Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4553
Title: ผลของยาไซโคลสปอรินเอต่อการทำหน้าที่ของตัวรับความดันเลือดแดง และหน้าที่ของไต เนื่องจากบทบาทของแองจิโอเท็นซินทู
Other Titles: Effects of cyclosporin a (CsA) on baroreceptor reflex and renal function : role of angiotensin II
Authors: สุรสีห์ อุ๋ยสุวรรณ
Advisors: ชลลดา บูรณกาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: bchollad@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: ไซโคลสปอริน
เลือด -- การไหลเวียน
ไต -- การทดสอบหน้าที่
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของไซโคลสปอรินเอต่อการทำงานของ baroreceptor reflex และการทำหน้าที่ของไต ในสุนัขเพศผู้น้ำหนัก 13-18 กิโลกรัม จำนวน 15 ตัว แบ่งสุนัขทดลองเป็น 3 กลุ่ม และได้รับยาโดยการกิน กลุ่มที่ 1 ได้รับอีนาลาพริลขนาด 0.5 มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว นาน 10 วัน กลุ่มที่ 2 ได้รับไซโคลสปอรินเอขนาด 20 มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว นาน 7 วัน กลุ่มที่ 3 ได้รับอีนาลาพริลก่อน 3 วัน และให้ร่วมกับไซโคลสปอรินเอ อีก 7 วันในขนาดเดียวกัน การศึกษาทำในช่วงก่อนและหลังได้รับยาเปรียบเทียบกัน โดยวัดความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ ศึกษาการทำงานของ baroreceptor reflex จากการเหนี่ยวนำให้ความดันเลือดแดงลดต่ำลง ด้วยโซเดียมไนโตรปรัสไซด์ และเหนี่ยวนำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้นด้วยเฟนนิลเอฟริน บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจที่ตอบสนองต่อระดับความดันเลือด ที่เปลี่ยนแปลงไป ศึกษาการทำหน้าที่ของไตหลังจากที่ศึกษาการทำงานของ baroreceptor reflex แล้ว จากการทดลองพบว่ากลุ่มที่ 1 ค่าความดันเลือดแดงต่ำสุดในหลอดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยอัตราการเต้นของหัวใจไม่เปลี่ยนแปลง กลุ่ม 2 ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย ค่าสูงสุดในหลอดเลือด และค่าต่ำสุดในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่อัตราการเต้นของหัวใจไม่เปลี่ยนแปลง และกลุ่ม 3 ระดับความดันเลือดไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการเต้นของหัวใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การทดสอบการทำงานของ baroreceptor reflex ในกลุ่ม 1 พบว่าทั้งค่าจุดการทำงานและค่าความไวของการทำงานไม่เปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเหนี่ยวนำให้ ระดับความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้นและลดต่ำลง ส่วนในกลุ่ม 2 เมื่อเหนี่ยวนำให้ระดับความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น พบค่าความไวของการทำงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่จุดการทำงานไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเหนี่ยวนำให้ระดับความดันเลือดลดลงไม่พบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ และในกลุ่ม 3 ทั้งจุดการทำงานและความไวของการทำงาน ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากการศึกษาการทำหน้าที่ของไต พบว่า กลุ่ม 1 อัตราการกรองของไตและการไหลของเลือดและพลาสมาผ่านไต มีแนวโน้มลดลงทำให้ค่าสัดส่วนการกรองมีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับค่าความต้านทานของหลอดเลือดภายในไต ที่มีแนวโน้มลดลง กลุ่ม 2 ค่าความต้านทานของหลอดเลือดภายในไตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับการไหลของเลือดและพลาสมาผ่านไตที่มีแนวโน้มลดลง แต่อัตราการกรองที่ไตไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าสัดส่วนการกรองที่ไตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กลุ่ม 3 อัตราการกรองที่ไต การไหลของเลือดและพลาสมาผ่านไตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับความต้านทานของหลอดเลือดภายในไตที่มีแนวโน้มลดลง และในกลุ่ม 3 พบอัตราการขับทิ้งของโซเดียมและคลอไรด์ทางไตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับการขับน้ำทิ้งที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการทดลองสรุปได้ว่า ไซโคลสปอรินเอทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้น และเมื่อได้รับอีนาลาพริลสามารถลดระดับความดันเลือดลงได้ แสดงว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นการกระตุ้นผ่านระบบเรนิน-แองจิโอเท็นซิน กลไกของไซโคลสปอรินเอ ในการทำให้ความดันเลือดสูง ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการทำให้ความไวของ baroreceptor reflex ลดลงเมื่อความดันเลือดสูงขึ้น ความบกพร่องของ baroreceptor reflex ในส่วนนี้สามารถทำให้กลับเป็นปกติได้ด้วยการให้อีนาลาพริล
Other Abstract: To investigate the effects of cyclosporin A (CsA) on baroreceptor reflex and renal function in 15 male dogs weighing 13-18 kg. The animals were divided into 3 groups and were treated orally as followed. Group 1 animals received enalapril at a dose of 0.5 mg/kg.bw./day for 10 days. Group 2 dogs received CsA at a dose of 20 mg/kg.bw./day for 7 days, while group 3 dogs received enalapril at the same dose as group 1 for 3 days and combined with CsA for 7 more days. Each experiment was performed on the day before and after receiving drugs, which represented the control and the post treatment values, respectively. Blood pressure and heart rate were recorded. Baroreceptor reflex was tested by either decreaing the blood pressure with sodium nitroprusside (SNP) or increasing with phenylephrine (PE). The relations between blood pressure and heart rate changes were recorded. Renal function was studied on the day after baroreflex testing. The results showed that in group 1, the diastolic blood pressure (DBP) decreasedsignificantly (p<0.05) while the heart rate (HR) was unaltered. In group 2, the mean arterial pressure (MAP), the systolic blood pressure (SBP), and the DBP increased significantly (p<0.05) while the HR was unaltered. In group 3, while the blood pressure remained unchanged, the HR decreased significantly (p<0.05). Study the baroreceptor reflex responses to the decrease or increase in blood pressure induced by SNP and PE, showed that dogs in group 1 had no changes in the set point and the sensitivity of the reflex. In group 2, the sensitivity response to the increased blood pressure decreased significantly (p<0.05) while the set point was unaltered. However, the baroreceptor reflex responses to the decreased blood pressure were not changed. There was no change in the baroreceptor reflex response to either the decrease or the increase of blood pressure in group 3. Study of renal function showed that in group1, the glomerular filtration rate (GFR), the effective renal blood flow (ERBF) and the effective renal plasma flow (ERPF) tended to decrease along with the slight decreases in the filtration fraction (FF) and the renal vascular resistance (RVR). In group 2, the RVR increased slightly, coincided with the decreases of the EFBF and the ERPF. As the GFR was unchanged, the FF tended to increase. In group 3, the GFR, the ERBF, and the ERBF, and the ERPF tended to increase as the RVR decreased. In this group, the urinary excretion of Na+ and C1- increased slightly, coincided with an increase in the free water excretion. In conclusion, CsA increased the SBP, the MAP and the DBP significantly. Enalapril would normalize the hypertensive effect of the CsA suggesting that the CsA may act via the renin-angiotensin system. The mechanism of CsA in inducing blood pressure elevation may in part, due to the impair baroreceptor reflex sensitivity when blood pressure was increased. The impaired baroreceptor reflex could be reversed by enalapril treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยาการสัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4553
ISBN: 9743344276
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surasee.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.