Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46862
Title: ผลของอุณหภูมิและโลหะหนักบางชนิด ที่มีต่อพัฒนาการของหอยนางรมปากจีบ (Crassostrea commercialis) วัยอ่อนและที่โตเต็มวัย
Other Titles: Effect of temperature and heavy metals on embryonic development and adult oyster (Crossostrea commercialis iredale and roughley)
Authors: สมถวิล เดชะพรหมพันธุ์
Advisors: ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: nitthar@sc.chula.ac.th
paderm@sc.chula.ac.th
Subjects: หอยนางรม
โลหะหนัก
มลพิษทางน้ำ
สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการศึกษาผลของอุณหภูมิต่อความเป็นพิษของโลหะหนัก 3 ชนิด คือ ทองแดง แคดเมี่ยม และตะกั่ว ต่อพัฒนาการของหอยนางรมปากจีบ (Crassostrea commercualis) จากไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อนระยะ D-shaped และหอยนางรมปากจีบที่โตเต็มวัย การทดลองขั้นแรก ศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาจากไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อนระยะ D-shaped ที่อุณหภูมิ 3 ระดับ ผลปรากฏว่าที่อุณหภูมิ (28.0 องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ (32.5 องศาเซลเซียส) ใช้เวลาประมาณ 23 ชั่วโมง และ 12 ชั่วโมง ตามลำดับ จะเห็นว่าการพัฒนาการจะเร็วขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และผลของโลหะหนักทั้งสามที่มีต่อพัฒนาการของหอยนางรมปากจีบจากไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อนระยะ D-shaped ที่อุณหภูมิ 3 ระดับ ปรากฏว่าค่า EC50 ในเวลา 48 ชั่วโมงของทองแดงที่อุณหภูมิ 23.5, 28.0 และ 32.5 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.0049, 0.0094 และ 0.0030 ส่วนในล้านส่วน ค่า EC50 ในเวลา 48 ชั่วโมงของแคดเมี่ยมที่อุณหภูมิ 23.5, 28.0 และ 32.5 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.2049, 0.5542 และ 0.1847 ส่วนในล้านส่วน จะเห็นว่าทองแดงมีพิษมากกว่าแคดเมี่ยม อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำกว่าปกติจะทำให้ความเป็นพิษของโลหะหนักทั้งสองมีมากกว่าที่อุณหภูมิปกติ ส่วนระดับปลดอดภัยของทองแดงและแคดเมี่ยมที่มีต่อพัฒนาการของหอยนางรมปากจีบจากไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อนระยะ D-shaped เท่ากับ 0.0002 และ 0.0139 ส่วนในล้านส่วน ตามลำดับ การทดลองขั้นที่สอง ศึกษาผลของอุณหภูมิและโลหะหนัก (ทองแดงและแคดเมี่ยม) ที่มีต่อหอยนางรมปากจีบที่โตเต็มวัยมีค่า 96-h. LC50 ของทองแดงและแคดเมี่ยมที่อุณหภูมิ 23.5, 28.0 และ 32.5 องศาเซลเซียส เท่ากับ 10.64, 2.44, 1.45 ส่วนในล้านส่วน และ 8.62, 2.21, 1.32 ส่วนในล้านส่วน ตามลำดับ โดยสรุปแล้วแคดเมี่ยม มีพิษมากกว่าทองแดงอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความรุนแรงของพิษเพิ่มขึ้น ส่วนระดับปลอดภัยของทองแดงและแคดเมี่ยมที่มีต่อหอยนางรมปากจีบที่โตเต็มวัยเท่ากับ 0.1220, 0.1105 ส่วนในล้านส่วน ตามลำดับ สำหรับผลของอุณหภูมิและตะกั่วที่มีต่อพัฒนาการของหอยนางรมปากจีบจากไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อนระยะ D-shaped ปรากฏว่าค่า 48-h. EC50 ที่อุณหภูมิ 23.5, 28.0 และ 32.5 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.3287, 1.1059 และ 0.1569 ส่วนในล้านส่วน และระดับปลอดภัยของตะกั่วเท่ากับ 0.0276 ส่วนในล้านส่วน จากการวัดปริมาณตะกั่วที่มีอยู่จริงในน้ำเมื่อเสร็จการทดลองที่ความเข้มข้น 1.0 ส่วนในล้านส่วน พบว่าค่าที่ได้ลดน้อยลงมากส่วนการทดลองผลของอุณหภูมิและตะกั่วที่มีต่อหอยนางรมปากจีบที่โตเต็มวัยนั้นเนื่องจากตะกั่วที่ความเข้มข้นประมาณ 7 ส่วนในล้านส่วน จะตกตะกอนทำให้ปริมาณตะกั่วที่มีอยู่ในน้ำลดน้อยลงจึงไม่สามารถหาพิษ เฉียบพลันของตะกั่วได้ จากการทดลองพบว่าหอยนางรมปากจีบวัยอ่อนมีความไวต่อทองแดง แคดเมี่ยมและตะกั่วมากกว่าหอยนางรมปากจีบที่โตเต็มวัย ดังนั้นในการตั้งมาตรฐานคุณภาพน้ำจึงควรคำนึงถึงผลของโลหะหนักที่ต่อสัตว์วัยอ่อนด้านนอกเหนือจากสัตว์ที่โตเต็มวัย
