Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49084
Title: การประเมินคุณค่ายาเตรียมขี้ผึ้งตำรับต่างๆ ของคลินตามัยซิน
Other Titles: Evalution of various ointment preparations of clindamycin
Authors: สมฤทัย จิตภักดีบดินทร์
Advisors: อุบลทิพย์ นิมมานนิตย์
วาณี กฤษณมิษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ubonthip.n@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: Clindamycin
คลินดามัยซิน
ยาเตรียมขี้ผึ้ง
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการเตรียมรูปแบบยาใหม่ของตัวยาใด ๆ จำเป็นต้องประเมินคุณค่ารูปแบบยา เตรียมนั้นว่า ให้ผลน่าพอใจและมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ที่จะนำตำรารับนั้นไปใช้เป็นยาเตรียม สำหรับยาเตรียมขี้ผึ้งมีวิธีการประเมินคุณค่าต่าง ๆ คือ การทดสอบการแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนัง การปลดปล่อยตัวยาออกจากยาพื้น การทดสอบความระคายเคืองและความคงตัวของยาเตรียม ทั้งนี้ถ้ายาเตรียมขี้ผึ้งแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังและปลดปล่อยตัวยาสำคัญออกมาได้น้อย ตลอดจนรูปแบบยาไม่มีความคงตัว ยาเตรียมนั้นจะไม่มีคุณค่าในการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนั้น ยาเตรียมที่มีคุณค่าในการรักษา แต่ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ก็ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้เช่นเดียวกัน คลินดามัยชินเป็นยาปฏิชีวนะตัวหนึ่งที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนัง ในการวิจัยนี้ได้นำมาใช้เตรียมเป็นรูปแบบยาขี้ผึ้ง แล้วศึกษาการปลดปล่อยคลินดามัยชินออกจากยาพื้นโดยวิธิดิฟฟิวชัน ซึ่งดัดแปลงโดย Botarri และคณะ แล้วเสนอผลการทดสอบเป็นอัตราร้อยละของการปลดปล่อยตัวยา สำหรับการทดสอบหาความคงตัวของยาเตรียมโดยหาความสามารถในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย ในช่วงเวลาต่าง ๆ และเมื่อผ่านวงจรฟรีสต์และทอว์ 5 รอบ รวมทั้งการสังเกตผลทางกายภาพของยาเตรียม เช่น ความแข็งหรือความเหนียว สี กลิ่น และการแยกชั้น เป็นต้น เชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบความสามารถทางจุลชีววิทยาในการวิจัยนี้ ได้แก่ เชื้อโปรปิโอนิแบคทีเรีย แอคเน (Propionibacterium acnes) ซึ่งเป็นแอนแอโรบิคแบคทีเรีย เชื้อสแตปไฟโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นแอโรบิคแบคทีเรียชนิดกรัมบวก และเชื้อสูโดโมแนส แอรูจิโนสา(Peudomonas aeruginosa) ซึ่งเป็นแอโรบิคแบคทีเรียชนิดกรัมลบ โดยวัดความสามารถในการทำลายเชื้อเหล่านี้จากเส้นผ่าศูนย์กลางของพื้นที่ที่เชื้อถูกยับยั้งการเจริญเติบโต ส่วนการทดสอบการแทรกซึมของยาเตรียมเข้าสู่ผิวหนัง ทดสอบกับอาสาสัมครจำนวน 50 คน โดยใช้เทคนิคของ Wild และทดสอบการระคายเคืองผิวหนังกับอาสาสมัครจำนวน 200 คน โดใช้วิธีโมดิฟิเกชั่นของโปรฟิติกสกินเทสต์ ผลการวิจัยพบว่ายาพื้นขี้ผึ้งชนิดนี้ละลายน้ำจะปลดปล่อยคลินดามัยชินได้อัตราสูงที่สุดคือ ร้อยละ 12.06 ± 0.10 ในเวลา 180 นาที ส่วนยาเตรียมขี้ผึ้งคลินดามัยชินอิมัลชันจะแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 44.94 ± 0.09 และยังมีความสามรถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทั้งสามได้มากที่สุด โดยทำลายเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อแอโรบิคแบคทีเรยชนิดกรัมบวกได้มากที่สุด ทั้งก่อนและหลังเข้าวงจรฟรีสต์และทอว์ 5 รอบ และที่ระยะเวลาต่าง ๆ กัน มากกว่าเชื้อ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็นเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรีย และเชื้อ Peudomonas aeruginosa ซึ่งเป็นเชื้อแอโรบิคแบคทีเรียชนิดกรัมลบ ตามลำดับ ยาขี้ผึ้งคลินดามัยชินทุกตำราทำให้ระคายเคืองผิวหนังน้อยมาก และมีความคงตัวทั้งทางกายภาพและทางจุลชีววิทยาด้วยระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99
Other Abstract: The feasibility of making a new preparation of any drug must be first evaluated. The evaluation of ointment preparation consists of penetration test, the study of drug release from its base, experiment on possible dermatological irritation and stability test. If the penetration and drug release rates of any preparations are low and their dosage forms unstable, they are unvaluable for therapeutic use. In addition, preparation which are therapeutic but caused irritation to the skin are unsuitable as well. Clindamycin is a useful antibiotic for dermatological treatment. Ointment preparation were investigated by this research. Clindamycin release rates were studied by diffusion techniques according to method developed by Botarri et al. The stability of preparation was studied by bactericidal test, together with a 5-Freeze-Thaw cycle technique. Physical changes observed are : consistency or stiffeness, color, odor, sedimentation, etc. The bactericidal property of the preparation was studied with anaerobic bacteria (Propionibacterium acnes) : gram positive aerobic bacteria (Staphylococcus aureus) and gram negative aerobic bacteria (Peudomonas aeruginosa) by measuring the inhibition zones. Fifty volunteers were studied ointment penetrating characteristic by using a very early technique of Wild. Lastly modification of prophetic skin test with two hundred volunteers were carried out to study the preparation’s irritation possibility. The experiment revealed that water soluble ointment had the maximum clindamycin release rate, about 12.06% ± 0.10% per 180 minutes. But clindamycin in emulsion cintment base penetrated into the skin most, about 44.94% ±0.09% and inhibited the three bacteria most effectively. Gram positive aerobic bacteria such as Staphylococcus aureus was more sensitive to clindamycin, either before and after a 5 Freeze-Thaw cycles, than Propionibacterium acnes and Pseudomonas aeruginosa which were anaerobic bacteria and gram negative aerobic bacteria respectively. All ointment preparations did not irritate the skin and had physical and microbiological stability with 99% confidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49084
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somrutai_ji_front.pdf11.21 MBAdobe PDFView/Open
Somrutai_ji_ch1.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Somrutai_ji_ch2.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Somrutai_ji_ch3.pdf15.61 MBAdobe PDFView/Open
Somrutai_ji_ch4.pdf7.63 MBAdobe PDFView/Open
Somrutai_ji_ch5.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Somrutai_ji_back.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.