Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50843
Title: การทวนสอบความต้องกันระหว่างการออกแบบโปรแกรมส่วนต่อประสานผู้ใช้และแบบจำลองการออกแบบซอฟต์แวร์จากความสัมพันธ์ของส่วนประกอบ
Other Titles: CONSISTENCY VERIFICATION BETWEEN USER INTERFACE DESIGN PROGRAM AND SOFTWARE DESIGN MODELS BASED ON DESIGN COMPONENTS RELATIONSHIPS
Authors: ศีลภัทร ชาญเชี่ยว
Advisors: นครทิพย์ พร้อมพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nakornthip.S@Chula.ac.th,Nakornthip.S@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญของการออกแบบซอฟต์แวร์ ซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ภายในเอกสารข้อกำหนดการออกแบบสำหรับนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรม โดยการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้จะนำข้อมูลของแบบจำลองการออกแบบในขั้นตอนก่อนหน้า มาสร้างเป็นซีนาริโอของการใช้งานเพื่อการกำหนดโครงสร้างการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ ซึ่งมักประสบปัญหาเรื่องความไม่ต้องกันของแบบจำลองการออกแบบ และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการทวนสอบความต้องกันระหว่างส่วนต่อประสานผู้ใช้กับแบบจำลองการออกแบบ เพื่อให้ได้การออกแบบที่เป็นไปตามข้อกำหนดการออกแบบ วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการทวนสอบความต้องกันระหว่างส่วนต่อประสานผู้ใช้กับแบบจำลองการออกแบบด้วยกฎที่สร้างจากความสัมพันธ์ส่วนประกอบย่อย พร้อมทั้งพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนเพื่อการทวนสอบความต้องกันอย่างอัตโนมัติ กฎที่นำเสนอนั้นได้สร้างจากความสัมพันธ์ของส่วนประกอบย่อยของแบบจำลองที่ได้เลือกมา ประกอบด้วย แผนภาพยูสเคส แผนภาพคลาส คำอธิบายยูสเคส คำอธิบายคลาสแผนภาพวินโดว์เนวิเกชันและส่วนประกอบย่อยของส่วนต่อประสานผู้ใช้ ซึ่งสร้างเป็น 4 ความสัมพันธ์หลัก และ 2 ความสัมพันธ์ย่อย เพื่อนำไปสร้างเป็นกฎการทวนสอบความต้องกันได้ 76 รายการ การประเมินความครบถ้วนของความสัมพันธ์ของส่วนประกอบย่อยของแบบจำลองการออกแบบ และความถูกต้องในการระบุข้อผิดพลาดของกฎนั้น ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการประยุกต์ใช้กฎกับกรณีศึกษา การประเมินประสิทธิผลของเครื่องมือสำหรับการการทวนสอบความต้องกันที่ได้นำกฎไปประยุกต์ใช้นั้น ดำเนินการโดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากเครื่องมือ และจากการให้ผู้เชี่ยวชาญประยุกต์ใช้กฎด้วยการทำมือ ผลการทดลองพบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือสามารถสนับสนุนให้ผู้ใช้งานทวนสอบความต้องกันของส่วนประกอบย่อยของแบบจำลองการออกแบบ และระบุประเภทข้อผิดพลาดได้เหมือนกับการทวนสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ
Other Abstract: User interface design is an important process in a software development. It is a part of results in a design specification document for further use in a program development. Designing the user interface will bring design specification information from an early stage usually presented as design models to create use scenario development to determine user interface design structure. This usually results in the problem of the inconsistency between the design models and the user interface design. Therefore, this research provides a concept to verify consistency between design models and user interface design that fulfill the design specification. This research aims to propose a method for verifying the consistency between user interface designs and design models from the proposed rules construct from components relationships. In addition, a software tool was developed from the application of the rules for an automated consistency verification. The proposed rules were created from design model components and their relationships. The selected design models were consisted of a Use Case Diagram, a Class Diagram, a Use Case Description, a CRC Card, a Windows Navigation Diagram and user interface elements. The components of design modes and the components of user interface design elements were used to create four primary-relationships and two sub-relationships. Both were used to create 76 rules. The effectiveness evaluation of the developed software tool based on the proposed rules was performed by comparing the results from tool application and from manually done by experts. From the experiment, the result from the developed tool that supports the components consistency verification of the design models and defect identification was the same as experts.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50843
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670968021.pdf10.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.