Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45984
Title: การรับรู้ประสบการณ์ด้านจิตใจของพนักงานภายหลังได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ
Other Titles: EMPLOYEES' PERCEIVED PSYCHOLOGICAL EXPERIENCES OF BUDDHIST COUNSELING
Authors: กวีไกร ม่วงศิริ
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Arunya.T@chula.ac.th
Subjects: การให้คำปรึกษา
จิตวิทยาการปรึกษา
พุทธศาสนา -- คำสั่งสอน
พุทธศาสนากับจิตวิทยา
Counseling
Counseling
Counseling psychology
Buddhism -- Doctrines
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของพนักงานภายหลังได้รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธผ่านมุมมองการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลผู้ซึ่งเป็นเจ้าของประสบการณ์ดังกล่าว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยาร่วมกับวิธีวิจัยเชิงปริมาณแบบมาตรพหุมิติ (Multidimensional scaling: MDS) และการวิเคราะห์กลุ่มแบบขั้นตอน เพื่อแสดงในรูปแบบแผนที่มโนทัศน์ (Concept map) ผู้ให้ข้อมูลเป็นพนักงานบริษัทที่ได้รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ จำนวน 8 ราย (ชาย 2 รายและหญิง 6 ราย) ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้วิจัยเก็บข้อมูล 2 ส่วนคือการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดบัตรคำเข้าประเภท (Card sorting) ผลการวิจัยพบประสบการณ์ของพนักงาน 9 ประเด็นหลักดังนี้ (1) การช่วยเหลือของนักจิตวิทยาการปรึกษา (2) การรับรู้บรรยากาศที่เกิดขึ้นในขณะพูดคุยปรึกษา (3) ความรู้สึกปลอดภัยในการพูดคุยปรึกษา (4) การกำหนดรู้ในตัวปัญหา (5) กระบวนการคลี่คลายปัญหาภายในตน (6) ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรึกษา (7) ปัจจัยที่ยกระดับสภาวะใจของผู้มาปรึกษา (8) การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างกลมกลืนของผู้มาปรึกษา และ (9) การปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นประโยชน์ต่อพนักงานที่มาปรึกษา ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำความเข้าใจการประสบการณ์ด้านจิตใจของพนักงานที่ได้รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและยังใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธที่จะทำงานกับผู้มาปรึกษาต่อไปอีกด้วย
Other Abstract: This research described employees’ psychological experiences of their participation in Buddhist Counseling Therapy using Concept mapping, the methodological approach combining qualitative and quantitative strategies. The purpose of the study was to understand how employees give meaning to and construct their experiences on their perception. Eight clients, who had received Buddhist counseling was selected by purposive sampling. Two sessions of data-gathering were conducted by depth-interview and card-sorting for qualitative and Multidimensional scaling (MDS) analysis procedure, respectively. Nine thematic clusters were identified: (1) Counselor Facilitation, (2) Perception of Counseling Atmospheres, (3) Confidence in Counseling, (4) Problem Awareness, (5) Introspection in Problem Solving Process, (6) Results of Counseling Process, (7) Mental State Enhancing Elements, (8) Living Harmoniously with Others, and (9) Perceived Benefits of Counseling. The study enhanced the understanding of Thai employees’ experiences of Buddhist Counseling Therapy and can be utilized as resources for the Buddhist counselors who might collaborate with Thai employees.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45984
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.701
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.701
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477601738.pdf7.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.