Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51415
Title: สัมพันธบทข้ามสื่อและข้ามวัฒนธรรม เรื่อง “ริง” ในนวนิยาย ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และหนังสือการ์ตูน
Other Titles: Crossmedia and transcultural intertextuality of “Ring” in novel, film, television drama and manga
Authors: วิชยุตม์ ปูชิตากร
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Thiranan.A@Chula.ac.th
Subjects: บทภาพยนตร์
ภาพยนตร์ -- โครงเรื่อง
การดัดแปลงบทภาพยนตร์
วรรณกรรมญี่ปุ่น -- การดัดแปลงเป็นภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ภาพยนตร์สยองขวัญ
Motion picture plays
Motion pictures -- Plots, themes, etc.
Film adaptations
Japanese literature -- Film adaptations
Horror films
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะสัมพันธบทข้ามสื่อ เรื่อง “ริง” ในนวนิยาย ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และหนังสือการ์ตูน รวมถึงวิเคราะห์ลักษณะสัมพันธบทข้ามวัฒนธรรม เรื่อง “ริง” ในภาพยนตร์ญี่ปุ่น ภาพยนตร์เกาหลี และภาพยนตร์ฮอลลีวูด อีกทั้งวิเคราะห์ลักษณะเด่นของสัมพันธบททั้ง 2 ลักษณะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยแนวคิดต่างๆ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่ แนวคิดการเล่าเรื่อง แนวคิดประเภทของสื่อ แนวคิดสัมพันธบทและการดัดแปลง รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมกับการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสัมพันธบทข้ามสื่อ เรื่อง “ริง” ในนวนิยาย ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และหนังสือการ์ตูน มีการดัดแปลงตัวบทในหลายรูปแบบ ทั้งคงเดิม เพิ่มเติม ตัดทอน และปรับเปลี่ยน โดยการดัดแปลงนวนิยาย/เรื่องสั้นเป็นภาพยนตร์ มีการปรับเปลี่ยนแนวเรื่องและโครงเรื่องเป็นสำคัญ กล่าวคือ เปลี่ยนจากเรื่องแนวลึกลับสยองขวัญแบบพลังเหนือธรรมชาติ เป็นแบบภูตผีปีศาจเต็มตัว ซึ่งทำให้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมโครงเรื่องให้ขับเน้นความสยองขวัญมากขึ้นด้วย การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตัวบท โดยการผสมผสานเนื้อหาในนวนิยายเล่มแรกกับเล่มที่สองไว้ด้วยกัน ส่วนหนังสือการ์ตูนที่ดัดแปลงจากทั้งนวนิยาย/เรื่องสั้นและภาพยนตร์ มีการดัดแปลงในลักษณะที่ยังคงตัวบทไว้ตามต้นฉบับเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ลักษณะสัมพันธบทข้ามวัฒนธรรม เรื่อง “ริง” ในภาพยนตร์ญี่ปุ่น ภาพยนตร์เกาหลี และภาพยนตร์ฮอลลีวูด ก็มีการดัดแปลงตัวบทในหลายรูปแบบเช่นกัน อีกทั้งดัดแปลงตัวบทที่เป็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมร่วมด้วย สัมพันธบทข้ามสื่อ เรื่อง “ริง” มีลักษณะเด่นคือ มีการดัดแปลงรูปแบบในการนำเสนอให้เข้ากับธรรมชาติของสื่อที่ใช้นำเสนอ อีกทั้งมีการดัดแปลงเนื้อหาให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของสื่อนั้นๆ เช่นเมื่อดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ ก็มีการเพิ่มเติมรายละเอียดให้ผู้ชมที่มีความหลากหลายเข้าใจตรงกัน ส่วนสัมพันธบทข้ามวัฒนธรรม เรื่อง “ริง” มีลักษณะเด่นคือ มีการดัดแปลงบริบททางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงดัดแปลงเนื้อหา ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างออกไป เช่นเมื่อดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูด ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบริบทแวดล้อมให้เป็นตะวันตก มีการผสมผสานความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีปีศาจแบบซาตาน อย่างไรก็ตาม ต่างก็รักษาภาพจำร่วมกันอันกลายเป็นเอกลักษณ์ของเรื่องไว้
Other Abstract: This research aims to analyze the cross-media intertextuality of “Ring” in novel, film, television drama and manga and to analyze the transcultural intertextuality of “Ring” in Japanese film, Korean film and Hollywood film included with analysis of critical aspects of 2 types of intertextuality. This research used the qualitative research by applying the following concepts as the guidelines for analysis: narrative, media type, intertextuality and adaptation, and communication in society and culture. The research has found that the cross-media intertextuality of “Ring” in novel, film, television drama and manga was maintained, extended, reduced and modified. In the case of book-to-film adaptation, it was mainly modified plot and genre. Then book-to-television drama was adapted from two novel. Furthermore, book-to-manga and film-to-manga were maintained the text like original source. On the other hand, the transcultural intertextuality of “Ring” in Japanese film, Korean film and Hollywood film were maintained, extended, reduced and modified included with the concept of adapted social and cultural context. The critical aspect of the cross-media intertextuality of “Ring” was adapted in the form of presentations which depend on media nature and was adapted in text which depend on target group. On the other hand, the critical aspects of the transcultural intertextuality of “Ring” were adaptation in social and cultural context and text which depended on target group of each country.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51415
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1633
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1633
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wichayut_pu.pdf8.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.