Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50111
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนัยนันทน์ อริยกานนท์en_US
dc.contributor.authorดารารัตน์ โรจนพิทยากรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:43:00Z
dc.date.available2016-11-30T05:43:00Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50111
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของหญ้ารูซี่ (Brachiaria ruziziensis) ในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนสังกะสีร่วมกับการประยุกต์ใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้า โดยการศึกษาปริมาณสังกะสีในดินที่เหมาะสมที่หญ้ารูซี่สามารถบำบัดได้ ในดินที่มีการเติมสังกะสีที่ความเข้มข้น 0, 300, 400 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้งของดิน ผลการศึกษาพบว่าอัตราการรอดชีวิตและมวลชีวภาพของหญ้ารูซี่จะสูงเมื่อปลูกในดินที่มีการเติมสังกะสีที่ความเข้มข้น 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้งของดิน และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปลูกหญ้ารูซี่ในดินที่ไม่มีการเติมสังกะสี ต่อมาได้ศึกษาความต่างศักย์ไฟฟ้า (0, 1, 2 และ 4 โวลต์ต่อเซนติเมตร) ระยะเวลา (0, 2, 4 และ 6 ชั่วโมงต่อวัน) และความหนาแน่นของพืช (0, 5, 10 และ 15 ต้นต่อพื้นที่หน้าตัดกระถาง) ที่เหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนสังกะสีโดยการใช้พืช ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มสนามไฟฟ้าจะไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมวลชีวภาพของพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่จะส่งผลต่อปริมาณสังกะสีที่สะสมในพืชที่แตกต่างกัน ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมที่สุดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดดินที่ปนเปื้อนสังกะสีโดยการใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้าร่วมกับการบำบัดโดยการใช้พืช คือ ที่ความต่างศักย์ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร ระยะเวลาการให้กระแสไฟฟ้า 2 ชั่วโมงต่อวัน และมีความหนาแน่นของพืช 5 ต้นต่อพื้นที่หน้าตัดกระถางen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the optimum condition for electrokinetic – phytoremendial removal of zinc contaminated soil with Ruzi grass (Brachiaria ruzizensis). In this experiments, Ruzi grass were transferred to experimental soil pots, which were applied with Zinc ion to 0, 300, 400, and 500 mg/kg soil. The result showed the highest survivals rate and biomass of Ruzi grass were presented at 300 mg/kg soil and this concentration was not significantly difference to that in uncontaminated soil. Subsequently determined the optimal voltage level (0, 1, 2 and 4 V/cm) and then duration of the time applied voltage (0, 2, 4 and 6 h/d) and density of plants (0, 5, 10, 15 plants/gross sectional area), respectively. The results found that increase of electric current were not significantly different for biomass of Ruzi grass. The optimum condition for electrokinetic – assisted phytoremediation of zinc contaminated soil with Ruzi grass was an applied voltage of 2 V/cm for 2 h/d and density of Ruzi grass were 5 stem/gross sectional area.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.928-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบำบัดโดยพืช
dc.subjectการกำจัดสารปนเปื้อนในดิน
dc.subjectหญ้ารูซี่
dc.subjectPhytoremediation
dc.subjectSoil remediation
dc.subjectRuzi grass
dc.titleการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยพืชร่วมกับจลนศาสตร์ไฟฟ้าในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนสังกะสีโดยหญ้ารูซี่en_US
dc.title.alternativeElectrokinetic-assisted phytoremediation of zinc contaminated soil with Ruzi grass (Brachiaria ruziziensis)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNaiyanan.A@Chula.ac.th,anaiyanan@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.928-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687118820.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.