Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46105
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศen_US
dc.contributor.authorมัลลิกา จันทร์เพ็ญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:16Z
dc.date.available2015-09-18T04:22:16Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46105
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด และ 2) ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วย จิตเภทในชุมชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วยอายุ และระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด ส่วนผู้ดูแลในกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 7 ครั้ง ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพและให้ความรู้เรื่องความเครียด การประเมินความเครียดจากการดูแลผู้ป่วยจิตเภท การค้นหาแหล่งประโยชน์รวมทั้งให้ความรู้และพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภท การฝึกทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การฝึกทักษะการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา การฝึกทักษะการจัดการกับอารมณ์ด้วยวิธีการผ่อนคลายความเครียด และการประเมินซ้ำ และ 2) แบบวัดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทั้ง 2 ชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยเครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.95 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน หลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research using the pretest-posttest design were to compare: 1) caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the community before and after received the coping skills enhancement program, and 2) caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the community who received the coping skills enhancement program and those who received regular nursing care. The subjects composed of 40 caregivers of schizophrenic’s patients residing in Ban-Lat district, Petchaburi province. They were matched- pairs with age and length of caregiving and then randomly assigned to either an experimental or control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the coping skills enhancement program and the control group received regular nursing care. The research instruments used in this research are: 1) the coping skills enhancement program developed by the researcher comprised of 7 group activities: relationship building, appraisal of caregiving related stress, seeking resources and enhancement of knowledge/skills vital for schizophrenia’s caregiver, communication skills training, problem-solving coping skills training, emotions-focused coping skills training, and reappraisal, 2) a test of caregivers’ ability to care for schizophrenic patients. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The 2nd instrument had Cronbach,s alpha coefficient reliability as of 0.95. The findings are as follows: 1) the caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the community after received the coping skills enhancement program was significantly higher than that before at p .05 level; 2. the caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the experimental group who received the coping skills enhancement program was significantly higher than those in the control group who received the regular nursing care at p. 05 levelen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.829-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท
dc.subjectผู้ดูแล
dc.subjectStress (Psychology)
dc.subjectSchizophrenics
dc.subjectCaregivers
dc.titleผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF COPING SKILLS ENHANCEMENT PROGRAM ON CARING ABILITY OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS' CAREGIVERS IN THE COMMUNITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPenpaktr.U@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.829-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577311836.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.