Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4603
Title: ภาวะทางเพศในผู้ป่วยโรคจิตเภทชาย
Other Titles: Sexual function in male schizophrenic patients
Authors: กฤตยกร แสงขาว
Advisors: บุรณี กาญจนถวัลย์
วีรพล อุณหรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Buranee.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ -- ไทย
ผู้ป่วยจิตเภท -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะความบกพร่องทางเพศ ในผู้ป่วยนอกโรคจิตเภทชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทชายจำนวน 86 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ปัจจัยหลักที่ศึกษา คือภาวะทางเพศ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ศึกษา ได้แก่ อายุ ระดับความเครียด ระยะเวลาที่ป่วย ระดับความรุนแรงของอาการทางจิต ระยะเวลาที่ใช้ยา กลุ่มยาที่ได้รับ ระดับยาที่ได้รับ และระดับ Prolactin เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตัวเอง แบบวัดภาวะทางเพศ แบบประเมินอาการทางจิต ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด) เพื่อบรรยายคุณลักษณะประชากร, ความชุกของภาวะความบกพร่องทางเพศ และระดับProlactinที่ผิดปรกติ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ที่มีภาวะทางเพศปรกติและกลุ่มผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางเพศ ด้วยสถิติ T-test และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ prolactin ด้วยสถิติ Pearson Correlation ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคจิตเภทชายมีภาวะบกพร่องทางเพศคิดเป็นร้อยละ 67.4 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ T-test แล้วพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องทางเพศมีระดับ prolactin และมีระดับความรุนแรงของอาการทางจิต สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะบกพร่องทางเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ Pearson Correlation แล้วพบว่า ขนาดยารักษาโรคจิตมีความสัมพันธ์กับระดับ prolactin ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Other Abstract: The purpose of this research was to study factors related to sexual dysfunction among male schizophrenic outpatients. The participants were 86 male schizophrenics, selected by purposive sampling technique. Main factors of interest were sexual function. Other possibly related factors were age, stress level, duration of illness, severity of psychotic symptom, duration of antipsychotic use, antipsychotic group, antipsychotic dose and Prolactin level. Questionnaire used in this study were personal information record form, a self-rating and analyzing stress, sexual function questionnare, Brief Psychiatric Rating Scale(BPRS). The data were analyzed by descriptive statistic (percent, mean, SD, min, max) to identify demographic data of sample, prevalence of sexual dysfunction and abnormal prolactin level. Related factors to sexual dysfunction were determined by t-test and factors correlated to prolactin level were analyzed by Pearson correlation. The study revealed that sexual dysfunction in male schizophrenic patients was 67.4 %. The result shown that patients with sexual dysfunction had significantly higher level of prolactin and score of psychotic severity than those with normal sexual function (p< .05). Also, Pearson Correlation identified the positive correlation between dose of antipsychotic drug and prolactin level at p< .001.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เพศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4603
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1124
ISBN: 9741411748
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1124
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krittayagon.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.