Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52211
Title: การคัดแยกราย่อยสลายพาราควอตและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง
Other Titles: Isolation of paraquat degrading fungi and related enzymes
Authors: ฐิตาภา ช่วยคงทอง
Advisors: ปาหนัน เริงสำราญ
อภิชาติ กาญจนทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Panan.R@Chula.ac.th,pananr@yahoo.com,pananr@yahoo.com
Aphichart.K@Chula.ac.th,i_am_top@hotmail.com
Subjects: พาราควอท
ยากำจัดศัตรูพืช -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Paraquat
Pesticides -- Biodegradation
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การคัดแยกราที่มีความสามารถในการย่อยสลายพาราควอต โดยเก็บตัวอย่างราจากดิน เศษไม้ หรือตัวอย่างเห็ด ผลการทดลองสามารถคัดแยกราได้ทั้งหมด 79 ไอโซเลต เมื่อพิจารณาความสามารถในการเจริญบนอาหารแข็งที่มีส่วนผสมของพาราควอต 0.3 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับความสามารถในการผลิตเอนไซม์ในกลุ่มลิกนิโนไลติก อันได้แก่ ลิกนินเปอร์ออกซิเดส แมงกานีสเปอร์ออกซิเดส และแลคเคส บนอาหารแข็งที่มีสารทดสอบที่บ่งบอกถึงชนิดของเอนไซม์ที่ราผลิตแล้ว พบว่ารา 17 ไอโซเลตมีความสามารถเหล่านี้ นำรากลุ่มนี้มาทดสอบโดยการเพิ่มความเข้มข้นของพาราควอตให้มากขึ้นเป็น 0.4, 0.5 และ 0.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพบว่ามีรา 5 ไอโซเลตที่มีความสามารถในการทนพาราควอตได้สูงถึง 0.6 เปอร์เซ็นต์ จากการพิสูจน์เอกลักษณ์โดยอาศัยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS พบว่าราที่แยกได้ ได้แก่ PQ3, PQ5, PQ6, A319 และ P279 มีความคล้ายคลึงกับราต่างๆ ได้แก่ Nodulisporium sp., Neosartorya fischeri, Hypoxylon fragiforme, Phoma sp. และ Setosphaeria rostrate ตามลำดับ ที่ระดับความเหมือน 99-100 เปอร์เซ็นต์ รา 2 ไอโซเลตที่แยกได้ แสดงความสามารถในการย่อยสลายพาราควอตในอาหารเหลวได้ดีที่สุด นั่นคือ ราไอโซเลต PQ5 ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 30 วัน ราสามารถย่อยสลายพาราควอตได้ประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีพาราควอตเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ โดยพบกิจกรรมของแมงกานีสเปอร์ออกซิเดสและแลคเคสสูงที่สุดที่ 34.28 และ 22.39 ยูนิต/ลิตร ตามลำดับ ไอโซเลต A319 สามารถย่อยสลายพาราควอตได้ประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีพาราควอตเข้มข้น 0.01 เปอร์เซ็นต์ และพบกิจกรรมของแมงกานีสเปอร์ออกซิเดสและแลคเคสสูงที่สุดที่ 117.76 และ 214.52 ยูนิต/ลิตร ตามลำดับ เมื่อตรวจสอบการย่อยสลายพาราควอตในดินพบว่า ไอโซเลต A319 สามารถเจริญในดินทดสอบที่มีพาราควอตได้ แต่ไม่พบการลดลงของพาราควอตในดิน ส่วนไอโซเลต PQ5 สามารถย่อยพาราควอตที่ความเข้มข้น 250 ppm ในดินปลอดเชื้อได้ 12.25 เปอร์เซ็นต์ แต่ราและกิจกรรมในการย่อยสลายพาราควอตอาจถูกยับยั้งโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติที่มีอยู่ในดิน Neosartorya fischeri PQ5 ที่แยกได้ซึ่งมีศักยภาพในการลดปริมาณพาราควอตได้ดีควรมีการศึกษากลไกการย่อยสลายพาราควอตเพิ่มเติมเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายพาราควอตในสภาพธรรมชาติต่อไป
Other Abstract: The aim of this study is to isolate paraquat degrading fungi from soil, piece of wood, or mushroom samples. Seventy-nine isolates were obtained. Considering the ability to grow on agar plate containing 0.3% paraquat and to produce ligninolytic enzymes i.e. lignin peroxidase, manganese peroxidase, and laccase when growing on agar medium containing chromogenic substances, it was found that 17 isolates had these abilities. These fungal isolates were further tested with increasing amount of paraquat at 0.4%, 0.5%, and 0.6%. The Results showed that 5 isolates could tolerate up to 0.6% paraquat. Identification based on morphological characteristics and ITS nucleotide sequences revealed that isolate PQ3, PQ5, PQ6, A319 and P279 had close similarity to Nodulisporium sp., Neosartorya fischeri, Hypoxylon fragiforme, Phoma sp. and Setosphaeria rostrate, respectively, with 99-100% identity. Two isolates, PQ5 and A319, showed high paraquat degradation ability in liquid culture. Isolate PQ5 showed 37% degradation of 0.02% paraquat in 30 days with the presence of manganese peroxidase and laccase activity at 34.28 and 22.39 Unit/liter, respectively. Isolate A319 showed 37% degradation of 0.01% paraquat in 30 days with the presence of manganese peroxidase and laccase activity at 117.76 and 214.52 Unit/liter, respectively. Investigating of paraquat degradation in soil illustrated that isolate A319 was able to grow well in paraquat-bearing soil, but unable to reduce the paraquat. Isolate PQ5 showed potential to degrade 250 ppm of paraquat in sterile soil at 12.25 %; however, the fungus and its enzyme activity might be inhibited by native microorganisms in non-sterile soil. Neosartorya fischeri PQ5 that obtained from this study which have potential to reduce paraquat should be further studied for their optimal conditions in order to degrade paraquat in an actual environment condition.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52211
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.324
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.324
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672159023.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.