Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52855
Title: ความผิดปกติทางเพศของหอยทะเลฝาเดียวที่เกิดจากสารป้องกันการเกาะติดของสิ่งมีชีวิตในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ระยะที่ 2 : ศึกษาปริมาณการปนเปื้อนของสารบิวทิลทินในดินตะกอน และในหอยทะเลฝาเดียว
Other Titles: Occurrence of imposex in marine gastropods due to antifouling chemicals along the eastern seaboard of the Gulf of Thailand, 2nd phase: study of the contamination of butyltin compounds in sediments and marine gastropods
Authors: ณิชยา ประดิษฐ์ทรัพย์
Email: nichaya.p@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
Subjects: หอยกาบเดียว -- ไทย (ภาคตะวันออก)
ความผิดปกติทางเพศ
เพศ (ชีววิทยา)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาปริมาณสารบิวทิลทินในดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย จำนวน 12 สถานี ตั้งแต่ อ่างศิลา จ.ชลบุรี ถึงเกาะช้าง จ.ตราด ช่วงปี พ.ศ. 2554 พบปริมาณสารบิวทิลทินรวมในดินตะกอนมีค่าอยู่ระหว่าง น้อยกว่า 1 ถึง 44.7 นาโนกรัมต่อกรัม (น้ำหนักเปียก) ส่วนใหญ่พบเป็นสารโมโนบิวทิลทิน (MBT) ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง น้อยกว่า 1 ถึง 32.5 นาโนกรัมต่อกรัม รองลงมาคือ สารไตรบิวทิลทิน (TBT) และไดบิวทิลทิน (DBT) ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง น้อยกว่า 1 ถึง 12.2 นาโนกรัมต่อกรัม (น้ำหนักเปียก) และน้อยกว่า 1 ถึง 7.1 นาโนกรัมต่อกรัม (น้ำหนักเปียก) ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในก่อนหน้านี้พบว่ามีแนวโน้มของการปนเปื้อนของสารไตรบิวทิลทินที่น้อยลง นอกจากนี้ได้ศึกษาปริมาณการปนเปื้อนในหอยทะเลฝาเดียวบางชนิด (Nassarius sp. และ Chicoreus capucinus) พบมีค่าการสะสมของสารบิวทิลทินอยู่ระหว่างน้อยกว่า 1 ถึง 238 นาโนกรัมต่อกรัม (น้ำหนักเปียก) ทั้งนี้ยังพบว่าปริมาณสารบิวทิลทินในหอยทะเลฝาเดียวมีแนวโน้มสัมพันธ์กันเชิงบวกกับปริมาณสารบิวทิลทินในดินตะกอน
Other Abstract: Concentrations of monobutyltin (MBT), dibutyltin (DBT) and tributyltin (TBT) compounds were analyzed in sediment samples collected from twelve stations along the eastern seaboard of the Fulf of Thailand. The total butyltin (EBTs) concentrations ranged between <1 and 44.7 ng/g (wet wt). The overall concentration ranges found in the sediments were <1 -32.5 ng/g for MBT, <1-7.1 ng/g for DBT, and <1-12.2 ng/g for TBT, on a wet weight basis. MBT generally prevailed in most of the samples, suggesting the occurrence of old inputs of butyltin compounds in the area. Butyltin compounds were also measured in some marine gastropods, such as Nassarius sp. and Chicoreus capucinus, where EBTs concentrations were found to range between <1 to 238 ng/g (wet/wt). The level of butyltin compounds in gastropod in gastropod tissue samples tends to be related with that of the sediments and percentage of imposex incidence.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52855
Type: Technical Report
Appears in Collections:Aqua - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nitchaya_pr2554.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.