Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51129
Title: แนวทางการพัฒนาพื้นที่โล่งรอบอาคารพาณิชยกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ : กรณีศึกษาพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guidelines for the development of open spaces around commercial buildings for public use : a case study of Bangkok central business district
Authors: พิรุณพงศ์ จุลลางกูร
Advisors: ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nattapaong.P@chula.ac.th,natta.tokyo@gmail.com
Subjects: พื้นที่โล่ง
พื้นที่สาธารณะ
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Open spaces
Public spaces
Land use -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครขาดแคลนพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้ใช้งานได้อย่างอิสระ แต่กลับพบพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงพื้นที่สาธารณะกระจายตัวอยู่ในบริเวณศูนย์กลางเมืองที่มีความหนาแน่นรอบอาคารพาณิชยกรรมอย่างมีนัยยะ โดยพื้นที่เหล่านี้ถูกถือครองกรรมสิทธิ์โดยเอกชน โดยเปิดให้สาธารณะเข้าไปใช้งานได้ เรียกว่า พื้นที่โล่งรอบอาคารพาณิชยกรรม ทั้งที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจให้สาธารณะใช้งานก็ตาม ซึ่งพบว่าพื้นที่เหล่านี้ยังไม่ถูกใช้งานอย่างอเนกประโยชน์ คือ ใช้งานอย่างไม่เหมาะสม และไม่คุ้มค่าพอในการใช้งานอย่างสาธารณะ ไม่ส่งผลดีต่อสังคม และเศรษฐกิจ ภาคเอกชนจึงมักไม่ให้ความสำคัญกับพื้นที่เหล่านี้ ทางภาครัฐจึงมีมาตรการ การเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน(FAR Bonus) เป็นมาตรการเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะของเมืองโดยการจัดให้มีพื้นที่ว่างเพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะ หรือ Privately Owned Public Space (POPS) เพื่อให้พื้นที่ของเอกชนมีการออกแบบอย่างเหมาะสม ทั้งการเข้าถึงพื้นที่ การสัญจรผ่านพื้นที่ และการสร้างกิจกรรมการจับจองพื้นที่ แต่ยังไม่มีแนวคิดการออกแบบ (Design Guideline) ที่ชัดเจนเพื่อควบคุม?? จึงมีความสนใจที่จะศึกษาหารูปแบบการออกแบบพื้นที่เหล่านี้จากพื้นที่ศึกษาที่เข้าข่ายการเป็น POPS และ การหลักการออกแบบพื้นที่อเนกประโยชน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับสาธารณะ โดยงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาพื้นที่โล่งสาธารณะ ที่มีอยู่ในพื้นที่ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อดูรูปแบบที่มีอยู่ การออกแบบ และการใช้งานจริง เพื่อใช้ในการหาแนวทางการออกแบบต่อไป โดยพบว่าพื้นที่โล่งรอบอาคารพาณิชยกรรมเหล่านี้มีการกระจุกตัวใน 3 ย่าน คืนย่านการค้าสยาม-ประตูน้ำ ย่านธุรกิจสีลม-สาทร และอโศก-สุขุมวิท โดยมีการใช้งานต่างไปตามรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคาร โดยศึกษาประกอบกับข้อมูลด้านการออกแบบพื้นที่ พบว่าบริบทของเมือง ลักษณะทางกายภาพ และลักษณะการใช้งานมีความสัมพันธ์กัน จึงสามารถสรุปได้ว่าการให้ความสำคัญกับด้านองค์ประกอบอื่นๆของพื้นที่ พื้นที่สีเขียว และการเข้าถึง สามารถดึงดูดให้พื้นที่มีการใช้งานอย่างสาธารณะได้จริง และนำแนวทางการออกแบบที่พบนำไปเสนอเป็นการออกแบบเชิงกายภาพ และแนวคิดการออกแบบที่ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยมีรูปแบบแนวทางการออกแบบที่แตกต่างกันไปตามบริบทของเมือง และเพื่อออกแบบพื้นที่ตัวอย่าง
Other Abstract: Currently, Bangkok lacks of the public spaces which open for people to use independently. On the other hand, there are the spaces which look like the public space. These spaces spread in the central of city which crowded with commercial buildings. These spaces are owned by the individuals. They open the spaces for the public to use. These spaces called open spaces around commercial building. Including the spaces which seriously or even not seriously open for the public to use. The researcher found that these spaces are not multi – used. There are used unsuitably and also unworthily for the public usability. Moreover, the spaces does not providing any usefulness to the social and economy. Hence, private sector does not emphasize with these spaces. Therefore, the government sector has the measure of FAR Bonus which is the measure to increase public spaces of the city by provided the open spaces for public purposes. For the Privately Owned Public Space (POPS), this measure will make the private spaces to have an appropriate design. In other hand, they does not have a clear design guideline to control. So, they have an interest to study design pattern of these spaces. The design pattern that comes from the study spaces within the scope of POPS. Moreover, there is the design principle of useful spaces in order to maximize the benefits for public. This research will emphasize the study of open public spaces which are in Bangkok’s central business district. The purposes are to consider the existent pattern, design, and actual usability. Hence, the researcher will use the details to seek the design guidelines. The researcher found that these open spaces around commercial buildings have the integration in three districts which are business quarters named Siam, Silom - Sathorn, and Asok – Sukhumvit. The researcher studies the information including the detail of space design. The researcher found that the city’s context, physical description, and characteristic of usability have the relation. The researcher can conclude that the emphasis of other compositions of spaces, green field, and access can attract the spaces to have the actual public usability. Moreover, the researcher will take the founded design guideline to present in the physical design. Lastly, there is also the design idea which uses for spaces that have the same characteristic. These spaces have the different design guideline which follows the city’s context and also the sample space design.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51129
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.456
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.456
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873320025.pdf23.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.