Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50093
Title: การพัฒนาเครื่องมือวัดการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองตามการรับรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามแนวคิดการอบรมเลี้ยงดูของ Schaefer
Other Titles: The development of child’s perception of parenting measurement for lower secondary school students based on Schaefer concept
Authors: ปัณณ์วิชญ์ จาตุกัญญาประทีป
Advisors: ชุติมา สุรเศรษฐ
จรินทร วินทะไชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chutima.P@Chula.ac.th,chutima_suraseth@yahoo.com
Jarintorn.W@Chula.ac.th
Subjects: เด็ก -- การเลี้ยงดู
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
จิตวิทยาการศึกษา
Child rearing
Junior high school students
Educational psychology
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการอบรมเลี้ยงดูตามแนวคิดของ Schaefer และศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร จำนวน 610 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เครื่องมือวัดการอบรมเลี้ยงดูที่พัฒนาขึ้น และแบบวัด CRPBI-108 ฉบับภาษาไทย ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และจำแนกรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธี tertile split ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดการอบรมเลี้ยงดูที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีข้อคำถามให้นักเรียนประเมินการกระทำของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียน จำนวน 36 ข้อ ซึ่งวัดตัวบ่งชี้ในแต่ละมิติการอบรมเลี้ยงดู เครื่องมือวัดที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง ซึ่งจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองพบว่า โมเดลการวัดการอบรมเลี้ยงดูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X 2 = 9.001, df = 7, p = 0.253) เครื่องมือมีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ โดยพบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างมิติการอบรมเลี้ยงดูเดียวกันของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นกับเครื่องมือ CRPBI-108 ฉบับภาษาไทย เครื่องมือมีความเที่ยงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือทั้งฉบับเท่ากับ .902 และมีค่าความเที่ยงในแต่ละมิติอยู่ระหว่าง .748 ถึง .874 2. ผลการสำรวจรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู พบว่า มีตัวอย่างวิจัยที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.5 ของตัวอย่างวิจัยทั้งหมด มีตัวอย่างวิจัยร้อยละ 15.4 ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย มีตัวอย่างที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมและรักตามใจร้อยละ 4.1 และ 5.1 ตามลำดับ และมีตัวอย่างร้อยละ 53.9 ที่ไม่สามารถจำแนกรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูได้
Other Abstract: The purposes of this research were to develop a parenting measurement based on Schaefer’s concept and to study the parenting style of lower secondary school students’ parents. The samples in this study consisted of 610 lower secondary school students in Bangkok. The instruments used in this research were the parenting behavior survey, the developed parenting measurement and CRPBI-108 Thai version. The data were analyzed using second-order confirmatory factor analysis. The parenting styles were distinguished using the tertile split method. The major findings were as follows: 1. The developed parenting measurement consisted of 36 five-Likert scale items, measuring the parenting indicators in each dimension. Construct validity was confirmed by using the second-order CFA and found X 2 = 9.001, df = 7, p = 0.253. The developed parenting measurement has the criterion-related validity. The correlation between of the same dimension's score of the developed parenting measurement and the CRPBI-108 Thai version was significantly positive. The reliability of the whole measurement was .902 and the reliability of the dimensions was ranged from .748 to .874. 2. There was 21.5 percent of the samples that were classified as having the authoritative parent. 15.4 percent of the samples were classified as having the neglectful parent while 4.1 and 5.1 percent were classified as having the authoritarian parent and the permissive parent, respectively. Parenting style of the 53.9 percent of the samples could not be classified.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50093
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1125
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1125
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683355427.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.