Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52366
Title: การสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีศึกษาโนรายก ชูบัว
Other Titles: The Transmission of Nora for the Preservation of Folk Culture: A Case Study of Yok Chubua
Authors: พัทธานันท์ สมานสุข
Advisors: พรทิพย์ อันทิวโรทัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Porntip.A@Chula.ac.th,anporn1@yahoo.com
Subjects: โนรา
Nora (Thai dance drama)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของโนรา 2) เพื่อวิเคราะห์การสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีศึกษาโนรายก ชูบัว 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสารสนเทศ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 40 คน จำแนกเป็นกลุ่มบุคลลร่วมสมัย 10 คน กลุ่มผู้แสดง 10 คน กลุ่มผู้ชม 10 คน และกลุ่มศิษย์เก่า 10 คน และตรวจสอบร่างแนวทางการสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญโนรา 7 คน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 4 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณค่าของโนรามี 6 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ทำให้สรีระแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดี มีรูปร่างกำยำและบึกบึน เป็นที่น่าเกรงขาม 2) ด้านจิตใจ ทำให้มีสมาธิดี จิตใจได้ผ่อนคลาย ช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น มีจิตใจที่ละเอียดอ่อนละเมียดละไม เป็นการใช้โนราเพื่อกล่อมเกลาจิตใจทั้งผู้ชมและผู้แสดง 3) ด้านสุนทรียศาสตร์ สัมผัสได้จากท่ารำที่สง่างามทรงพลัง แฝงด้วยคติธรรม ความเชื่อและภูมิปัญญา รวมถึงชุดลูกปัดโนราและดนตรีที่มีท่วงทำนองกระฉับกระเฉงและเร้าใจ 4) ด้านจริยศาสตร์ เป็นการสอนผ่านบทกลอนโนราที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักและหยั่งรู้ นำไปสู่การยกระดับเพื่อการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 5) ด้านหัตถศิลป์ เห็นได้จากเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่มีสีสันฉูดฉาด สร้างสรรค์เป็นงานศิลป์เฉพาะตัว 6) ด้านวรรณศิลป์ เห็นได้จากบทกลอนโนราที่ใช้ภาษาถิ่น เข้าใจง่ายและมีหลากหลายรูปแบบ เช่น กลอนสี่ กลอนหก กลอนแปด กาพย์ยานี 11 2. การสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีศึกษาโนรายก ชูบัว พบว่า ครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา วิธีสอนเน้นทักษะ 4 ด้าน คือ การรำ การร้อง การทำบทและการเล่นเป็นเรื่อง วิธีสอนเฉพาะตัวของท่าน คือ รวบการรำและการร้องไปพร้อมกันเพื่อความรวดเร็ว กิจกรรมการเรียนรู้นิยมให้ผู้เรียนแต่งกลอนและการว่ามุตโตโนราตามแบบของท่าน 3. แนวทางการสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน ควรดำเนินการผ่านระบบการศึกษา 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสภาวัฒนธรรมตำบล แนวทางการสืบทอดผ่านการศึกษาในระบบ ได้แก่ เพิ่มชั่วโมงเรียนโนรามากขึ้นในวิทยาลัยนาฏศิลป ผลิตครูโนราให้เพียงพอกับความต้องการ บูรณาการโนราในรายวิชาต่างๆ จัดกิจกรรมโนราทั้งในและนอกสถานศึกษา จัดตั้งกองทุนศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับโนรา แนวทางการสืบทอดผ่านการศึกษานอกระบบ ได้แก่ จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น เปิดโปรแกรมการเรียนการสอนอาชีพ เช่น การรำแก้บน การทำเทริด การผลิตชุดเครื่องลูกปัดโนรา การประดิษฐ์โนราจำลอง แนวทางการสืบทอดผ่านการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ สร้างเครือข่ายออนไลน์ “โนราเพื่อการดำรงอยู่” ผลิตสื่อการเรียนการสอนโนราโดยการใช้มัลติมีเดียหรือสื่อประสมเพื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย เช่น อินโฟกราฟฟิก แบบเรียนการ์ตูนโนรา เป็นต้น และนำไปเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ รวมทั้งระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมโนรา โดยมีสภาวัฒนธรรมจังหวัดและสภาวัฒนธรรมตำบลเป็นหลัก ส่งผลให้โนราดำรงอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้อย่างยั่งยืนสืบไป
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to analyze the value of Nora; 2) to analyze transmission of Nora for the preservation of folk culture: a case study of Yok Chubua; and 3) to propose guidelines for the transmission of Nora for the preservation of folk culture. The qualitative data collection consists of articles, observations and in-depth interviews. Forty people were interviewed, including 10 contemporary people, 10 performers, 10 audiences and 10 alumni. And investigate the transmission of Nora for preservation of folk culture by discussion with 7 Nora experts and interview with 4 cultural and educational technology experts. The findings were as follows: 1. There were 6 values of Nora. 1) Nora physical values helped improve physical strength and circulation, resulting in a well-built body. 2) Nora mental values helped improve concentration and mental wellbeing, resulting in a blissful mind. Nora helped cultivate the mind of the performers and the audience. 3) Nora aesthetic values were apparent in the gracious and powerful dancing poses, beads, and heavy rhythm displaying teachings, beliefs, and wisdoms. 4) Nora ethical values were taught through verses explaining moral and ethics that allowed learners to gain insights, leading to self-actualization. 5) Nora craftsmanship values were apparent in the colorful costumes and ornaments which were one of a kind craftsmanship. 6) Nora literary values were apparent in Nora verses using clear local dialects and different prosodies, including 4 syllable poems, 6 syllable poems, 8 syllable poems, and 11 syllable poems. 2. The transmission of Nora for the Preservation of Folk Culture: A Case Study of Yok Chubua covered 3 education streams, including formal education, non-formal education, and informal education. Most learners are in primary education. The teaching methods focused on 4 skills, including dancing, singing, writing, and role playing. His iconic teaching method was combining dancing and singing for time-saving purposes. The learning activities focused on imitating his poem’s composition style and Mutto recitation. 3. The transmission of Nora for the Preservation of Folk Culture should be accomplished through 3 education streams, including formal education, non-formal education, and informal education. This should be coherent with strategies of Sub-District Cultural Councils. Proposed guidelines for formal education was to increase teaching lessons on Nora in The College of Dramatic Arts to train more Nora teachers to serve the demand. Nora content should be integrated in other courses. Nora events, both on-campus and off-campus, should be organized. Arts and Culture Funds should be established. Researches on Nora should be supported. Proposed guidelines for non-formal education include short courses and occupation training programs, such as dance offerings, headdress making, bead making, and Nora puppet making. Proposed guidelines for informal education included online assembly on “Nora for the Preservation of Folk Culture” to produce technologically-advanced teaching multimedia for contemporary learning, such as infographics and Nora visual textbooks. The media should be shared online. There should be collaborations among institutions, led by Provincial Cultural Councils and Sub-District Cultural Councils, to promote Nora activities for the transmission of Nora for the preservation of folk culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52366
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.680
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.680
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783345227.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.