Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5147
Title: บทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001
Other Titles: The role of non-state actors in Thai-Australian relations : a case study of the collaborative project on HIV/AIDS prevention and alleviation in Thailand, 1993-2001
Authors: จิรวัฒน์ สุขสโมสร
Advisors: ประทุมพร วัชรเสถียร
วิพุธ พูลเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Prathoomporn.V@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรค -- การป้องกันและควบคุม -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ
เอชไอวี (ไวรัส) -- ไทย
โรคเอดส์ -- ไทย
ออสเตรเลีย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย
ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ออสเตรเลีย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย ในด้านพัฒนาการของโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001 โดยมีวัตถุประสงค์ มุ่งเน้นศึกษามูลเหตุของการเกิดโครงการความร่วมมือ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ออสเตรเลียในโครงการไทยออสเตรเลียป้องกันเอดส์ภาคเหนือระหว่าง ปี ค.ศ. 1993-1997 และโครงการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ระหว่าง ปี ค.ศ.1997-2001 ในประเทศไทย เกิดจากบทบาทของประชาคมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้าน การแพทย์และสาธารณสุขในประเด็นปัญหาเอดส์ของทั้งสองประเทศเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเด็นปัญหาเอดส์ของทั้งสองประเทศ ในฐานะตัวแสดงที่มิใช่รัฐซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้เฉพาะในเรื่องหนึ่งๆ เป็นพิเศษและมีความเชื่อร่วมกัน โดยเฉพาะมีความรู้ถึงเหตุและผลของสภาพปัญหาเอดส์ อันนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและความตระหนักในประเด็นปัญหาเอดส์ที่ ตรงกันถึงสาเหตุและแนวทางการแก้ไข กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงกลายเป็นผู้มีบทบาทกระทำการระหว่างประเทศที่เข้ามาเสนอข้อเท็จจริง และมีบทบาทในการหาจุดร่วมเพื่อกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน โดยเฉพาะการนำข้อตกลงที่ได้จากการประสานนโยบายดังกล่าวเข้าไปสู่ การพิจารณาเพื่อกำหนดเป็นแผนปฎิบัติหรือนโยบายระหว่างประเทศร่วมกัน และนำนโยบายดังกล่าวไปปฎิบัติจนเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐในที่สุด ส่งผลถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของประเทศไทย ในช่วงเวลาดังกล่าวจนกระทั่งปัจจุบัน
Other Abstract: The research describes the Thai-Australian relations regarding the development of collaborative projects on HIV/AIDS prevention and alleviation in Thailand during 1993-2001. The author aims to study causes of collaborative projects that support and enhance Thai-Australian cooperation on HIV/AIDS prevention and alleviation. The projects were initiated by the role of medical and public health experts (epistemic community) on HIV/AIDS of both countries. The epistemic community is non-state actors that believed in the common cause and effect relationship and shared common values about AIDS issue. They bring about theories and observations into practical policy. They play big roles in identifying new problems and proposing solutions. As being transnational actors, they set the forms of cooperation and common objectives to which relevant policies should be addressed. They also implement, monitor and evaluate the collaborative projects. During these given years (1993-2001) the collaborative projects between Thailand and Australia have proved to successfully enhance the effectiveness on HIV/AIDS prevention and alleviation in Thailand even beyond the given period
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5147
ISBN: 9741714246
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirawat.pdf13.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.