Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48707
Title: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพและพยาธิสภาพของไต หลังได้รับพิษงูแมวเซา ในขนาดพิษและระยะเวลาต่าง ๆ กันในหนูแรท
Other Titles: Study of the renal function and renal histopathological changes following Russell's viper venom in variation doses and times postenvenomation in the rats
Authors: สมพร โรจนสถาพรกิจ
Advisors: บังอร ชมเดช
เสาวณีย์ เย็นฤดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: "ไม่มีข้อมูล"
"ไม่มีข้อมูล"
Subjects: พิษงู
งูแมวเซา
ไต -- การทดสอบหน้าที่
ไตวายเฉียบพลัน -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาผลของพิษงูแมวเซาต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพและพยาธิของไตโดยใช้หนูแรทเพศผู้ที่โตเต็มที่แล้ว น้ำหนักประมาณ 250-350 กรัม จำนวน 252 ตัว แบ่งหนูแรทออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกกทำการศึกษาทางสมรรถภาพของไต กลุ่มหลังทำการศึกษาทางพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อไต โดยแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้คือกลุ่มย่อยที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมโดยฉีดน้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อโรคร้อยละ 0.9 ในขนาด 1 มล./กก.ของน้ำหนักตัว กลุ่มย่อยที่ 2 ฉีดพิษงูแมวเซาขนาด 1 มก./กก.ของน้ำหนักตัว และกลุ่มย่อยที่ 3 ฉีดพิษงูแมวเซาขนาด 2 มก/กก.ของน้ำหนักตัวเข้าทางกล้ามเนื้อต้นขาขวา กลุ่มย่อยที่ 2 และ 3 รวมเรียกว่ากลุ่มทดลอง ทำการศึกษาสมรรถภาพของไตและพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อไตที่ 1 3 6 24 72 120 และ 168 ซม. จากการศึกษาพบว่าพิษงูแมวเซาทั้งขนาด 1 และ 2 มก./กก. ของน้ำหนักตัวทำให้หนูแรททุกตัวมีปัสสาวะออกน้อยลงในชม.แรก ประมาณร้อยละ 10 ไม่มีปัสสาวะออก ร้อยละ 60 พบมีฮีโมโกลบินในปัสสาวะภายหลังได้รับพิษ 3 และ 6 ซม. นอกจากนี้หนูแรทร้อยละ 40 ที่ได้รับพิษงูขนาด 2 มก./กก. มีภาวะเลือดออกมากทางจมูกและปากหลังได้รับพิษงูนาน 6 ซม. ส่วนในกลุ่มเวลา 24 72 120 และ 168 ซม. หลังได้รับพิษไม่พบภาวะไม่มีปัสสาวะออกหรือพบฮีโมโกลบินปัสสาวะหรือมีภาวะเลือดออกมากทางจมูกและปาก ในกลุ่มระยะ1-6ซม.หลังได้รับพิษงูพบว่าปริมาณเม็ดเลือดอัดแน่นเพิ่มสูงขึ้นจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ทั้งสองขนาดพิษ หลังจากนั้นจะกลับสู่ปกติหรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย ไปจนสิ้นสุดการทดลอง ความเข้มข้นของโปตัสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส ครีอะตินีนและยูเรียไนโตรเจนในพลาสมาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองขนาดพิษ ส่วนความเข้มข้นของโซเดียมในพลาสมาเพิ่มสูงขึ้นเฉพาะกลุ่มที่ได้รับพิษงูขนาด 2 มก./กก. เท่านั้น และความเข้มข้นของคลอไรด์ในพลาสมาเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ค่าเฟรคชั่นของการขับถ่ายอีเล็คโทรลัยท์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตราการกรองของไต อัตราการกรองของอีเล็คโทรลัยท์ อัตราขับถ่ายปัสสาวะและอัตราการขับถ่ายอีเล็คโทรลัยท์ลดลง ค่าเคลียแรนซ์ของครีอะดินีน ยูเรียไนโตรเจน อีเล็กโทรลัยท์และออสโยลาลิคีลดลง ในขณะที่ค่าเลียแรนซ์ของน้ำอิสระเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราส่วนของออสโมลาลิตีในปัสสาวะต่อพลาสมาลดลง ในช่วง 15-20 ซม. หลังให้พิษทั้งสองขนาดพบว่าหนูแรทตายร้อยละ 30 ส่วนหนู ที่รอดชีวิตนั้นพบว่าสมรรถภาพของไตค่อยๆ ดีขึ้น ตลอดการทดลองไม่พบการตายของหนูแรทที่รอดชีวิตหลังจาก 24 ชม.ไปแล้ว การศึกษาทางพยาธิสภาพของไตพบว่าโกลเมอรูไลของกลุ่มควบคุมมีเลือดคั่งเป็นปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลาง (1˙-2˙) ในระยะเวลา 1-6 ชม. หลอดฝอยไตมีการเสื่อมสลายชนิดไฮยาไลน์ ดรอบเล็ทและพบแวคคูโอลกระจายเป็นหย่อมๆ เป็นปริมาณเล็กน้อย (1˙) ตลอดการทดลอง การเปลี่ยนแปลงของโกลเมอรูไลของหนูแรทที่ได้รับพิษงูทั้งสองขนาดพิษพบมีเลือดคั่งในโกลเมอรูไลเป็นปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลาง (1˙-2˙) เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุมแต่ระยะเวลาที่พบและความรุนแรงเกิดขึ้นมากกว่า กลุ่มที่ได้รับพิษงูขนาด 2 มก./กก.จะมีวามรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ใน 1 ชม.แรกหลังฉีดพิษทั้งสองขนาดพบธร็อมไบในโกลเมอรูไลซึ่งไม่พบในกลุ่มควบคุมและในกลุ่มช่วงระยะเวลาอื่น พบการเสื่อมสลายชนิดไฮยาไลสน์ ครอบเล็ทและเกิดแวคคูโอลกระจายเป็นปริมาณเล็กน้อย (1˙) จนถึงกระจายอยู่มากมายทั่งไป (3˙) ในเซลล์หลอดฝอยไต 24 ชม.หลังฉีดพิษขนาด 1 มก./กก.พบการตายของหลอดฝอยไตแบบเฉียบพลันเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ปริมาณเล็กน้อย (1˙) และในกลุ่มที่ได้รับพิษ 2 มก./กก. พบเช่นเดียวกันกระจายอยู่ทั่วไป (3˙) และมีการกระจายค่อนข้างอยู่ในหน่วยไตเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มที่ได้รับพิษงูขนาด 2 มก./กก. มีความรุนแรงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับพิษขนาด 1 มก./กก. พยาธิสภาพนี้พบในหนูแรทร้อยละ 25 ในแต่ละขนาดพิษ ภายหลัง 24 ชม.ไปแล้วไม่พบลักษณะของการตายของหลอดฝอยไตแบบเฉียบพลันในกลุ่มแรททั้งสองขนาดพิษเลย จากข้อมูลทั้งหมดนี้พอจะสรุปได้ว่าพิษงูแมวเซาทำให้พยาธิสรีรวิทยาของไตเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน โดยหลักฐานที่ได้จากการทดลองนี้มีแนวโน้มเนื่องจากสาเหตุที่บ่งชี้ไปทางผลของพิษงูต่อระบบไหลเวียนเลือดมากกว่าสาเหตุของพิษงูโดยตรงต่อหลอดฝอยไต และระยะวิกฤตของการนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันคือระยะ 1-24 ชม. หลังได้รับพิษงู ซึ่งความรุนแรงขึ้นกับขนาดของพิษงูที่ได้รับ ถ้าผ่านพ้นระยะนี้แล้วสมรรถภาพของไตจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหรือเกือบปกติเช่นเดียวกับพยาธิสภาพของไตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักและหนูแรทที่รอดชีวิตจากระยะนี้แล้วสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้
