Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ้งระวี นาวีเจริญen_US
dc.contributor.authorสุชาดา นนทะภาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:40:16Z-
dc.date.available2015-09-19T03:40:16Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46529-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม การรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งเต้านม การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม และความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม ของครูสตรีในโรงเรียนประจำจังหวัดเขตภาคกลาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งเต้านม การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม และความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม กับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของครูสตรีในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสตรีที่มีอายุ 25 – 59 ปี ทำการสอนอยู่ในโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม โรงเรียนสตรีนนทบุรี โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ และโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จำนวน 365 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งเต้านม แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม แบบสอบถามความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงจากแบบประเมินได้เท่ากับ 0.77, 0.90, 0.80, 0.92 และ 0.91 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 3.42, SD = 0.62) และการรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งเต้านม การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม และความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของครูสตรีในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตภาคกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.13, r = 0.13, r = 0.26, r = 0.16 ตามลำดับ)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this correlation research were to study breast cancer prevention behaviosr, perceived severity of breast cancer, perceived susceptibility of breast cancer, response efficacy toward breast cancer prevention behaviors, self-efficacy expectation of breast cancer prevention behavior and the factors related to study breast cancer prevention behaviosr among female teachers in provincial schools, central region. The study was conducted by random sampling with 365 female ages 25 - 59 years. The female teachers taught in Saraburiwitthayakhom school, Satrinonthaburi school, Kanaratbamrungpathumthani school,Satrinakhonsawan school and Kamphaengphetpittayakom school. Research instruments were consisted of six parts : (1)Demographic data (2)perceived severity of breast cancer (3)perceived susceptibility of breast cancer (4)response efficacy toward breast cancer prevention behaviors (5)self-efficacy expectation of breast cancer and (6)breast cancer prevention behavior. Content validity was examined by five experts and reliability was tested by using cronbach’s alpha coefficient obtained at 0.77, 0.90, 0.80, 0.92 and 0.91 respectively. Pearson’s product moment correlation was used in statistical analysis. The results of the study revealed that breast cancer prevention behavior of among female teacher in provincial schools, central region had medium level (Mean=3.42, SD = 0.62) and perceived severity of breast cancer, perceived susceptibility of breast cancer, response efficacy toward breast cancer prevention behaviors, self-efficacy expectation of breast cancer prevention behavior were positively related to breast cancer prevention behavior among female teachers in provincial schools, central region at the level of 0.05 ( r = 0.13, r = 0.13, r = 0.26, r = 0.16 respectively)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1295-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเต้านม -- มะเร็ง
dc.subjectมะเร็งในสตรี
dc.subjectมะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม -- ไทย (ภาคกลาง)
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ -- ไทย (ภาคกลาง)
dc.subjectBreast -- Cancer
dc.subjectCancer in women
dc.subjectCancer -- Prevention -- Thailand, Central
dc.subjectHealth behavior -- Thailand, Central
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของครูสตรีในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตภาคกลางen_US
dc.title.alternativeFACTORS RELATED TO BREAST CANCER PREVENTION BEHAVIORS AMONG FEMALE TEACHERS IN PROVINCIAL SCHOOLS, CENTRAL REGION.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRungrawee.N@Chula.ac.th,nrungrawee@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1295-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577204336.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.