Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50807
Title: ปัญหาและผลกระทบของสัญญาประนีประนอมยอมความ
Other Titles: The problem and impact of compromise agreement
Authors: อัญญมณี งามณรงค์พงษ์
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com
Subjects: สัญญา -- ไทย
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ประนีประนอม
ประนีประนอม -- ไทย
ประนีประนอม -- อังกฤษ
ประนีประนอม -- ฝรั่งเศส
ประนีประนอม -- ญี่ปุ่น
ประนีประนอม -- ญี่ปุ่น
Contracts -- Thailand
Civil and commercial law
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวพันกับการแปลงหนี้ใหม่ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังศาลมีคำพิพากษา และการทำสัญญาประนีประนอมยอมความบางส่วน โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศอังกฤษ กฎหมายประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส และกฎหมายประเทศญี่ปุ่น จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ และผลจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามที่ปรากฎการปรับใช้ในคำพิพากษาฎีกา และความเห็นของนักกฎหมายที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งจากการศึกษากฎหมายประเทศอังกฤษพบว่าข้อพิพาทที่สามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีลักษณะกว้าง และผลจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างคู่สัญญาว่าจะกลับมาใช้ข้อพิพาทเดิมหรือไม่ ส่วนกฎหมายประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสพบว่าข้อพิพาทที่สามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีลักษณะกว้างเช่นกัน สำหรับกฎหมายประเทศญี่ปุ่นพบว่าผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้คู่สัญญาได้สิทธิใหม่ แม้ว่าข้อพิพาทเดิมคู่สัญญาอาจมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิที่แท้จริง ส่วนปัญหาการทำสัญญาประนีประนอมยอมความบางส่วนพบว่าการวินิจฉัยตามที่ปรากฎในคำพิพากษาฎีกาเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการทำประนีประนอมยอมความ ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอแนวทางในการตีความคำว่า “ข้อพิพาท” ตามมาตรา 850 ให้หมายถึงข้อพิพาทที่เกิดขึ้นทุกกรณี ไม่หมายถึงกรณีที่ทุกฝ่ายต้องมีข้อเรียกร้องต่อกันเท่านั้น ส่วนคำว่า “การสละการเรียกร้อง” ตามมาตรา 852 หมายถึงการสละการเรียกร้องที่แสดงออกมาทุกด้านต่อข้อพิพาทของคู่สัญญา นอกจากนี้ในการปรับใช้กฎหมายควรมีการแสดงให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้มีผลทำให้หนี้เดิมระงับ แต่สิ่งที่ระงับไปคือ ข้อพิพาทที่โต้แย้งกัน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบคือ สัญญาอุปกรณ์ไม่ระงับ นายจ้างไม่หลุดพ้นเมื่อลูกจ้างผู้ทำละเมิดทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหาย และทำให้คู่สัญญาสามารถตกลงกันให้กลับมาใช้หนี้เดิมได้ นอกจากนี้ควรยกเลิกอายุความของสัญญาประนีประนอมยอมความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 โดยให้ใช้อายุความตามลักษณะเฉพาะของข้อตกลงที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นๆ แต่หากไม่มีอายุความเฉพาะก็ให้ใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ซึ่งแนวทางดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของสัญญาประนีประนอมยอมความและของคู่สัญญา
Other Abstract: This dissertation examines and analyzes the laws concerning the formulation of compromise agreement according to the Civil and Commercial Code, the contract’s effect and impact, and laws regarding novation. Plus, the formulation of compromise following a judgment and partial compromise are also part of this paper. Not only are the Thai laws objects of the studies, but also their English, French and Japanese counterparts have been researched to be compared with the Thai laws. The studies’ result demonstrates that the laws and effects of compromise are inconsistent and varied according to judges or scholars interpretation. Resulting from studying the English law, it could be pointed out that conflicts which could be compromised are broader than those of Thai laws. Additionally, the parties could change their minds and choose to be bound by the former agreement rather that the compromise. Similarly, in France, more types of conflict could be ended by compromise. For the Japanese laws, a compromise agreement renders both parties new rights, regardless of the former contract. Moreover, for the partial compromise, the studies find out that according to the Supreme Court’s judgements, compromise agreements have been rightly enforced. Therefore, this paper suggests interpreting ‘the dispute’ according to article 850 to include every kind of conflict not limiting to conflicts which all parties have claims. Moreover, the ‘surrender of claims’ according to article 852 should mean surrendering any aspect of claims. Furthermore, it should be clear that a compromise agreement is not a novation of the contract but only the cease of disputes. Consequently, subsidiary agreements still in enforcement. Last but not least, the 10-year prescription of compromise according to article 193/32 should be repealed as it should be varied according to the former main contract.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50807
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.677
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.677
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586043034.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.