Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45749
Title: ความแตกต่างของความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานหลอดอาหารใน 2 ชั่วโมงแรก ระหว่างกลุ่มที่ตรวจวัดกรดตลอด 24 ชั่วโมงให้ผลเป็นบวกกับลบ ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่ไม่มีการทำลายเยื่อบุผิวหลอดอาหารที่มาด้วยอาการแสบร้อนหน้าอกหรืออาการเรอเปรี้ยว
Other Titles: THE DIFFERENCE IN FIRST 2 HOURS ESOPHAGEAL BASAL IMPEDANCE BETWEEN PATHOLOGICAL AND PHYSIOLOGICAL ACID REFLUXES IN NONEROSIVE REFLUXES DISEASE (NERD) PATIENTS WITH TYPICAL REFLUXES SYMPTOMS.
Authors: ศุภกร มะลิขาว
Advisors: สุเทพ กลชาญวิทย์
ฐนิสา พัชรตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sutep.G@Chula.ac.th,gsutep@hotmail.com
dr_tanisa@yahoo.com
Subjects: ภาวะกรดไหลย้อน
หลอดอาหาร -- โรค
ภาวะกรดไหลย้อน -- ผู้ป่วย
Gastroesophageal reflux
Esophagus -- Diseases
Gastroesophageal reflux -- Patients
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย การวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานของเยื่อบุผิวหลอดอาหารสามารถช่วยวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนได้ โดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาที่เกิดจากกรดไหลย้อน อย่างไรก็ตามการศึกษาก่อนหน้านี้เป็นการศึกษาวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานของเยื่อบุผิวหลอดอาหารเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมง โดยยังไม่เคยมีการศึกษาถึงการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานของเยื่อบุผิวหลอดอาหารในช่วงระยะเวลาที่สั้นกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกแก่ผู้ป่วยในการใส่สายตรวจวัด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแตกต่างของความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานเยื่อบุผิวหลอดอาหารใน 2 ชั่วโมงแรก ระหว่างกลุ่มที่ตรวจวัดกรดในหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมงที่ให้ผลเป็นบวกกับลบ ในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแสบร้อนหน้าอกหรืออาการเรอเปรี้ยว และไม่มีการทำลายเยื่อบุผิวหลอดอาหารจากการส่องกล้องตรวจภายในหลอดอาหาร ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนหน้าอก หรือเรอเปรี้ยวมานานกว่า 3 เดือนที่ไม่มีการอักเสบของหลอดอาหารจากการส่องกล้องตรวจ เข้ารับการตรวจความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานเยื่อบุผิวหลอดอาหารที่ 2 ชั่วโมงแรกกับตลอด 24 ชั่วโมง และตรวจวัดความเป็นกรดในหลอดอาหาร แล้วนำผลค่าความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานเยื่อบุผิวหลอดอาหารที่ 2 ชั่วโมงแรก มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนมากผิดปกติ (pathologic acid reflux) และกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนอยู่ในเกณฑ์ปกติ (physiologic acid reflux) ผลการวิจัย มีผู้ป่วย 32 คนเข้าร่วมงานวิจัยนี้ โดยเป็นกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนมากผิดปก (pathologic acid reflux) จำนวน 16 คน และกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนอยู่ในเกณฑ์ปกติ (physiologic acid reflux) จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่าค่าความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานเยื่อบุผิวหลอดอาหารที่2 ชั่วโมงแรก ในกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนมากผิดปกติ (pathologic acid reflux) มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่มีกรดไหลย้อนอยู่ในเกณฑ์ปกติ (physiologic acid reflux) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1394±342 Ω vs. 2625±509 Ω, p=<0.05) และพบว่าค่าความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานเยื่อบุผิวหลอดอาหารที่ 2 ชั่วโมงแรกมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการวัดที่ 24 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.89, p<0.05). สรุป การวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าพื้นฐานเยื่อบุผิวหลอดอาหารที่ 2 ชั่วโมงแรกนั้นเพียงพอในการแยกระหว่าง ผู้ป่วยกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนมากผิดปกติ (pathologic acid reflux) และ ผู้ป่วยกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนอยู่ในเกณฑ์ปกติ(physiologic acid reflux) ในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแสบร้อนหน้าอกหรืออาการเรอเปรี้ยว และไม่มีการทำลายเยื่อบุผิวหลอดอาหารจากการส่องกล้องตรวจภายในหลอดอาหาร
Other Abstract: Introduction The esophageal basal impedance was used to evaluate the conductivity and integrity of esophageal mucosa. Previous studies based on ambulatory 24-hours monitoring showed esophageal basal impedance decreased in gastroesophageal reflux disease. Whether the shorter duration monitoring might be enough to evaluate acid exposure status was not clearly determined. Objective The aim of this study was to evaluate the difference in first 2 hours esophageal basal impedance between pathological and physiological acid reflux in non-erosive reflux disease (NERD) patients with typical reflux symptoms. Method Thirty-two patients with no significant esophagitis were enrolled and underwent 24 - hours esophageal impedance - pH monitoring system. The esophageal basal impedance during first 2 hours and entire 24 hours were analysed to determine the difference of value between patients with pathological acid reflux and physiological acid reflux. Result Thirty-two patients were enrolled. Sixteen patient had pathological acid reflux or % time distal esophageal pH<4 more than 4.5% and 16 patients had physiological acid reflux. The esophageal basal impedance in patients with pathological acid reflux was significant lower than physiological acid reflux group during first 2 hours (1394±342 Ω vs. 2625±509 Ω, p=<0.05) and the entire 24 hours period (1553±388 Ω vs. 2828±530 Ω, p<0.05). Moreover, a significant positive correlation of esophageal basal impedance was observed between of first 2 hours and entire 24 hours monitoring (r=0.89, p<0.05). ConclusionIn NERD patients, the 2 hours basal esophageal impedance measurement can differentiate patients with pathological acid reflux and physiological reflux. Thus, this shorter duration measurement may serve as a promising diagnostic test for ambulatory practice in NERD patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45749
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.576
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.576
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674079830.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.