Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47985
Title: ผลของอัลคาลอยด์หลักจากต้นตาเสือทุ่ง ต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและลำไส้ที่แยกจากสัตว์ทดลอง
Other Titles: Effect of a main alkaloid from Dysoxylum cyrtobotryum Miq. on the contraction of isolated gastric and intestinal muscle
Authors: สมชาย แสงอำนาจเดช
Advisors: ประสาน ธรรมอุปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: prasan@pharm.chula.ac.th
Subjects: Dysoxylum cyrtobotryum
ตาเสือทุ่ง (พืช)
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ของอัลคาลอยด์สำคัญที่สกัดได้จากสมุนไพรต้นตาเสือทุ่ง (Dysoxylum cyrtobotryum Miq.) ต่อกระเพาะอาหารที่แยกออกจากตัวหนูถีบจักร สำไส้เล็กส่วนเจจูนัมของกระต่าย และส่วนอีเลียมของหนูตะเภา พบว่าอัลคาลอยด์ขนาด 4.9x10⁻⁵ - 4.9x10⁻⁴ โมลาร์ สามารถลดการหดเกร็งของลำไส้เล็กของกระต่ายที่เกิดขึ้นเอง ลดการหดเกร็งของลำไส้ของหนูตะเภาที่เกิดจากการกระตุ้นด้วย acetylcholine histamine และ serotonin ในลักษณะไม่เฉพาะเจาะจงและแบบ dose-dependent ลดการหดเกร็งของกระเพาะอาหารหนูถีบจักรที่เกิดจาก barium chloride และลดการหดเกร็งที่เกิดจากการใช้ calcium chloride ในสารละลายที่ทำให้เกิด depolarization ของกล้ามเนื้อ ผลของการทดลองเสนอแนะว่า กลไกการคลายกล้ามเนื้อเรียบของอัลคาลอยด์นี้คล้ายกับ papaverine แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า หรือเหมือนกับผลของ calcium antagonist จึงควรที่จะได้มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาต่อไปเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์สำหรับการใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อเรียบ
Other Abstract: The pharmacological effects of a main alkaloid extracted from the medicinal plant, Dysoxylum cyrtobotryum Miq., have been investigated on isolated whole mice stomach, rabbit jejunum and guinea pig ileum. The doses of 4.9x10⁻⁵ - 4.9x10⁻⁴ M., reduced spontaneous contraction of rabbit jejunum. Produced dose-dependent, non-specific inhibition of guinea pig ilem induced by acetylcholine, histamine and serotonin. Reduced contraction of isolated whole mice-stomach induced by barium chloride and also by calcium chloride in high-potassium depolarizing solution. These results could be suggested that the antispasmodic mechanism of the alkaloid is similar to papaverine but less potent than papaverine, or calcium antagonist like effect. Further pharmacological and toxicological studies would be clinical valuable for antispasmodic.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47985
ISBN: 9745788996
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_san_front.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_san_ch1.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_san_ch2.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_san_ch3.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_san_ch4.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_san_back.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.