Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53078
Title: การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทรตามความร่วมมือระหว่างกรมธนารักษ์กับการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
Other Titles: The monitoring and evaluation of baan aue-ar-thorn project under the cooperation of the treasury department and the national housing authority : a case study of baan aue-ar-thorn for navies and naval officers Project in Satthahip, Cholburi
Authors: ชัยสิทธิ์ ทิพางค์กุล
Advisors: ชวลิต นิตยะ
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chawalit.N@Chula.ac.th
kpanitchpakdi@yahoo.com
Subjects: บ้านเอื้ออาทร -- ไทย -- ชลบุรี
การเคหะ
ทหารเรือ -- ที่อยู่อาศัย
Baan Aue-ar-thorn -- Thailand -- Cholburi
Housing authorities
Navies -- Dwellings
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นโครงการนำร่องที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กรมธนารักษ์ การเคหะแห่งชาติ และกองทัพเรือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยการนำที่ราชพัสดุขนาดพื้นที่ประมาณ 97 ไร่ มาจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรในรูปแบบของบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาดเนื้อที่ 40 ตารางวา จำนวน 492 หน่วย โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อติดตามและประเมินผลตามแผนงาน โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างของกองทัพเรือสัตหีบ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จ และปัญหา/อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินการของโครงการในลักษณะเดียวกันต่อไป จากการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ พบว่า ผลการดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามเป้าหมายในการจัดทำที่อยู่อาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือจำนวน 492 หน่วย แต่มีความล่าช้า และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การก่อสร้างโครงการมีล่าช้ากว่าแผนการดำเนินงานที่การเคหะแห่งชาติได้กำหนดไว้เป็นเวลานานถึง 2 ปี 2 เดือน ทำให้โครงการเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 และปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการบรรจุผู้เข้าอยู่อาศัย นอกจากนั้นยังพบว่า มีผู้จองโครงการขอสละสิทธิ์ในการเข้าอยู่อาศัยเป็นจำนวนมากถึง 2 ใน 3 ของจำนวนหน่วยก่อสร้างทั้งหมด โครงการประสบปัญหาที่สำคัญ 2 ด้านหลักๆ ได้แก่ (1) ด้านการก่อสร้าง จากปัจจัยที่ผู้รับจ้างรับงานหลายโครงการในเวลาเดียวกัน ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินและขาดเงินทุนหมุนเวียนในการก่อสร้าง ไม่สามารถทำการก่อสร้างโครงการได้แล้วเสร็จตามสัญญา (2) ด้านผู้จองโครงการ เมื่อเริ่มโครงการมีผู้จองเกินจำนวนหน่วยก่อสร้างแต่เมื่อแล้วเสร็จมีบ้านเหลือ 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยก่อสร้างทั้งหมด ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายๆ ด้าน ได้แก่ 1) ความล่าช้าในการก่อสร้างส่งผลให้ค่าผ่อนชำระค่าบ้านสูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทำให้ของผู้จองบางส่วนบ้านไว้ไม่สามารถรับภาระในส่วนนี้ได้ 2) รูปแบบบ้านที่คับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3) การที่ข้าราชการทหารต้องมีการโยกย้ายหน่วยงานอยู่บ่อยครั้ง 4) การประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่ไม่ต่อเนื่อง/ทั่วถึงและ 5) ปัจจัยในด้านของปัญหาในครอบครัว เช่น ไม่สะดวกในการย้ายมาอยู่ด้วยประเด็นสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานของโครงการไม่เป็นไปตามแผนงานและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ ขาดการประสานงานและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ขาดการศึกษาด้านอุปสงค์-อุปาทานที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ขาดการติดตามและประเมินผล การขาดหลักการในการบริหารความเสี่ยงของโครงการ เช่น ไม่มีการวางแผนรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โครงการไม่ประสบผลสำเร็จ และสุดท้ายภาครัฐ หรือการเคหะแห่งชาติจะต้องเป็นผู้ที่จะรับภาระทั้งหมดที่โครงการขายไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งหากคิดเป็นจำนวนเงินแล้ว การเคหะฯ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านที่ไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยเป็นจำนวนเงินประมาณ 2,000 บาท / หน่วย / เดือน ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษา โครงการบ้านเอื้ออาทรตามความร่วมมือระหว่างกรมธนารักษ์และการเคหะแห่งชาติ เป็นการจัดทำโครงการที่เร่งด่วน ทำให้ขาดการศึกษาและวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ดังนั้น การดำเนินโครงการในลักษณะนี้ในอนาคต ควรจะต้องมีการประสานงานและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยเฉพาะในด้านอุปสงค์-อุปาทานให้ชัดเจนก่อนการกำหนดโครงการ มีการติดตามผลการทำงานทุกขั้นตอนเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการ และมีการวางแผนรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การสร้างรูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยบนที่ดินราชพัสดุอย่างยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: The Baan Aue-Ar-Thorn project for navy officers at Satthahip, Chonburi is the pilot project under the cooperation of the Treasury Department, the National Housing Authority and the Royal Thai Navy. The objective of the Baan Aue-Ar-Thorn project is to provide personal accommodation for the navy officers in order to improve their quality of life. Ninety-seven Rai of the royal property is used to as a land to build this project of 492 units of two-storey house in forty square wah. This project was started in 2004. However, currently there is no resident living in the project. Consequently, this research aims to 1) monitor and evaluate the plan of the Baan Aue-Ar-Thorn project for the navy officers; and 2) analyse the factors contributing to success as well as problems/barriers in order to develop the plan for the future project. According to the monitoring process, it was found that the project achieved its objective in providing 492 units of accommodation for the navy officers. Nevertheless, there was a delay and the objective might not be completely met. The completion of the project was completed later than expected for 2 years and 2 months. Therefore, the project was completed at the end of the year 2006. At present, it is in the stage of residents moving in. In addition, it was found that two-third of people who made the reservation for this project cancelled their reservation. This is as a result of 1) construction factor: the contractors were responsible for several projects at the same time and lacked cash flow in construction process and they were unable to finish the project as specified in the contract. 2) The potential resident who reserved the unit: there was excessive number of people reserving the unit. Yet, when the project was completed, there were one-third of the units left. The results of the second factor are as followed: First, because of the delay of the project completion, installment and interest rates became higher for the time being. Subsequently, they were not able to pay for the higher cost. Second, limited space of a unit was not enough to serve family members. Third, the policy of the navy officers required them to frequently move around to other provinces. Forth, there were no adequate and ongoing public relations to circulate the news. Lastly, convenience of family members to move in was also a problem. Some important factors deterring the project completion as planned include lack of cooperation and systematic process of related parties, lack of the study of demand and supply of the target customers, lacks of monitoring and evaluation, lack of risk management approach for the project such as plan for possible risk. These factors could be the significant factors to the project failure. In the end, the government section or the National Housing Authority is likely to be responsible for the unsold units. The National Housing Authority may need to pay 2,000 Baht per unit per month for housing maintenance of the vacant unit. With reference to the study, this Aue-Ar-Thorn Project was conducted rapidly. Consequently, there was no careful study and systematic process. As a result, the related parties should have explicit and concrete cooperation and plan. Project feasibility study should be conducted, particularly in demand and supply of the project. Monitoring of every process should be done in order to solve immediate problem. Plans for risk management should be made to support possible risks so that the working process will be effective. This will also lead to the sustainable development of accommodation for the low incomes on the royal property.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53078
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1232
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1232
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaisit_th_front.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
chaisit_th_ch1.pdf873.59 kBAdobe PDFView/Open
chaisit_th_ch2.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open
chaisit_th_ch3.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
chaisit_th_ch4.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
chaisit_th_ch5.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open
chaisit_th_ch6.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
chaisit_th_back.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.