Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51741
Title: ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ : การศึกษาเชิงคุณภาพแบบสนทนากลุ่ม
Other Titles: Supportive factors and barriers to exercise behaviors of elderly
Authors: ดลนภา สร่างไธสง
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jiraporn.Ke@Chula.ac.th
Subjects: การออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
Exercise
Older people -- Thailand -- Bangkok
Exercise for older people
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายปัจจัยสนับสนุน อุปสรรคในการออกกำลังกายและกลวิธีใน การส่งเสริม และจัดการกับอุปสรรคในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group study) ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มได้รับการคัดเลือก แบบเฉพาะเจาะจงได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในสังกัด กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการสนทนาเป็น 2 แบบ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ 4 กลุ่ม และกลุ่มผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ 5 กลุ่ม รวมจำนวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการ สนทนากลุ่มทั้งสิ้นจำนวน 69 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยสนับสนุนในการออกกำลังกายแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ ปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยภายในตน ได้แก่ ความต้องการทางด้านสุขภาพ และความต้องการทางด้านจิตสังคม ส่วนปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ การไม่มีภาระ รูปแบบการออกกำลังกายที่ตรงกับความต้องการ สถานที่ออกกำลังกายที่เหมาะสม และแรงสนับสนุนจากบุคคลอื่น อุปสรรคในการออกกำลังกายแบ่งเป็น อุปสรรคจากปัจจัยภายในตน ได้แก่ ข้อจำกัดด้านร่างกาย ความเชื่อ/ความเข้าใจในการออกกำลังกาย และความรู้สึกทางลบต่อการออกกำลังกาย และอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ได้แก่ การมีภาระหน้าที่ รูปแบบกิจกรรมการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม การไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สถานที่และ การเดินทางที่ไม่เอื้ออำนวย กลวิธีในการส่งเสริมและจัดการกับอุปสรรคในการออกกำลังกาย แบ่งเป็น การจัดการกับปัจจัยภายใน และการจัดการกับปัจจัยภายนอก ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ค้นพบปัจจัยสนับสนุน อุปสรรคในการออกกำลังกาย กลวิธีในการส่งเสริมและจัดการกับอุปสรรคในการออกกำลังกายของ ผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมการออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมทั้งเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุให้มีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นด้วย
Other Abstract: The purpose of this study was to explore supportive factors, barriers and strategies to promote exercise among the elderly lived in Bangkok Metropolitan. Qualitative research method by focus group study was applied as a methodology of this study. Nine focus-group were implemented with sixty nine participants recruited from the elderly clubs of Bangkok Metropolitan Administration. Of nine focus-groups, five were the groups of regularly exercise elderly and four were the irregularly exercise elderly. Content analysis was used as analysis method. There were two supportive factors related to exercise of elderly. First, intrinsic factors which were the needs of the elderly to be healthy and psychosocial needs. The second extrinsic factors were, free from family and career responsibility, exercise program flavorable for the elderly, place for exercise and supports from others. The barriers to exercise comprised with two factors; intrinsic and extrinsic barriers. Intrinsic barriers were physical limitation, belief/understanding in exercise and negative attitude. Extrinsic barriers were family and career reponsibility, improper exercise programs, lack of family supports, and difficulty in accessibility to the place for exercise. The strategy of promoting exercise among elderly was to manage intrinsic and extrinsic factors. The result of this study provided insight and understanding of supportive factors, barriers and the strategy to promote exercise among elderly living in Bangkok Metropolitan. Moreover this study served for the plan to promote exercising program among the elderly which aimed for the efficiency and increase number of elderly participating in exercise.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51741
URI: http://doi.org/10.14457/CU.res.2006.36
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.res.2006.36
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
dolnapha_sr_front.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
dolnapha_sr_ch1.pdf838.89 kBAdobe PDFView/Open
dolnapha_sr_ch2.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open
dolnapha_sr_ch3.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
dolnapha_sr_ch4.pdf5.18 MBAdobe PDFView/Open
dolnapha_sr_ch5.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
dolnapha_sr_back.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.