Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48604
Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล และอารมณ์ต่อการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนของบุคคลที่สูญเสียแขนขา
Other Titles: The effect of group rational-emotive therapy on increasing self-efficacy of the amputee
Authors: วันเพ็ญ อัศวศิลปกุล
Advisors: สุภาพรรณ โคตรจรัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: "ไม่มีข้อมูล"
Subjects: คนพิการ
Amputees
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
ความสามารถในตนเอง
การรับรู้ตนเอง
จิตบำบัดแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ต่อการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนของบุคคลที่สูญเสียแขนขา โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ (1) หลังการทดลอง บุคคลที่สูญเสียแขนขาที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มจะมีคะแนนการรับรู้ความสามรถโดยทั่วไปของตน และคะแนนการรับรู้ความสามารถเฉพาะของตนสูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุม (2) หลังการทดลองบุคคลที่สูญเสียแขนขาที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิยาแบบกลุ่มจะมีคะแนนการรับรู้ความสามารถโดยทั่วไปของตนและคะแนนการรับรู้ความสามารถเฉพาะของตนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่ม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest – Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่สูญเสียแขนขาที่อยู่ในช่วงได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกอาชีพที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน จำนวน 16 คน ซึ่งสุ่มจากบุคคลที่สูญเสียแขนขาที่ได้คะนนจากแบบวัดการรับรู้ความสามารถโดยทั่วไปของตน และแบบวัดการรับรู้ความสามารถเฉพาะของตนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 0.5 ของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการรับรู้ความสามารถโดยทั่วไปของตน (The General Self – efficacy) ซึ่งพัฒนามาจากแบบวัดการรับรู้ความสามารถโดยทั่วไปของตนของเชอเรอร์และคณะ และแบบวัดการรับรู้ความสามารถเฉพาะของตน (The Specific Self – efficacy) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนด้วยวิธีการทดสอบค่าที (t – test) ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการทดลองบุคคลที่สูญเสียแขนขาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนการรับรู้ความสามารถโดยทั่วไปของตนและคะแนนการรับรู้ความสามารถเฉพาะของตนสูงกว่าบุคคลที่สูญเสียแขนขาที่ไม่ได้เข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการทดลองบุคคลที่สูญเสียแขนขาที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนการรับรู้ความสามารถโดยทั่วไปของตนและคะแนนการรับรู้ความสามารถเฉพาะของตนสูงกว่าก่อนเข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of group rational emotive therapy on increasing self-efficacy of the amputee. The hypotheses were that were that (1) the posttest scores on the general self – efficacy and the specific self – efficacy of the experimental group would be higher than the posttest scores of the control group. (2) the posttest scores on the general self-efficacy and the specific self-efficacy of the experimental group would be higher than its pretest scores. The research design was the pretest-posttest control group design. The sample was 16 amputees who were n the rehabilitation and vocational training stage at the Industrial Rehabilitation Center randomly selected from the amputees who scored 0.5 standard deviation below the mean on the general self-efficacy and the specific self-efficacy. They were randomly assigned to an experimental group, and a control group, each group comprising 8 amputees. The experimental group participated in a group rational-emotive therapy program conducted by the researcher, for two hours twice a week over a period of 5 weeks altogether for approximately 20 hours. The instrument used in this study were the General Self-efficacy developed from the Sherer et al.'s General Self-efficacy and the Specific Self-efficacy developed by the researcher. The t-test was ultilized for data analysis. The results indicated that : (1) The posttest scores on the general self-efficacy and the specific self-efficacy of the experimental group are higher than the posttest scores of the control group at .01 level of significance. (2) The posttest scores on the general self-efficacy and the specific self-efficacy of the experimental group are higher than its pretest scores at .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48604
ISBN: 9746357263
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanpen_as_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_as_ch1.pdf8.54 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_as_ch2.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_as_ch3.pdf658.48 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_as_ch4.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_as_ch5.pdf712.92 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_as_back.pdf10.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.