Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49093
Title: ภาพลักษณ์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในสายตาผู้ใช้บริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The image of the Telephone Organization of Thailand among customers in Bangkok Metropolis area
Authors: สันติมา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย -- การประชาสัมพันธ์
ภาพลักษณ์องค์การ
ทัศนคติ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาพลักษณ์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในสายผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพหานคร และ เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีผลต่อดำเนินงาน และการให้บริการขององค์การโทรศัพท์ฯ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่ของ Scheffe และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สั้น ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. ลักษณะทางประชากร ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มีเพียงอายุและอาชีพเท่านั้น ที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์การโทรศัพท์ฯ แตกต่างกัน 2. ลักษณะทางประชากร ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มีเพียงอายุที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานขององค์การโทรศัพท์ฯ แตกต่างกัน 3. การรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์การโทรศัพท์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในเรื่องต่าง ๆ คือองค์การโทรศัพท์ฯ สามารถสร้างสรรค์และทำประโยชน์ต่อสังคมได้มาก เป็นองค์กรที่ดีและมั่นคงทำให้บุคคลภายนอกอยากจะเข้ามาร่วมงานองค์การฯเป็นจำนวนมาก และเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ การรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์การโทรศัพท์ฯ ที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการนั้นจะเป็นในเรื่องของ ความไม่แน่ใจในการให้บริการขององค์การโทรศัพท์ฯ การขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้บริการ และขาดการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ต่อสาธารณชน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ 1. องค์การโทรศัพท์ฯ ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นเพราะจากผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการไม่ได้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ 2. ควรจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานในเรื่อง การบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3. ควรมีการพัฒนาอุปกรณ์โทรศัพท์ให้มีความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยีทางการสื่อสารตลอด 4. ควรมีการร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้มากขึ้น 5. ควรให้ความสำคัญกับโทรศัพท์สาธารณะทั่วไป ให้ใช้การได้ดีมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 6. ควรเร่งดำเนินการเรื่องโทรศัพท์บ้านที่พกพาได้ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด
Other Abstract: The purpose of this research was to survey the image, customers’ satisfaction and services provided by The telephone organization of Thailand. It comprises 400 samplings. The data had been gathered by means of questionnaires Pearson’s Product Moment Correlation Coefficients. The findings are as follows : 1. Of all demographic structures such as sex, age, education, profession and income, only age and profession Correlated with different image perception of The Telephone Organization of Thailand (TOT). 2. Of all demographic structures such as sex, age, education, profession and income, merely age was related to the difference in satisfaction with TOT’s operation. 3. The positive images of TOT reflected from customers’ satisfaction were that TOT’s services had created lots of benefits for the society. It was a stable and well-established organization appealing to many people to join in. Its communication technology had been developed constantly. However, TOT’s negative image resulted from uncertainly in TOT’s services, poor customers relations, and lack of public relations news releases. The recommendations from this research from this research are as follows : 1. TOT should take more action in public relations news releases. 2. TOT should province more staff training in service efficiency. 3. TOT should’ improve telephone equipment to be more modern and to catch up with advanced communication technology. 4. TOT should conduct more social activities to create positive images among general users. 5. TOT should give priorities to public telephone services and maintain them general users. 6. TOT should urge as quickly as possible the one million mobile phone project.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49093
ISBN: 9746361074
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santima_ka_front.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
Santima_ka_ch1.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Santima_ka_ch2.pdf13.92 MBAdobe PDFView/Open
Santima_ka_ch3.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Santima_ka_ch4.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open
Santima_ka_ch5.pdf7.48 MBAdobe PDFView/Open
Santima_ka_back.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.