Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49980
Title: การเตรียมตัวพาไขมันระดับนาโนจากไขมันเมล็ดเงาะด้วยวิธี Melt-emulsification
Other Titles: Preparation of Nanostructured Lipid Carriers (NLCs) from Rambutan seed fat by a Melt-emulsification technique
Authors: ขวัญศิริ อุไรวรรณ์
Advisors: ชุติมณฑน์ สถิรพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chutimon.S@Chula.ac.th,chutimon.s@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือสกัดไขมันเมล็ดของเงาะ (Nephelium lappaceum L.) เพื่อพัฒนาเป็นตัวพาไขมันระดับนาโนเมตร (NLC) ไขมันเมล็ดเงาะถูกสกัดโดยการแช่ในตัวทำละลายเฮกเซนทำการศึกษาอิทธิพลของของขนาดอนุภาค อัตราส่วนของวัตถุดิบต่อตัวทำละลายและเวลาในการสกัด ที่ส่งผลต่อปริมาณไขมันที่สกัดได้ สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดคือ ขนาดอนุภาค 0.42-0.59 มิลลิเมตร เวลาในการสกัด4 ชั่วโมง และ อัตราส่วนของผงเมล็ดต่อตัวทำละลายเป็น 1:10 ปริมาณผลได้ของไขมันเมล็ดที่สูงสุดเป็น 29.45 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง เทคนิค melt-emulsification ถูกนำมาใช้ในการผลิตอนุภาคตัวพาไขมันระดับนาโนเมตร โดยมีวิตามินอี (VE) และสารสกัดจากเมล็ดอ่อนมะม่วง (MSKE) เป็นตัวแทนของตัวยาที่ละลายในไขมันและละลายในน้ำ ตามลำดับ สารละลายของอนุภาคตัวพาไขมันระดับนาโนเมตรถูกเตรียมโดยแปรผันค่าของตัวแปรในกระบวนการผลิต สภาวะที่เหมาะสมได้จากการใช้อัตราส่วน ไขมันเมล็ด (SF) ต่อ กรดสเตียริก (SA) เป็น 3:1 ความเข้มข้นTween 20 เป็น 5.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เวลาในการโซนิเคทเท่ากับ 10 นาที และความเข้มข้น วิตามินอี เป็น 5.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก อนุภาคตัวพาไขมันระดับนาโนเมตรบรรจุวิตามินอี มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเท่ากับ 139.43±1.15นาโนเมตร โดยมีค่าดัชนีการกระจายตัว 0.165±0.017และค่าศักยภาพซีต้า -31.0±0.8 มิลลิโวล์ต ความสามารถในการกักเก็บตัวยาสูงสุดมีค่าเท่ากับ 90.59 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธภาพการกักเก็บตัวยาสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยการเพิ่มอัตราส่วนของไขมันเมล็ดต่อกรดสเตียริกซึ่งผลการทดลองอธิบายได้โดยการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงทางความร้อน (DSC) ของอนุภาคตัวพาไขมันระดับนาโนเมตรโดยการรวมตัวของไขมันเมล็ดในอนุภาคตัวพาไขมันระดับนาโนเมตรนำไปสู่ความไม่เป็นระเบียบของโครงสร้างผลึกและทำให้มีพื้นที่ในการรองรับโมเลกุลของตัวยามากขึ้น ความคงตัวทางกายภาพภายใต้อุณหภูมิการเก็บรักษาที่แตกต่างกันเป็นระยะเวลา 2 เดือนพบว่า อนุภาคตัวพาไขมันระดับนาโนเมตรบรรจุวิตามินอี มีเสถียรภาพที่ดี พฤติกรรมการปลดปล่อยของวิตามินอี (VE) และสารสกัดจากเมล็ดอ่อนมะม่วง (MSKE)ออกจากอนุภาคตัวพาไขมันระดับนาโนเมตรแสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: The aim of this research was to extract the seed fat of Rambutan (Nephelium lappaceum L.) for developing a nanostructured lipid carriers (NLC). The seed fat was extracted by maceration in hexane. The effects of particle size, the ratio of material per solvent and extraction time on the fat yield were investigated. The optimum extraction conditions were as follows; particle sizes in the range of 0.42-0.59 mm, extraction time of 4 hours and the ratio of seed powder per solvent of 1:10. The maximum yield of seed fat was 29.45 % of the dry weight. The NLC produced by melt-emulsification technique. α-tocopherol (VE) and mango seed kernel extract (MSKE) were used as a lipophilic and hydrophilic model drug incorporated into the NLC, respectively. NLC dispersions were prepared by varying values of processing parameters. The optimal conditions were obtained by using ratio of seed fat (SF): stearic acid (SA) of 3:1, Tween 20 (5% w/w), sonication time of 10 minute and amount of α-tocopherol for 5.0 %w/w. VE-loaded-NLC had average particle size of 139.43±1.15nm with a polydispersity index of 0.165±0.017 and Zeta potential of -31.0±0.8 mV. Maximum drug entrapment was 90.59%. The drug entrapment efficiency was improved by increasing the ratio of SF: SA. The results were explained by differential scanning calorimetry (DSC) measurement for NLC. The incorporation of seed fat to NLC led to the disturbance of crystal order and thus, generated more space to accommodate drug molecules. The physical stability under the different storage temperatures for 2 months indicated that the VE-loaded-NLC showed good stability. The release behaviors of VE and MSKE from NLCs showed no significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49980
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670132621.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.