Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52411
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายโดยมีความตั้งใจในการออกกำลังกายเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการวางแผนรอบด้านเป็นตัวแปรกำกับ
Other Titles: Associations between exercise efficacy and exercise behavior : a mediated role of exercise intention and a moderated role of deliberate plan
Authors: นภภร จิวะรังสินี
Advisors: พรรณระพี สุทธิวรรณ
เรวดี วัฒฑกโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Panrapee.S@Chula.ac.th,cpanrapee@yahoo.com
Rewadee.W@chula.ac.th
Subjects: การออกกำลังกาย
Exercise
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีความตั้งใจในการออกกำลังกายเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการวางแผนรอบด้านเป็นตัวแปรกำกับ โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีอายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวน 389 คน มีความตั้งใจในการออกกำลังกาย และตอบแบบสอบถาม 2 ครั้งที่ระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับด้วยวิธีการตรวจสอบตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (mediated moderation) ผลงานวิจัยพบว่า 1). ผู้เข้าร่วมงานวิจัยร้อยละ 82 .8 เป็นผู้ที่สามารถออกกำลังกายได้ตามที่ตั้งใจไว้ 2). การรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกาย สามารถทำนาย พฤติกรรมการออกกำลังกายได้โดยตรง (β = .11, p < .05) และสามารถทำนาย พฤติกรรมการออกกำลังกาย ทางอ้อมผ่าน ความตั้งใจในการออกกำลังกาย (β = .09, p < .01) 3). การวางแผนรอบด้านในการออกกำลังกาย ไม่เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่าง ความตั้งใจในการออกกำลังกาย กับ พฤติกรรมการออกกำลังกาย แต่การวางแผนรอบด้านในการออกกำลังกาย สามารถส่งอิทธิพลไปยัง พฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้โดยตรง (β = .22, p < .01) 4). ความตั้งใจในการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกาย และ การวางแผนรอบด้านในการออกกำลังกาย สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ 31 % จึงสรุปได้ว่า ความตั้งใจในการออกกำลังกาย เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกาย แต่ไม่เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจในการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกาย ผลงานวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อให้ ผู้ที่สามารถออกกำลังกายได้ตามที่ตั้งใจ มีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นได้ โดยการสร้างเสริมให้บุคคลมั่นใจมากขึ้นว่าตนสามารถออกกำลังกายได้ และฝึกการวางแผนอย่างรอบด้านเพื่อลดอุปสรรคในการออกกำลังกาย
Other Abstract: This study aimed to examine a mediated role of exercise intention in a associations between exercise-efficacy and exercise behavior and a moderated role of deliberate plan in a associations between exercise intention and exercise behavior in university students. The data was collected in exercise intenders who answered questionnaires both times. The participants in this study were 389 students aged between 18 - 24 years. The results from using mediated moderation analysis were shown that 1). 82% of participants in this research were exercise regularly 2). exercise-efficacy could predict exercise behavior directly (β = .11, p < .05) and could predict exercise behavior throught exercise intention (β = .09, p < .01) 3). deliberate plan did not moderate the relation between exercise intention but exercise behavior and deliberate plan could predict exercise behavior directly (β = .22, p < .01) 4). exercise intention, exercise-efficacy, and deliberate plan could explain 31% of exercise behavior variances. To conclude, exercise intention mediated the relation between exercise-efficacy and exercise behavior but deliberate plan did not moderate relation between exercise intention and exercise behavior. This result suggested that exercise intervention could promote exercise behavior only in exercisers who could exercise as intended. The intervention should enhance exercise-efficacy and deliberate plan to promote exercise behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52411
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.303
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.303
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877616538.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.