Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50769
Title: กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของชุมชนพหุวัฒนธรรม
Other Titles: ACTIVITIES OF LIFELONG LEARNING TO PROMOTE HARMONIOUS LIVING OF MULTICULTURAL COMMUNITIES
Authors: ศิวะ บุญสิน
Advisors: มนัสวาสน์ โกวิทยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Manaswas.K@Chula.ac.th,manaswas@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของชุมชนต้นแบบ และ 2) นำเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของชุมชนพหุวัฒนธรรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือชุมชนต้นแบบ 3 ชุมชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต และ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาความคิดเห็นของชุมชนต้นแบบต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของชุมชนพหุวัฒนธรรม พบว่า ชุมชนต้นแบบมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในชุมชนช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของชุมชนพหุวัฒนธรรมได้ในระดับมากทั้ง 3 ชุมชน ดังนี้ 1) ชุมชนย่านสะพานหัน (X-bar = 4.01, S.D. = 0.55) 2) ชุมชนบ้านญวนสามเสน (X-bar = 4.01, S.D. = 0.57) และ 3) ชุมชนย่านกุฎีจีน (X-bar = 3.69, S.D. = 0.80) 2. ข้อเสนอแนะของชุมชนต้นแบบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของชุมชนพหุวัฒนธรรม พบว่า ชุมชนพหุวัฒนธรรมควรส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันในลักษณะ “วิถีชุมชน” หรือ “วิถีชาวบ้าน” เพื่อเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ส่งเสริมคนในชุมชนร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจ ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีกิจกรรมร่วมกับคนศาสนาอื่น ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการรู้จักอาวุโสกันภายในชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการเรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของชุมชน และ ส่งเสริมให้ ชุมชน ศาสนสถาน และโรงเรียน เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของคนในชุมชน
Other Abstract: This research was Descriptive Research. The purposes of this research were to: 1) study the opinions toward activities of lifelong learning to promote harmonious living of model communities and 2) propose recommendations about organizing activities of lifelong learning to promote harmonious living of multicultural communities. The sample groups of this research were 3 model communities in Bangkok Metropolitan Area by using purposive sampling. The research instruments were questionnaire, observation form and in-depth interview form. The research findings were as follows: 1. The results of the study the opinions toward activities of lifelong learning to promote harmonious living of model communities found that activities of lifelong learning in community help promoting harmonious living of multicultural communities which the opinions were at high level in all 3 model communities: 1) Saphan Han Community (X-bar = 4.01, S.D. = 0.55); 2) Banyaun Samsen Community (X-bar = 4.01, S.D. = 0.57); and Kudeejeen Community (X-bar = 3.69, S.D. = 0.80). 2. The recommendations of model communities about organizing activities of lifelong learning to promote harmonious living of multicultural communities found that multicultural communities should: promote group formation among people in community in the sense of “folkways” for cooperative learning activities; promote participation in religious activities; promote cooperative activity with people from different religions; promote seniority respect in community; promote community’s history learning; and promote the community, religious place and school as lifelong learning centers for harmonious living.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50769
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583437127.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.