Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52163
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิชen_US
dc.contributor.authorชุติวัลย์ พลเดชen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:01:24Z-
dc.date.available2017-03-03T03:01:24Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52163-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 4 คน ผู้บริหารทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 3 คน พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 9 คน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเรื้อนจำนวน 3 คน และนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูความพิการในผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 1 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสอบถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับสมรรถนะที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม นำมาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อรายการสมรรถนะในแต่ละด้านที่เกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และหาค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์คำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย 1. สมรรถนะด้านการคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ประกอบด้วย 4 รายการสมรรถนะย่อย 2. สมรรถนะด้านการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่นำไปสู่การเกิดความพิการของอวัยวะที่สำคัญในผู้ป่วยโรคเรื้อน ประกอบด้วย 10 รายการสมรรถนะย่อย 3. สมรรถนะด้านการป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อน ประกอบด้วย 13 รายการสมรรถนะย่อย 4. สมรรถนะด้านการให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคเรื้อนและญาติเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ประกอบด้วย 4 รายการสมรรถนะย่อย 5. สมรรถนะด้านการให้คำปรึกษาและให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคเรื้อนและครอบครัว ประกอบด้วย 7 รายการสมรรถนะย่อยen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of research aims to describe competency of leprosy nurse , using Delphi technique. Participants were 20 leprosy experts including 4 leprologist , 3 chief nurses executive of leprosy 9 clinical nurses specialist of leprosy , 3 public health officers specialist of leprosy and 1 physiotherapist specialist of leprosy. The Delphi technique consisted of 3 steps : 1st step began with an open questions which all experts were asked to describe the competencies of leprosy nurses , 2nd step data from the first round were analyzed using content analysis for develop the rating scale questionnaire. All items in the questionnaire were ranked the level of competency by the prior panel of experts. In 3rd step , data were analyzed by using median and interquartile range to develop a new version of the questionnaire. The new questionnaire was sent to previous experts for confirming. Data were analyzed by using median and interquartile range to summarize the study. The competeny of leprosy nurse were consisted of 5 domains as follow: 1. The screening in new case leprosy competency consists of 4 items. 2. The monitoring to detect disability in leprosy patient competency consists of 10 items. 3. The detection of disability and rehabilitation in leprosy patient competency consists of 13 items. 4. The education in leprosy patient and family competency consists of 4 items. 5. The consultation and encouragement in in leprosy patient and family competency consists of 7 items.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.150-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคเรื้อน-
dc.subjectพยาบาล-
dc.subjectสมรรถนะ-
dc.subjectPerformance-
dc.subjectNurses-
dc.subjectLeprosy-
dc.titleสมรรถนะพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนen_US
dc.title.alternativeCOMPETENCY OF LEPROSY NURSEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuvinee.W@Chula.ac.th,suvinee_n@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.150-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577323336.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.