Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51116
Title: การปรับปรุงระดับการให้บริการของธุรกิจซื้อมาขายไปสำหรับแบตเตอรี่ทดแทน
Other Titles: Service level improvement of trading business for rem battery
Authors: ผุสดี ม่วงทอง
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Paveena.C@Chula.ac.th,Paveena.C@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารงานโลจิสติกส์
การจัดการวัสดุ
อุตสาหกรรมแบตเตอรี่
Business logistics
Materials management
Battery industry
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระดับการให้บริการ (Service level) มีความสำคัญต่อธุรกิจซื้อมาขายไป โดยเฉพาะกับสินค้าประเภทที่ทดแทนได้ง่ายเช่น แบตเตอรี่ทดแทน ในปัจจุบันระดับการให้บริการ ของบริษัทกรณีศึกษาซึ่งดำเนินธุรกิจซื้อมาขายไปยังอยู่ในระดับต่ำ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการในการปรับปรุงระดับการให้บริการสินค้าแบตเตอรี่ทดแทนสำหรับบริษัทกรณีศึกษา จากการวิเคราะห์การดำเนินงานพบว่าความต้องการแบตเตอรี่ทดแทนมีความไม่แน่นอน และคาดการณ์ได้ยาก อีกทั้งระยะเวลานำของการสั่งซื้อแบตเตอรี่มีเวลานาน วิธีการปรับปรุงที่นำเสนอในงานวิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การออกแบบกระบวนการการสั่งซื้อสินค้าและการออกแบบกระบวนการพยากรณ์อุปสงค์ เพื่อให้มีสินค้าเติมเต็มตามความต้องการของลูกค้าได้ ในการทำวิจัยครั้งนี้ได้ประยุกต์แนวคิดระบบการสั่งซื้อสินค้าโดยใช้นโยบายระบบรอบเวลาสั่งซื้อคงที่ โดยได้มีการกำหนดรอบการสั่งซื้อ ระดับสินค้าคงคลังสูงสุดและระดับสินค้าปลอดภัย ในส่วนของกระบวนการการพยากรณ์ได้ประยุกต์ใช้กระบวนการวางแผนการขายและปฏิบัติการ มาใช้ในการพยากรณ์เชิงคุณภาพ ผลจากการจำลองสถานการณ์โดยใช้อุปสงค์เดียวกัน ในเดือน ม.ค. - ธ.ค. 2558 พบว่าการออกแบบระบบการสั่งซื้อรอบเวลาการสั่งคงที่ร่วมกับกระบวนการวางแผนการขายและปฏิบัติการ ทำให้ปริมาณสินค้าขาดมือจากนโยบายการสั่งซื้อปัจจุบันอยู่ที่ 33,173 ชิ้น มีปริมาณลดลงในนโยบายเสนอแนะที่ 16,013 ชิ้น โดยเปอร์เซนต์ปริมาณสินค้าขาดมือเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการอยู่ที่ 13.59% เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายปัจจุบันสินค้าขาดมือเฉลี่ยอยู่ที่ 31.22% โดยระดับสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 94.09% ทั้งนี้เพราะค่าอุปสงค์ที่มีความผิดปรกติ และระดับการให้บริการนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 76.80% เพิ่มสูงขึ้นเป็น 90.60% จากนั้นได้นำรูปแบบการพยากรณ์ที่นำเสนอไปปฏิบัติจริงตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2558 เป็นต้นมา โดยผลที่ได้รับคือ ค่าความคลาดเคลื่อน MAPE มีแนวโน้มของค่าความคลาดเคลื่อนลดลง โดยในเดือนธันวาคม ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 21.70% และในเดือนมีนาคม 9.28% และนำค่าพยากรณ์อุปสงค์ที่ได้จากการทดสอบจริงมาทำการจำลองสถานการณ์ร่วมกับนโยบายสั่งซื้อ ของช่วงเดือน ธ.ค.2558 - มี.ค. 2559 พบว่าปริมาณสินค้าขาดมืออยู่ที่ 2,070 ชิ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซนต์พบว่าสินค้าขาดมือเมื่อเปรียบเทียบกับอุปสงค์ที่เกิดขึ้นจริงมีเพียง 6.34%โดยที่ระดับการให้บริการสูงถึง 94.90%
Other Abstract: The purpose of this research is about service level improvement by using the scheme of fixed period system and forecasting demand to increase accuracy and fulfill customer’s demand. This research separate 2 steps, First for design the procedures of purchase, I have implemented “fixed period system”. and for second step design the procedure of forecasting demand is cultivate qualitative analysis in term of “Sales and Operation planning” also known as S&OP. The result of purchasing policy (third of testing) compare between current policy and fix period policy combine S&OP policy with the same demand situation, The result for shortage qty. from fix period are 16,013 EA, reduce from current policy shortage is 33,173 EA.Percent shortage is 13.59% for suggestion policy reduce from 31.22% for inventory level is increase 94.09% from current policy effect from un-usual high demand of promotion and also service level improved to 90.60% compared with current policy at 76.80% individually. For design the procedure of S&OP has been implement since December, 2015 onward. However, the index of variation MAPE based on the forecast has been reduced. In December, 2015, the average of index is 21.70% to average of index in March is 9.28%. Finally the research implement to simulation with combine process between Fix period system and S&OP for fulfill actual demand from December 2015 - March 2016, the result for shortage only 2,070 EA.Percent shortage is only 6.34% compare from request demand and service level at 94.90%
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51116
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.914
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.914
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787193920.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.