Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49896
Title: การพัฒนาแพลตฟอร์มรับแรงสำหรับวิเคราะห์การลงน้ำหนักที่อุ้งเท้าขณะยืนของสุนัข
Other Titles: Development of a force platform for analysis of the force applied to canine’s paws at standing position
Authors: พฤกจิกา สุขศิริมัช
Advisors: ชัญชนา ตั้งวงศ์ศานต์
กัมปนาท สุนทรวิภาต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chanchana.T@Chula.ac.th,tchanchana@yahoo.com,tchanchana@yahoo.com
Kumpanart.S@Chula.ac.th
Subjects: สุนัข
สุนัข -- โรค -- การรักษา
อุปกรณ์ตรวจจับ
เครื่องมือทางวิศวกรรม
Dogs
Dogs -- Diseases -- Treatment
Detectors
Engineering instruments
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ได้พัฒนาระบบแพลตฟอร์มรับแรงขึ้นเพื่อใช้ในการตรวจจับน้ำหนักกดของอุ้งเท้าของสุนัขจากการยืนและการเดิน ระบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ระบบ คือ ระบบตรวจจับแรง ที่ประกอบด้วยตัวตรวจจับแรงกดแบบตัวต้านทานจำนวน 144 ตัว ระบบประมวลผลข้อมูล และระบบวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล ซึ่งมีความเร็วในการแสดงผลข้อมูลอยู่ที่ 50 ชุดข้อมูลต่อวินาที ระบบแพลตฟอร์รับแรงนี้ได้ถูกทดสอบด้วยน้ำหนักมาตรฐานที่มีค่าน้ำหนักตั้งแต่ 40-3,000 g จำนวน 27 ค่าน้ำหนัก เพื่อหาสมการการแปลงค่าน้ำหนักจำนวน 11 สมการ ซึ่งค่าน้ำหนักที่ตรวจจับได้มีความถูกต้องแม่นยำสูง มีเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่ต่ำกว่า 3% จากนั้นได้นำระบบแพลตฟอร์มรับแรงที่ได้พัฒนาขึ้นนี้มาทดสอบกับสุนัขปกติที่ไม่ป่วยเป็นโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก จำนวน 15 ตัว และสุนัขที่ผิดปกติ (เป็นโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก) จำนวน 25 ตัว ที่เลือกโดยสัตวแพทย์ ผลจากการทดสอบพบว่า ในการยืน สุนัขที่ปกติจะมีการกระจายน้ำหนักตัวที่มีความสมดุล (หน้า-หลัง) และมีความสมมาตรซ้าย-ขวา โดยมีอัตราส่วนค่าเฉลี่ยผลรวมของน้ำหนักที่กดของอุ้งเท้าคู่หน้าต่ออุ้งเท้าคู่หลังเท่ากับ 59.97:40.03 (±0.54%) มีอัตราส่วนค่าเฉลี่ยผลรวมของน้ำหนักที่กดของอุ้งเท้าข้างซ้ายต่ออุ้งเท้าข้างขวาเท่ากับ 50.10:49.90 (±0.34%) และมีเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดของอุ้งเท้าคู่หน้า (ซ้าย-ขวา) และอุ้งเท้าคู่หลัง (ซ้ายและขวา) ที่ต่ำกว่า 1.60% (±1.51) แต่สำหรับสุนัขที่ผิดปกติที่เป็นโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก (โรคข้อเสื่อม โรคสะบ้าเคลื่อน โรคข้อสะโพกเสื่อมและโรคข้อสะโพกหลุด) จะมีการกระจายน้ำหนักตัวที่ไม่สมมาตร โดยมีเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดของอุ้งเท้าหน้าซ้ายและอุ้งเท้าหน้าขวาอยู่ที่ 5.54% (±2.45) และเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดของอุ้งเท้าหลังซ้ายและอุ้งเท้าหลังขวามากถึง 22.85% (±26.70) แต่เมื่อได้รับการรักษาแล้ว สุนัขที่ผิดปกติจะมีการกระจายน้ำหนักตัวที่ดีขึ้น คือมีเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่กดของอุ้งเท้าหลังซ้ายและอุ้งเท้าหลังขวาที่ต่ำกว่า 3.35% (±1.77) ในการเดิน สุนัขจะมีจังหวะการกดน้ำหนักที่สูงที่สุดอยู่ในช่วง 0.10-0.14 s หลังจากอุ้งเท้าเริ่มสัมผัสพื้น และในจังหวะการเดิน สุนัขจะมีการกดน้ำหนักสูงสุดที่อุ้งเท้าแต่ละข้างที่สูงกว่าการกดน้ำหนักขณะยืน โดยอุ้งเท้าคู่หน้าจะมีน้ำหนักกดที่ประมาณ 0.92-1.12 เท่าของน้ำหนักตัว และในอุ้งเท้าคู่หลังจะมีน้ำหนักกดที่ประมาณ 0.61-0.77 เท่าของน้ำหนักตัว ข้อมูลที่ได้จากการตรวจจับและวิเคราะห์ด้วยระบบแพลตฟอร์มรับแรงนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อสัตวแพทย์ในการวินิจฉัยโรคและการรักษาสุนัขที่มีความผิดปกติได้
Other Abstract: In this thesis, we developed a force platform system for the detection of the weight distributed to each paw of the dog when it was standing and walking. This system is composed of 3 important parts: a force sensing system, consisting of 144 force sensing resistors, a data processing system, and a data analyzing and presenting system with the sampling rate of 50 data set per second. The force platform system was calibrated and tested using 27 sizes of standard weights varying from 40 g to 3,000 g to obtain a calibration curve which was fitted using 11 equations. This system can accurately detect the weight with less than 3% error. The force platform system was then used for animal testing using 15 healthy dogs with no musculoskeletal disease and 25 abnormal dogs with musculoskeletal diseases, chosen by veterinarians. The results show that, in standing position, healthy dogs symmetrically distribute their body weight to their 4 paws with the ratio of the average weight applied to the forelimbs to that of the hindlimbs of 59.97:40.03 (±0.54%), the ratio of the average weight applied to the left limbs to that of the right limbs of 50.10:49.90 (±0.34%) and the percentage difference between the left forelimb and right forelimb and between the left hindlimb and the right hindlimb of less than 1.60% (±1.51). The abnormal dogs with musculoskeletal diseases (degenerative joint disease, patellar luxation, hip dysplasia and coxofemoral luxation), on the other hand, distribute their body weight to their 4 paws unsymmetrically with the percentage difference between the left forelimb and right forelimb of 5.54% (±2.45) and between the left hindlimb and the right hindlimb of 22.85% (±26.70). However, after being treated, the body weight distribution of the diseased dogs improved greatly, having the percentage difference between the left hindlimb and right hindlimb of less than 3.35% (±1.77). When the healthy dog is walking, the moment the maximum weight applied on each paw is during 0.10-0.14 s after the paw start touching the floor and the maximum weight applied on each paw is higher than the average weight applied on each paw when it is standing. When the dog is walking, the weight applied on both forelimbs is approximately 0.92-1.12 of its body weight and the weight applied on both hindlimbs is approximately 0.61-0.77 of its body weight. This information obtained from the force platform system will be useful for veterinarians for diagnoses and treatments of the abnormal dogs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49896
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1328
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1328
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570308721.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.