Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46542
Title: การส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: THE ENHANCEMENT OF AMIABILITY OF TEACHERS IN PRIVATE VOCATIONAL SCHOOLS BANGKOK METROPOLIS
Authors: เชษฐ์ธิดา กิตติสิริเวทย์
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chanyapim.U@Chula.ac.th,Chayapim.U@Chula.ac.th
Subjects: ครูอาชีวศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
โรงเรียนเอกชน
มิตรภาพ
Vocational teachers -- Thailand -- Bangkok
Private schools
Friendship
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 66 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 396 คน ได้แบบสอบถาม กลับคืนมาครบถ้วน แบบสอบถามมี 2 ตอน เป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตรส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของความเป็นกัลยาณมิตรของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับสภาพปัจจุบันสูงสุด คือ ความเป็นกัลยาณมิตรของครูด้านภูมิรู้ รองลงมาคือความเป็นกัลยาณมิตรของครูด้านภูมิธรรมและภูมิฐาน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน สภาพปัจจุบันของการส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับสภาพปัจจุบันสูงสุดคือ ด้านการวางแผนการพัฒนาครู รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาครูและด้านการประเมินผลการพัฒนาครู ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2) สภาพที่พึงประสงค์ของความเป็นกัลยาณมิตรของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์สูงสุดคือ ความเป็นกัลยาณมิตรของครูด้านภูมิฐาน รองลงมาคือ ความเป็นกัลยาณมิตรของครูด้านภูมิธรรม และด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์ต่ำสุดคือ ความเป็นกัลยาณมิตรของครูด้านภูมิรู้ สภาพที่พึงประสงค์ของการส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์สูงสุดคือ ด้านการประเมินผลการพัฒนาครู รองลงมาคือ ด้านการวางแผนการพัฒนาครูและด้านการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาครู ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3) ความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครพบว่า ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การประเมินผลการพัฒนาครูด้านภูมิรู้ รองลงมาคือการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาครูด้านภูมิฐานและด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุดคือ การวางแผนการพัฒนาครูด้านภูมิฐาน
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to study the current and expected stage of an amiability enhancement among teachers in the private vocational schools located in Bangkok Metropolitan Area (BMA) and 2) to analyze a priority needs assessment of an amiability enhancement among teachers in the private vocational schools located in Bangkok Metropolitan Area. The population in this research was 81 private vocational schools in BMA. The sample was 66 private vocational schools, selected randomly to complete the questionnaires survey. Data providers were 396 the school directors and the teachers from such schools. The questionnaire composed of two parts; a checklist and a Likert-scale question. The data were analyzed using descriptive statistics, namely arithmetic mean and standard deviation. Needs assessment method using Priority Needs Index Modified (PNIModified) was also calculated in order to rank the needs identification. The research findings were as follows. 1. Overall, the current stage of an amiability enhancement among teachers in the private vocational schools located in BangkokMetropolitan Area was at a high level. When considered by three aspects of amiability, the knowledge aspect was at the highest level than the moral and the dignifiedness aspects. 2. The expected stage of teachers’ amiability enhancement was also at a high level. The dignifiedness aspects had the highest level in need among the three aspects of amiability. 3. Customer focus was the first priority needs assessment in evaluation, implementation and planning.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46542
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1303
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1303
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583380027.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.