู่ระหว่าง 0.97 ถึง 1.05) 2. โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพการให้คะแนนในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ บริบทของผู้ประเมิน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ 5 ตัว ได้แก่ เป้าหมาย ความสามารถ บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก แรงจูงใจ และความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และคุณภาพการให้คะแนนในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ 3 ตัว ได้แก่ การรับรู้มาตรฐาน กระบวนการเปรียบเทียบ และความคลาดเคลื่อน โดยโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 22.444, df = 19, p = .263, GFI = 0.985, AGFI = 0.971 และ RMR =0.035) 3. โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพการให้คะแนนในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มผู้ประเมิน ได้แก่ อาจารย์ เพื่อน และตนเอง แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้ 4. ภายหลังการทดลองใช้โมเดลคุณภาพการให้คะแนนในวิชาที่มีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรูปแบบคู่มือ พบว่า กลุ่มทดลองมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to analyze of rater errors in problem-based learning (PBL) using many-facet Rasch model, 2) to develop and validate the quality rating causal model in PBL, 3) to test the invariance of the quality rating causal model in PBL across tutor-, peer- and self-raters, and 4) to develop and test the quality rating model in PBL. The sample consisted of instructors and students of the institutes of higher education providing PBL. Research instruments were a set of rater characteristics questionnaires and a tutorial-based assessment form. Descriptive statistics, MFRM, SEM, MI, ANCOVA, and MANCOVA were employed to analyze the data. Research results were as follows: 1. In summary, three rater groups tend to have very little rater errors (Measure in Logits ranged from -0.75 to 0.47). Peer-raters tend to have the most lenient rater while tutor-raters tend to have the second severe raters next to self-raters. All ratings were considered accuracy (Infit MNSQ ranged from 0.97 to 1.05). 2. The quality rating causal model in PBL was comprised of the following two latent variable, such as 1) rater context measured from five observed variables consisting of rater goals, ability for rating, conscientiousness, rater’s motivation and accountability, and 2) quality rating measured from three observed variables consisting of perception of PBL standards, comparison process, and rater error. The model was valid and fit to the empirical data (chi-square = 22.444, df = 19, p = .263, GFI = 0.985, AGFI = 0.971 and RMR = 0.035). 3. The quality rating causal model in PBL indicated invariance of model form among different rater groups, namely tutor-raters, peer-raters, and self-raters, but the model indicated variance of the factor loading of each indicators. 4. After a try out session of the quality rating model in PBL which was made available on manuals, it was found that the rater error of the experimental group was less than that of the control group at the statistically significant level .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45490
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484245027.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.