Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49048
Title: การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการบริหารจัดการมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
Other Titles: Administrative power in the pollution management form factory
Authors: สมศักดิ์ เธียรจรูญกุล
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sunee.M@Chula.ac.th
Subjects: กฎหมายโรงงาน -- ไทย
กฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทย
มลพิษ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครอง
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงการใช้อำนาจตามกฎหมายขององค์กรภาครัฐในการบริหารจัดการมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีองค์กรภาครัฐหลายหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ทั้งที่สังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น ตลอดจนรัฐวิสาหกิจ และยังพบอีกว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่มีวัตถุประสงค์ต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง และที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยอาจอาศัยการตีความหรือแก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง ซึ่งแตกต่างกับของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ที่มีองค์กรหลักรับผิดชอบและมีกฎหมายควบคุมการแพร่กระจายของมลพิษเฉพาะทาง เช่น ทางอากาศ ทางน้ำ และกากสารพิษ ดังนั้น องค์กรภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษโรงงานของประเทศไทย ซึ่งจำต้องปฏิบัติราการไปตามขอบอำนาจของกฎหมายแต่ละฉบับ ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด จึงก่อให้เกิดความเกี่ยวพันในการใช้อำนาจระหว่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคเกิดการปฏิสัมพันธ์ส่งผลถึงการบริหารจัดการมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จากการศึกษาดังกล่าว จึงมีข้อเสนอแนะเป็น 3 ด้านคือ 1. ด้านกฎหมาย ควรมีการแก้ไขปรับปรุงกำหนดบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนมีความสอดคล้องสัมพันธ์ กำหนดบทลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด ไม่ซ้ำซ้อน และควรตรากฎหมายควบคุมมลพิษตามลักษณะการแพร่กระจาย 2. ด้านองค์กร ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ทุกจังหวัด 3. ด้านบทบาทของประชาชน ควรส่งเสริมและเร่งตรากฎหมายขึ้นรองรับสิทธิตามรัฐธรรมูญ เช่น การฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมโดยประชาชน โดยการนำหลัก “Citizen Suit” มาปรับใช้ การเข้ามีส่วนร่วมแสดงความเห็น กำหนดบทบาทในการตรวจตราเฝ้าระวัง (Watchdogs) แลจัดตั้งองค์กรสิ่งแวดล้อมมหาชนขึ้น
Other Abstract: This research is aiming to study the application of legal authority of governmental organizations in managing the pollution from factories. The research has found that the organizations involved consist of those under central administration, local administration, regional administration, and public enterprises. It is also found that many provisions of laws are concerned, both are purposing to the environmental matter directly and rare concerning by interpretation or amendment afterwards. It is different from other countries, for example, the United States and Japan, there are organizations mainly in charge of the problem and the laws controlling the spread of specific pollutions, that is, air pollution, water pollution and hazardous wastes. The governmental organizations in Thailand concerning the factory pollution problem which act according to the scope of futhority under the laws, and the policy as well, which correlate to power of authorithy. This interaction then causes inefficiency to the management of pollution from factories. According to the study, there are three suggestions. Firstly, the role of the organizations concerning the environmental pollutions from factories should be improved to be more conformable. The penalty should be appropriate to the offences. Inaddition, the laws controlling the problem should be enacted in accordance with the way of the spread of pollution. Secondly, regional committee should be established in every province. Thirdly, the role of public participation should be enhanced. It is necessary to enact the laws to support the public right according to constitution. The Citizen suit and the Watchdogs should be applied. And pubic environmental organizations should also be established.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49048
ISBN: 9746378007
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_ti_front.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ti_ch1.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ti_ch2.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ti_ch3.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ti_ch4.pdf10.88 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ti_ch5.pdf9.51 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ti_back.pdf10.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.