Other Abstract: The experiment was designed to study the effect of Russell's viper venom on renal pathophysiology in 252 healthy male rate weighting 250-350 gms. This experiment was divided into two groups. The first group purposed to study renal physiology and the other for renal pathology. Each group was divided into three subgroups. The first subgroup was control group, injected 1 ml./kg.BW. of steriled normal saline solution 0.9%, the second and the third subgroups were experimental groups, received 1 and 2 mg./kg.BW. of Russell's viper venom intramuscularly injection consequently. Following the injection, the renal pathophysiological studies were performed at the period of 1, 3, 6, 24, 72, 120 and 168 hours consecutively. Following venom injection, all studied rats produced less amount of urine during the 1 to 6 hours period. In 1 to 6 hours period, 10 percents of rate exhibited anuria, 60 percents exhibited haemoglobinuria. Only 40 percents of 2 mg./kg. rats showed signs of server bleeding from nose and mouth. Longer than 24 hours postinjection, no evidence of haemoglobinuria or bleeding signs were seen in survival rats. The initial period of 1-6 hours after venom injection, the hematocrit increased significantly in experimental groups as compared to the control group. Longer than 24 hours, hematocrit tended to fall toward subcontrol level throughout the experimental period. The plasma concentrations of potassium, calcium, phosphorus, urea nitrogen and creatinine increased significantly during 1-6 hours in both venom injected groups, while chloride changed slightly Only 2 mg./kg. rats showed an increased in plasma sodium concentration significantly at 1 and 6 hours. The significant changes of those variables did not observe in the control group. The fractional excretions of electrolytes increased significantly during 1-6 hours, whereas glomerular filtration rate, filtered load of electrolytes, urine flow rate and urinary excretion of electrolytes decreased. The plasma clearance of creatinine, urea nitrogen, electrolytes and osmolality including U/P osmolality decreased significantly, while the free water clearance increased. After 6 hours, free water clearance declined to control level within 24 hours. An interestingly during 15-20 hours after venoms injection, 30 percents died. After 24 hours, all recovered rats survived until the end of experiment. The pathophysiological findings of the control and experimental groups were compared. The Russell's viper venom produced glomerular congestion (1+-2+) almost the study period. The thrombi were observed in glomeruli only at 1 hour period in 25 percents of rats of each group. The vacuolar and hyaline droplet degeneration in renal tubular cells were observed consistently almost the study period in both experimental groups as well. There were foci vacuolar degeneration (1+-3+) in renal tubular cells almost the study period in both doses of venom. Focally, acute tubular necrosis (1+) in the rats received 1 mg/kg.BW. of venom at 24 hours was noted in 25 percents of rats, while the 2 mg./kg.BW. dosage induced more diffuse areas of acute tubular necrosis (3+) in 25 percents of rats at 24 hours. The pathology of the control group showed only congestion of glomeruli at the initial period of injection. Mild focal tubular degeneration also reported. These data could be concluded that, acute renal failure (ARF) developed 1 to 24 hours after injection. The all survived rats after ARF recovered. Based on the data in this study, both doses of venom produced circulatory disturbance definitely resulting in development of ARF in the first 24 hours. Mild pathological changes and even acute tubular necrosis (ATN) in some rats at 24 hours with pattern of distribution confined in the same nephron, they more likely represent lesion from defective circulatory system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48707
ISBN: 9745681504
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_roj_front.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_roj_ch1.pdf938.33 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_roj_ch2.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_roj_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_roj_ch4.pdf24.14 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_roj_ch5.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_roj_back.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.