Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46869
Title: การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากการเลือกตัวทำนายเข้าสู่สมการแบบไปข้างหน้า ถอยหลัง และขั้นบันไดเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำนายแตกต่างกัน
Other Titles: A Comparision of multiple regression analysis results when predictors are selected to the equation by forward backward and stepwise methods with different intercorrelations among predictors
Authors: สมนิตย์ เจียมธีระนาถ
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
สหสัมพันธ์ (สถิติ)
การวิเคราะห์ตัวแปรพหุ
เลขสุ่ม
สมการถดถอย
การประมาณค่าพารามิเตอร์
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสอง (R2) ที่ได้จากเทคนิควิธีการคัดตัวแปรทำนาย เข้าสู่สมการถดถอย 3 วิธีคือ การเลือกตัวแปรแบบไปข้างหน้า (Forward Selection) การกำจัดตัวแปรแบบถอยหลัง (Backward Elimination) และการถดถอยแบบขั้นบันได (Stepwise Regression) เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับเดียวกัน 2. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของ R2 ที่ได้จากวิธีคัดตัวแปรวิธีเดียวกัน เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับต่างๆ 3. เพื่อเปรียบเทียบร้อยละของตัวแปรทำนายที่ถูกคัดเข้าสมการในอันดับต่าง ๆ ด้วยวิธีการคัดตัวแปรแบบไปข้างหน้า (Forward Selection) และการถดถอยแบบขั้นบันได (Stepwise Regression) เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนาย คือ (0.00-0.30) (0.30-0.80) และ (0.80-1.00) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายกับตัวพยากรณ์คือ (0.30-1.00) ตัวแปรทำนายมี 5 ตัว กลุ่มตัวอย่างมีขนาด 10 เท่าของตัวแปรทำนาย โดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โลซีมูเลชั่น ทำการทดสอบสถานการณ์ละ 200 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายอยู่ในระดับเดียวกัน ค่าเฉลี่ยของ R2 ที่ได้จาก 3 วิธี มีค่าเกือบเท่ากัน แตกต่งกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ α = 0.05 ความแปรปรวนของ R2 มีค่าต่ำ และใกล้เคียงกัน 2. เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายอยู่ในระดับต่างกัน ค่าเฉลี่ยของ R2 ที่ได้จากวิธีคัดตัวแปรวิธีเดียวกัน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ α = 0.05 ความแปรปรวนของ R2 มีค่าต่ำและใกล้เคียงกัน 3. ตัวแปรทำนายที่ถูกคัดเข้าสมการในอันดับต่างๆ จากวิธีการคัดตัวแปรแบบไปข้างหน้า (Forward Selection) และวิธีถดถอยแบบขั้นบันได (Stepwise Regression) เมื่อตัวแปรทำนายมีความสัมพันธ์ในระดับเดียวกัน จะคล้ายคลึงกัน และมีร้อยละในการเข้าสมการในแต่ละอันดับใกล้เคียงกัน
Other Abstract: The Objectives of this study were: 1. To compare the means and variance of Multiple Correlation Coefficient square (R2) obtained from using the three methods; Forward Selection, Backward Elimination and Stepwise Regression when intercorrelation among predictor variables were at the same level. 2. To compare the means and variances of R2 obtained from applying the same method when intercorrelation among predictor variables were at different level. 3. To Compare percentage of orders of predictor variablesentered in Forward Selection and Stepwise Regression when intercorrelation among predictor variables were at the same level. The intercorrelation among predictor variables were (0.00-0.30) (0.30-0.70) and (0.70-1.00) the intercorrelation between predictor variables and criterion variable was (0.30-1.00) the number of predictor variables was 5, the sample size was 10 times of predictor variables, Monte Carlo simulation technique was applied, the experiment were repeated 200 times in each case. The results of the experiments were as follows: 1. When intercorrelation among predictor variables were at the same level the means of R2 obtained from the three methods were almost the same they were not different at significant level at α = 0.05. The variance of R2 were low and close. 2. When intercorrelation among predictor variables were at different level the means of R2 obtained from the same method were different at significant level α= 0.05 . The variance of R2 were low and close. 3. The predictor variables entered into equations; Forward Selection and Stepwise Regression at different order when intercorrelation among predictor variables were at the same level were similar and the percentage of orders they entered into equation were close.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46869
ISBN: 9745815284
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somnit_ji_front.pdf11.22 MBAdobe PDFView/Open
Somnit_ji_ch1.pdf12.89 MBAdobe PDFView/Open
Somnit_ji_ch2.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Somnit_ji_ch3.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Somnit_ji_ch4.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Somnit_ji_ch5.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Somnit_ji_back.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.