Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46077
Title: การปรับสภาพเส้นใยลิกโนเซลลูโลสของมันสำปะหลัง โดยการระเบิดด้วยไอน้ำ เพื่อการผลิตเอทานอล
Other Titles: Pretreatment of lignocellulosic cassava fiber by Steam explosion for ethanol production
Authors: ณัฐธิดา เกิดแล้ว
Advisors: อัญชริดา อัครจรัลญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sanchari@chula.ac.th
Subjects: ลิกโนเซลลูโลส
มันสำปะหลัง
การหมัก
การแยกสลายด้วยน้ำ
Lignocellulose
Cassava
Fermentation
Hydrolysis
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปรับสภาพกากใยลิกโนเซลลูโลสของหัวมันสำปะหลังที่ได้จากการย่อยเอาแป้งที่เหลือในกากมันสำปะหลังออกด้วยสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 1 นอร์มอล ที่ 121oซ ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15 นาที พบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของการปรับสภาพโดยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำ คือ แขวนลอยกากใยลิกโนเซลลูโลส ปริมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนัก/ปริมาตร) ในน้ำกลั่น ให้ความร้อนด้วยไอน้ำอิ่มตัวที่ 180oซ นาน 5 นาที ได้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดเท่ากับ 40.60 กรัม/100 กรัม กากใยลิกโนเซลลูโลสแห้งของหัวมันสำปะหลัง เมื่อนำกากใยลิกโนเซลลูโลสของหัวมันสำปะหลังที่ผ่านการปรับสภาพที่สภาวะเหมาะสมที่สุดมาหมักเป็นเอทานอลโดยวิธีการย่อยและการหมักพร้อมกัน โดยใช้เอนไซม์เซลลูเลส 495.25 CMCs ยูนิต/กรัม กากใยลิกโนเซลลูโลสแห้ง และ119.4 pPNG/กรัม กากใยลิกโนเซลลูโลสแห้งของหัวมันสำปะหลัง ค่าความเป็นกรด-ด่างเป็น 5.0 ใช้ยีสต์ Kluyveromyces marxianus สายพันธุ์ G2-16-1 ระยะการเจริญ late log phase จำนวน 1x108 cells/กรัม กากใยลิกโนเซลลูโลสแห้ง ที่ 40°ซ มีสภาวะจำกัดออกซิเจน ก่อนการปรับสภาพด้วยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำจะได้เอทานอล 0.11 กรัมเอทานอล/กรัม กากใยลิกโนเซลลูโลสของหัวมันสำปะหลังหลังการปรับสภาพ (น้ำหนักแห้ง) และหลังการปรับสภาพด้วยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำจะได้เอทานอลสูงสุด 1.21 กรัมเอทานอล/100 กรัม กากใยลิกโนเซลลูโลสของหัวมันสำปะหลังก่อนการปรับสภาพ (น้ำหนักแห้ง) ที่ 24 ชั่วโมง
Other Abstract: Optimal condition such as substrate loading, temperature, time, and cellulase for steam explosion pretreatment of lignocellulosic fiber of cassava fiber of cassava tuber obtained after residual starch removal from cassava waste pulp was 6 % (w/v) substrate loading, 180oC for 5 min. Before steam explosion pretreatment, Ethanol production from lignocellulosic fiber of cassava tuber yield 0.11 g ethanol/g lignocellulosic fiber (dry weight). After steam explosion pretreatment, ethanol production from the lignocellulosic fiber of cassava tuber pretreated at the optimized condition by simultaneous saccharification and fermentation process using cellulase 495.25 CMCs units/g lignocellulosic fiber (dry weight) pH 5.0 and Kluyveromyces marxianus G2-16-1 (late log phase) at 1x108 cells/g lignocellulosic fiber (dry weight) at 40oC, oxygen limit condition yield maximum ethanol 1.21 g ethanol/100 g lignocellulosic fiber (dry weight) at 24 h.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46077
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.813
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.813
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5571971923.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.