Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48414
Title: ความสำนึกในความเป็นคนไทยของชาวเขา
Other Titles: National identification of the hill tribe
Authors: วรรโณ ภักดี
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชาวเขา
ชาวเขา -- กิจกรรมทางการเมือง
การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
hill tribes
social sciences
ชาตินิยม -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชาวเขาเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างไปจากคนไทย ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีวิถีชีวิตในด้านความเป็นอยู่และการทำกิน ก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมส่วนรวมของประเทศชาติ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความมั่งคงปลอดภัยของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายในการที่จะให้ชาวเขาเป็นคนไทยทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัยมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคนไทยโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าจะได้รับการศึกษาวิจัยให้ทราบถึงทัศนคติความคิดเห็นที่มีต่อความเป็นคนไทย ความเป็นชาติเป็นพลเมืองในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วัฒนธรรม สภาพการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวเขาว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลต่อชาวเขา และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ต่อไปในอนาคต วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งที่จะสำรวจว่า ชาวเขาที่ได้รับสัญชาติไทยมีขีดความสำนึกต่อความเป็นคนไทยอยู่ในระดับใด และเพื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างความสำนึกต่อความเป็นคนไทยเช่น อายุ เพศ รายได้ ระดับการศึกษา ระดับการรู้หนังสือ อาชีพ และเผ่าว่า ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับความฝักใฝ่ในความเป็นคนไทยอย่างไร หรือไม่ โดยได้กำหนดสมมุติฐานในการวิจัยไว้ 2 ประการ คือ ชาวเขาที่ได้รับสัญชาติไทยแล้วยังมีความสำนึกในความเป็นคนไทยอยู่ในระดับต่ำ และความสำนึกในความเป็นคนไทยของชาวเขาดังกล่าวจะแตกต่างกันตามอายุ เพศ ระดับการศึกษา ระดับการรู้หนังสือ รายได้ อาชีพ และเผ่าของชาวเขา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นชาวเขาที่อยู่ในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีจำนวน 180 คน เป็นชาย 119 คน หญิง 61 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบธรรมดา (simple random sampling) ใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อสำรวจขีดความสำนึกในความเป็นคนไทยและชาติไทยของชาวเขา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ทดสอบได-สแควร์ และทดสอบค่าสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าชาวเขามีความสำนึกในความเป็นคนไทยในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ชาวเขาที่มีระดับการศึกษาและระดับการรู้หนังสือ และเผ่าของชาวเขาที่แตกต่างกัน จะมีความสำนึกในความเป็นคนไทยดังกล่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ก็มีผลต่อความแตกต่างในประเด็นนี้อยู่บ้าง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความสำนึกของชาวเขาที่มีต่อชาติสัญลักษณ์ของชาติ พระมหากษัตริย์และวัฒนธรรมมีอัตราสูงกว่าความสำนึกต่อศาสนา การมีส่วมร่วมทางการเมืองและสภาพการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน
Other Abstract: The hill tribe in Thailand make up a minority group which differs from the Thai population in their racial, linguistic, cultural and religious characteristics. They live scatteredly in the mountaineous and remote areas along the northern border of Thailand. Their way of living has posed many significant economic, social problem for the Thai Government and may effect the national security of Thailand. The hill tribe, who are going to be important group in the future, should realize their own vital position in the national security and their attitudes should be directed towards loyalty to the nation, religion, and finally kingship. The study the hill tribe’s identification with the political systems and their political participation will serve as guidelines for the government policy for the hill tribe and other minority groups. The objectives of this research are as follows : The first is to find out the degree of the national consciousness of the hill tribe. The second is to find out whether the national consciousness varies with age, sex, level of education, and level of incomes of the hill tribe. The hypothesis of this research are as follows : 1. The degree of national identification of the hill tribe are low. 2. The degree of national identification of the hill tribe differs according to age, sex, level of education, level of literacy, level of incomes, occupation and tribe. The sample of the population of the hill tribe for this research was taken from Ampure Machan, Chiangrai Province; The hill tribe, numbering 180, 119 of whom are male and 61 are female. The study is based upon field survey research using questionnaire as a research tool. Data are analyzed by using the Statistical Package for Social Science (SPSSx) percentage, arithematic mean, Chi-square test and stepwise regression analysis. The research results are as follows : 1. The degree of identification with the Thai nation of the hill tribe are of upper-middle level. 2. The degree of identification differs among the hill tribe. However the degree with statistical significance is found in the level of education, level of literacy and tribe variables. As for other variables, the difference are statistically insignificant. 3. The hill tribe are more conscious of the concept nation, symbolism of the nation, kingship, and culture than religion, and political responsibilities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48414
ISBN: 9745675911
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanno_pa_front.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Wanno_pa_ch1.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Wanno_pa_ch2.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open
Wanno_pa_ch3.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open
Wanno_pa_ch4.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Wanno_pa_ch5.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open
Wanno_pa_ch6.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Wanno_pa_back.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.