Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45865
Title: ผลการใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of using the jigsaw model on Thai learning achievement and cooperatve skills of ninth grade students
Authors: พงษ์กรณ์ วีรพิพรรธน์
Advisors: พรทิพย์ แข็งขัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: p.khaengkhan@gmail.com
Subjects: การทำงานกลุ่มในการศึกษา
จิกซอว์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Group work in education
Jigsaw puzzles
Academic achievement
Thai language -- Study and teaching
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลการใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบจี๊กซอว์ กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จำนวน 81 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และแบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ๆ ละ 3 คาบ รวมทั้งสิ้น 30 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study effects of using the jigsaw model on Thai learning achievement and cooperative skills of ninth grade students and to compare Thai learning achievements and cooperative skills between the group learning by using the jigsaw model and the group learning by conventional instruction. The subjects were 81 ninth grade students of Saiyokmaneekanwittaya in Kanjanaburi province, 41 students were in experimental group and the other 40 were in controlled group. The data collection instruments were Thai learning achievement test and cooperative skills test. The experimental instruments were the jigsaw model lesson plans. The duration of experiment was ten weeks, three periods per week, total of thirty periods. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. Student learning by the jigsaw model had Thai learning achievement higher than students learning by conventional instruction at .05 level of significance. 2. Students learning by the jigsaw model had cooperative skills higher than students learning by conventional instruction at .05 level of significance. 3. Students learning by the jigsaw model had cooperative skills higher after than before experiment at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45865
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2023
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2023
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phongkon_we.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.