Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50622
Title: แนวทางการพัฒนาระบบการให้บริการแท็กซี่ไทย
Other Titles: THAI TAXI SERVICES DEVELOPMENT
Authors: เพ็ญพิชชา ศรีสมาธิโสภณ
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th,pongsa.p@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันระบบแท็กซี่ไทยได้เกิดมีปัญหาต่างๆ ทั้งในส่วนของคุณภาพของรถและคนขับรถแท็กซี่ รวมถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและการคิดราคาค่าโดยสารที่เกินมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น จำนวนรถแท็กซี่ที่มีมากเกินไป เป็นต้น นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ต้องหันมาปรับปรุงการให้บริการในการแข่งขันเชิงคุณภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์ เพื่อศึกษาการให้บริการให้บริการแท็กซี่ไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบแท็กซี่ไทย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการรถแท็กซี่, นักวิชาการจากฝ่ายสำนักการขนส่งผู้โดยสาร และนักวิชาการฝ่ายกองตรวจการ ประกอบกับสอบถามเพิ่มเติมในส่วนของความคิดเห็นและทัศนคติของคนขับรถแท็กซี่กับผู้โดยสาร จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาแท็กซี่ไทยที่ควรได้รับการแก้ไข คือ ความปลอดภัย, ลักษณะและคุณภาพในการให้บริการ และราคา ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับลำดับความสำคัญของการใช้มาตรการการแก้ไขปัญหาแท็กซี่ไทยในส่วนของความต้องการพื้นฐานและเพิ่มเติม นอกจากนี้ความคิดเห็นโดยรวมนั้น เห็นด้วยกับการนำแอพพลิเคชั่นในการเรียกรถแท็กซี่มาประยุกต์ใช้ และควรลดหรือไม่ให้มีการเรียกแท็กซี่ในรูปแบบการโบกตามท้องถนน, ใบอนุญาตการประกอบการรถแท็กซี่ควรมีการจำกัดและปรับให้อยู่ในรูปแบบผู้ประกอบการที่แท้จริง, อัตราค่าโดยสารในปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว แต่อาจจะมีการแบ่งโครงสร้างราคาเพิ่มเติม เช่น ช่วงเวลา และคุณภาพบริการ, อุปกรณ์เพิ่มเติมที่ควรติดตั้ง คือระบบ GPS และกล้องวงจรปิด, ระบบการตรวจสอบประวัติและประเมินการให้บริการของคนขับรถแท็กซี่ควรสร้างให้เป็นเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ รวมถึงควรมีการอบรมการให้บริการที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของกรมขนส่งทางบกและผู้ประกอบการ และควรเพิ่มบทลงโทษทั้งในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งคนขับรถแท็กซี่และผู้ประกอบการ
Other Abstract: Thai taxi services currently have the problems both quality's car and taxi driver including passenger's safety and over taxi fare's standard. They are caused from many factors such as the excess taxi supply. Moreover, the technology's development at present make the taxi operator needed to improve their services more competitive in quality standard. The objectives of this research are to study for thai taxi services and to suggest the method of development thai taxi services. Data were collected via the qualitative method from concerned literature review both in thai and foreign research papers. The aggregated data from this study were used for the in-dept interview with the key informants : the taxi operators, the mass transportation specialists and the inspectation transport specialists together with the supplement opinions and attitude from taxi drivers and passengers. The results of this study was the thai taxi problems which should be resolved as follows the safety, the characteristics and quality of services and the price. They were conformed with the order significance of the remedial measures both the fundamental and the additional requirements. Futhermore, all informants agreed with the applied application to calling and suggested that should be reduce or not allow the hailing taxi in the street. The taxi operator licenses should be restricted with the additional rules and adjusted the form of taxi operator to the real operator. The taxi fare was suitable now but it should be divided the fare structure such as peak timing and the quality of services. The additional setting equipments were GPS system and security camera. The investigated taxi driver background and the appraisal taxi services after using should be set the same standard in the system. The educated course for good taxi services should be had in the land transportation department and the taxi operator with continuously. The penalty should be increased in concerned parties both taxi driver and taxi operator.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50622
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787208720.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.