Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51727
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The effectiveness of self-management support program for type 2 diabetes Mellitus Patients in Public Health Centers, Health Department, Bangkok Metropolitan Administration
Authors: ยุวนุช สัตยสมบูรณ์
Advisors: วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wiroj.J@Chula.ac.th
Vitool.L@Chula.ac.th
Subjects: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
เบาหวาน -- ผู้ป่วย
บุคลากรทางการแพทย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Self-care, Health -- Thailand -- Bangkok
Diabetics
Medical personnel -- Thailand -- Bangkok
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองที่ดำเนินการโดยบุคลากรด้านการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุขในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองในคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุม ศึกษาในศูนย์บริการสาธารณสุข 4 แห่งของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 20 ปีขึ้นไป มีระดับน้ำตาลสะสมตั้งแต่ร้อยละ7 ขึ้นไป และอาศัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร อาสาสมัครจำนวน 180 ราย ถูกสุ่มเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 90 ราย มาตรการทดลองใช้โปรแกรมสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลักสูตร 6 คาบตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ ดำเนินการโดยบุคลากรสุขภาพสหสาขา จัดประชุมกลุ่มย่อยทุก 2 สัปดาห์ 6 ครั้งและติดตามให้คำแนะนำทางโทรศัพท์ 2 ครั้งในสัปดาห์ที่ 10 และ 20 กลุ่มควบคุมได้รับบริการปกติที่ศูนย์บริการสาธารณสุขโดยพบแพทย์และพยาบาลเดือนละครั้ง เก็บข้อมูล3 ครั้งก่อนเริ่มการทดลองและในสัปดาห์ที่ 12และ 24 หลังเริ่มการทดลอง เพื่อประเมินผลลัพธ์ ได้แก่ ระดับน้ำตาลสะสม วัดความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ภาวะซึมเศร้า คุณภาพชีวิตด้านเบาหวาน และคุณภาพชีวิตทั่วไป ท้ายสุดเหลือข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้174 ราย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลสะสม ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมทั้งในทุกรอบการประเมิน แต่มีการเปลี่ยนแปลงของคะแนนการรับรู้ความสามารถในตนเอง (p=0.004) คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง (p<0.001) ภาวะซึมเศร้าลดลง(p<0.001)คุณภาพชีวิตด้านโรคเบาหวาน (p<0.001)และคุณภาพชีวิตทั่วไป (p<0.001) ในสัปดาห์ที่ 24 แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งดำรงอยู่หลังจากปรับผลของปัจจัยรบกวนแล้ว สรุป การใช้โปรแกรมสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีผลดีต่อการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะให้พิจารณานำโปรแกรมฯนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร
Other Abstract: The primary objective of this study was to assess the effectiveness of a health professional-led self-management program for type-2 diabetes mellitus (T2DM) patients in public health centers in Bangkok. A randomized controlled clinical trial was conducted in 4 public health centers under the Health Department of Bangkok Metropolitan Administration. The participants were T2 DM patients who have HbA1c ≥ 7 %, and live in Bangkok. A total of 180 participants were randomized, 90 subjects to each the intervention and control groups. The intervention was a module of 6-sessions empowerment-based self-management support program for T2 DM patients offered by health professional team, with group meeting for every two week and also telephone follow up at weeks10 and 20. The control group received usual care every month. The data were assessed at baseline, 12 and 24 weeks after starting the intervention. The outcomes of interest were; HbA1c, BMI and blood pressure, self efficacy, behavior of self care activities, depression and quality of life. The completed data of 174 participants were analyzed. Results showed that, no improvement on HbA1c level, systolic and diastolic blood pressures, or body mass index were found at any time of assessment. Significant improvements were however found at 24 weeks for self efficacy score (p=0.004), behavior of self care activities (p<0.001), depression score (p<0.001), diabetes specific quality of life (p<0.001) and general quality of life (EQ-5D) (p<0.001). These were true after adjusting for potential confounding effect. In conclusion, the self-management support program for T2 DM patients can improve self efficacy, self care behavior, reduce depression, and improve quality of life. Therefore, implementing the program is recommended for promoting the ability self care of T2 DM patients in public health centers in Bangkok.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51727
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1363
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1363
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
youwanuch_sa.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.