Other Abstract: Effect of temperatures and heavy metals, namely copper, cadmium and lead on embryonic development and adult oysters (Crassostrea commercialis Iredale and Roughley) was investigated. Firstly, effect of temperatures and heavy metals on embryonic development of oysters from fertilized eggs to D-shaped stage were determined. On the effect of temperatures alone on the embryonic development of oysters, it was found that the period of development was shorten at higher temperature. At ambient temperature of 28 oC the period of development from fertilized eggs to D-shaped stage was 18 hours. At low temperature of 23.5 oC and at high temperature of 32.5 oC, the period of development were 23 and 12 hours respectively. It was found that the 48-h. EC50 values for copper at temperatures 23.5, 28.0 and 32.5 oC were 0.0049, 0.0094 and 0.0030 ppm. respectively. The 48-h. EC50 values for cadmium at the same temperatures were recorded at 0.2049, 0.5542 and 0.1847 ppm. respectively. This experiment showed that copper was more toxic to oyster embryos than cadmium. The toxicity of these metals was higher at the higher and lower temperatures comparing to the ambient temperature. Safety concentrations of copper and cadmium for embryonic development of oysters were 0.0002 and 0.0139 ppm. respectively. Secondly, the 96-h. LC50 of copper and cadmium for adult oysters at ambient temperature were reported 2.44 and 2.21 ppm. While the 96-h. LC50 values for copper at 23.5 and 32.5 oC were 10.64 and 1.45 ppm. respectively. For cadmium, the 96-h. LC50 values at the sametemperatures were 8.62 and 1.32 ppm. In conclusion, cadmium was more toxic to adult oysters than copper. The toxicity of these metals was higher at high temperature and lower at low temperature. Safety concentration of copper and cadmium for adult oysters were 0.1220 and 0.1105 ppm. respectively. The result on the effect of temperatures and lead on embryonic development of oysters showed that the 48-h. EC50 values for lead at temperatures 23.5, 28.0 and 32.5 oC were 0.3287, 1.1059 and 0.1569 ppm. Safety concentrations of lead for embryonic development of oysters was 0.0276 ppm. It should be noted that the actual lead concentration in the 1.0 ppm. dilution was lower than expected when detected after the experiment. The effect of temperatures and lead on adult oysters in this experiment can not be concluded due to the fact that lead precipilated in high concentration dilutions starting from 7 ppm. dilution. Thus the actual lead concentrations would be lower than expected. The oyster embryos were more sensitive to the toxicity of heavy metals than adult oysters. Thus, in order to set the criteria on water quality concerning heavy metal pollution, the effects of heavy metals on both the embryonic and adult stages of aquatic organisms should be considered.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46862
ISBN: 9745632376
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somtawin_de_front.pdf12.93 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_de_ch1.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_de_ch2.pdf8.14 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_de_ch3.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_de_ch4.pdf12.54 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_de_ch5.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_de_back.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.