Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48162
Title: กระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
Other Titles: The decision making process in electing members of the parliament
Authors: สำฤทธิ์ ราชสมณะ
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเลือกตั้ง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การลงคะแนนเสียง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การตัดสินใจ
ยโสธร -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งที่จะศึกษาถึงขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อที่จะลดจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งจากที่มีหลายคน ให้เหลือเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมิได้ หรือเท่าที่ต้องการจะลงคะแนนเสียงให้เท่านั้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ คือ (1) การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และข่าวสารเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง (2) การสร้างหลักเกณฑ์ และการให้น้ำหนักของหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) การประเมินและการจัดลำดับผู้สมัครเลือกตั้ง (4) การตัดสินใจสุท้ายที่จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง การวิจัยมุ่งศึกษาว่า ในการลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีขั้นตอนในกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทั้ง 4 ขั้นตอนหรือไม่ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกัน จะมีขั้นตอนในกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แตกต่างกันบ้างหรือไม่ ถ้าเป็นการลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งโดยผ่านขั้นตอนต่างๆ ทั้ง 4 ขั้นตอน ถือว่า ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคนนั้นตัดสนใจเลือกตั้งในลักษณะ ที่ "เป็นกระบวนการ" และถ้าลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยที่ไม่ผ่านขั้นตอนต่างๆ ครบทั้ง 4 ขั้นตอน ถือว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคนนั้นตัดสินใจเลือกตั้งในลักษณะที่ "ไม่เป็นกระบวนการ" โดยมีสมมุติฐานในการศึกษา 2 ข้อ คือ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะตัดสินใจเลือกตั้งในลักษณะที่ "เป็นกระบวนการ", ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกัน จะมีกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คล้ายคลึงกัน ในการวิจัยครั้งนี้ กำหนดขอบเขตไว้เฉพาะการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 ในเขตตำบลดู่ลาด อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร โดยให้ทำการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ 182 คน นอกจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวแล้ว ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารงานเลือกตั้งบางคน การสังเกตการณ์จากการสัมภาษณ์ จากประสบการณ์ ซึ่งผู้วิจัยเคยมีส่วนรับผิดชอบการเลือกตั้งในเขตอำเภอทรายมูล และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการวิเคราะห์ครั้งนี้ด้วย ผลของการวิจัย สรุปได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และข่าวสารเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผลของการศึกษาปรากฏว่า ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทุกคนไม่ว่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ต่างก็ได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและข่าวสารเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งในลักษณะต่างๆ แต่อาจจะแตกต่างกันในแหล่ง ข่าวสารที่ได้รับข่าวสารนั้นๆ และระยะเวลาในการรับข่าวสารเหล่านั้น อาจจะช้าเร็ว แตกต่างกันบ้าง โดยทุกคนยอมรับว่าจะต้องมีการลดจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งจากที่มีอยู่หลายคนให้เหลือเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมิได้หรือเท่าที่ต้องการจะลงคะแนนให้ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักเกณฑ์ และการให้น้ำหนักของหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ยอมรับว่ามีหลักเกณฑ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวนร้อยละ 80 ที่เหลือร้อยละ 20 ไม่ยอมรับว่ามีหลักเกณฑ์เมื่อ พิจารณาในรายละเอียด ปรากฏว่า ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เป็นเพศชาย อาชีพรับ ราชการ ระดับการศึกษาและรายได้สูงมีแนวโน้มที่ยอมรับว่ามีหลักเกณฑ์ ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มากกว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมทางตรงกันข้าม หลักเกณฑ์คำนึงถึงส่วนใหญ่จะเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัครเลือกตั้ง โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ "มีความรู้" "เชื่อมั่นในความสามารถ" และ "พูดเก่ง" เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 การประเมินและการจัดลำดับผู้สมัครรับเลือกตั้งผลของ การศึกษาปรากฏว่า ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกที่มีการสร้างหลักเกณฑ์ ร้อยละ 80 ในขั้นตอนที่สอง ตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ผ่านขั้นตอนนี้ทั้งหมด ขั้นตอนที่ 4 การตัดสินใจสุดท้ายที่จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง โดยปกติแล้วผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับการประเมินจากขั้นตอนที่สามแล้ว และเป็นผู้ที่มีน้ำหนักคะแนนรวมซึ่งได้จากผลคูณระหว่างน้ำหนักของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งกับน้ำหนักของการประเมินผู้สมัครรับเลือกตั้งเข้ากับหลักเกณฑ์เหล่านั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีผลรวมน้ำหนักดังกล่าวมาแล้วมีค่าสูงที่สุด คือผู้สมัครที่จะได้รับการลงคะแนนเสียงให้ตามลำดับเท่าที่ต้องการจะลงคะแนนเสียงให้ ผู้ลงคะแนนเสียงที่ผ่านขั้นตอนที่สองและสามจะผ่านขั้นตอนนี้ทั้งหมด ส่วนผู้ลงคะแนนเสียงอีกร้อยละ 20 ที่ไม่ผ่านขั้นตอนที่สองและสามลงคะแนนเสียง ในอีกลักษณะหนึ่ง เช่น ลงคะแนนเสียงพอให้แล้วเสร็จไป เป็นต้น สรุปได้ว่า ผลของการวิจัยในครั้งนี้ยืนยันสมมุติฐานทั้ง 2 ข้อ คือ (1) "ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จะตัดสินใจเลือกตั้งในลักษณะที่เป็นกระบวนการ" สมมุติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยัน กล่าวคือ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ตัดสินใจเลือกตั้งในลักษณะที่ "เป็นกระบวนการ" เพราะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทั้ง 4 ขั้นตอน ส่วนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งส่วนน้อย (ร้อยละ 20 ) ที่ตัดสินใจเลือกตั้งในลักษณะที่ "ไม่เป็นกระบวนการ" และ (2) "ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีฐานะทางเศรษฐกิจลังคมที่แตกต่างกัน จะมีกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คล้ายคลึงกัน" สมมุติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยันทั้งหมด กล่าวคือผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน จะมีขั้นตอนในกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมือนกัน แต่อาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนเท่านั้น
Other Abstract: The purpose of this thesis is intended to make a study on steps of the decision-making process in the election of members of parliament. This will lead to a reduction in numbers of candidates as equal to numbers of those to be elected. The process is classified into 4 steps as follows: (1) Obtaining information on the election and candidates; (2) Criteriaformation and importance in the election decision; (3) Candidate evaluation and preference formation; and, (4) Final decision to be made on voting the candidates. This research intended to find out if the voters followed the same process as above-mentioned: it the voters of different economic and social backgrounds would follow a different steps of the process. Hence t can be states that if voters followed such a process, it could then be summarized that the decision vote was in "the process." And vice versa decision would not be made "within the process" if voters did not follow all the steps mentioned. The hypothesis of this research is that: (1) voters are aiming at the election on accordance will "the process"; and (2) Voters with different economic and social backgrounds tend to have a similar decision in election process. This research is confined to the 14th general election held on July 27, 1986 in the sub-district of Du-lad, Sai-Hun district, Yasothon province. The findings was based on interviews 182 samples and some officials supervising the election. In addition, observation on the interviews, previous experience on the conducting of election in the area and the study of related data were also done. The results of the research can be summarized as follows: (1) The majority of voters, 80 percent, followed the four steps of election process; and (2) Voters with different economic and social backgrounds have a similar decision on election process.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48162
ISBN: 9745675903
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumrit_ra_front.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Sumrit_ra_ch1.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Sumrit_ra_ch2.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open
Sumrit_ra_ch3.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open
Sumrit_ra_ch4.pdf31.11 MBAdobe PDFView/Open
Sumrit_ra_ch5.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open
Sumrit_ra_back.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.