Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53295
Title: ศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของแร่ไบโอไทต์ในหินแกรนิตของประเทศไทย
Other Titles: Petrography and geochemistry of some biotite in granites of Thailand
Authors: มยุรา แดงประสิทธิพร
Advisors: ปัญญา จารุศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: cpunya@chula.ac.th
Subjects: ไมกา
ไบโอไทต์ -- ไทย
หินแกรนิต -- ไทย
Mica
Biotite -- Thailand
Granite -- Thailand
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แร่ไบโอไทต์เป็นแร่สีเข้มที่เป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญในหินแกรนิต เป็นแร่หนึ่งในกลุ่มแร่ไมกา มีสูตร K(Mg, Fe2+ )₃(Al, Fe3+)Si₃O10(OH)₂ มีรูปผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง มีความหนาแน่น 2.7-3.3 ความแข็ง 2-3 มีสีดำ น้ำตาลแก่ หรือเขียวแก่ มีแนวแตกเรียบ ในแนว {001} ชัดเจน มีสมบัติการเปลี่ยนสี ลักษณะศิลาวรรณนาและธรณีเคมีได้นำมาใช้ในการศึกษาแร่ไบโอไทต์ในหินยุคมีโซโซอิคแกรนิตของประเทศไทยในครั้งนี้ ผลจากการศึกษาทางด้านศิลาวรรณนาทำให้สามารถจำแนกแร่ไบโอไทต์ออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะสีพลีโอโคอิคที่ปรากฏ ได้แก่ กลุ่มพลีโอโคอิคสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม และกลุ่มที่มีสีเขียวอมน้ำตาลถึงน้ำตาลอมเขียว จากผลวิเคราะห์องค์ประกอบเคมีของแร่ไบโอไทต์โดยเครื่อง EPMA สามารถจำแนกแร่ไบโอไทต์ออกเป็น 3 กลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะ คือ กลุ่ม Fe-Al biotite, Fe-biotite และ Mg-biotite โดยในกลุ่มของ Fe-Al biotite มีปริมาณของ Fe และ Al สูง ขณะที่ปริมาณของ Si มีค่าน้อย ประกอบด้วย 34.18±1.28% SiO₂, 3.28±0.96% TiO₂, 19.19±1.33 Al₂O3, 22.91±1.19 FeO, 0.47±0.11% MnO, 8.64±0.89 MgO และ 10.20±0.45% K₂O จากผลดังกล่าวบ่งบอกว่าแร่ในกลุ่ม Fe-Al biotite นี้เกิดจากการตกผลึกจาก peraluminous magma โดยการหลอมละลายบางส่วน (partial melting) จากแผ่นเปลือกโลกทวีป ซึ่งเชื่อว่าหินแกรนิตที่มีแร่ไบโอไทต์ในกลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์กับ S-type granites แร่ไบโอไทต์กลุ่มนี้แสดงพลีโอโคอิคสีน้ำตาล ในกลุ่มของ Fe-biotite เป็นกลุ่มที่มีปริมาณของ FeO มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบ 36.61±1.01% SiO₂, 3.17±0.92% TiO₂, 14.41±1.71 Al₂O₃, 28.32±3.38 FeO, 0.64±0.35% MnO, 7.50±0.91 MgO และ 7.85±2.63% K₂O เกิดจากการตกผลึกที่มาจากหลายแหล่งเช่น แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร และแผ่นเปลือกโลกทวีป (S/I-type granites) แร่ไบโอไทต์ในกลุ่มนี้แสดงพลีโอโคอิคสีเขียวอมน้ำตาลถึงน้ำตาลอมเขียว สำหรับ Mg-biotite มีปริมาณของ MgO สูงสุด โดยมีปริมาณธาตุองค์ประกอบอยู่ 37.26±0.61% SiO₂, 2.79±0.90% TiO₂, 15.24±1.56 Al₂O₃, 17.47±1.81 FeO, 1.98±0.50% MnO, 13.64±0.77 MgO และ 9.49±0.59% K2O กลุ่มแร่ไบโอไทต์ที่มีปริมาณ Mg สูงนี้เกิดจากตกผลึกจาก calc-alkaline magma (I-type granites) และในกลุ่มนี้จะมีพลีโอโคอิคเหมือนกับกลุ่ม Fe-biotite
Other Abstract: Biotite is one of the most important ferromagnesian constituents of granites and can be characterized by platy morphology and perfect basal cleavage. Pleochrism is the diagnostic property of biotite. Biotites in Mesozoic granite of Thailand have been determined by their geochemistry and petrography. Petrographical investigations show that biotites can be divided into 2 groups base on the basis of pleochroism viz. brown to dark brown group and brownish green to greenish brown group. Biotites can be distinguished into three groups: Fe-Al-, Fe- and Mg-biotite. Fe-Al-biotite is rich in Fe,Al but poor in Si. Result on EPMA analysis of biotite shows that the biotite. Base on this analysis contains contains contents of 34.18±1.28% SiO₂, 3.28±0.96% TiO₂, 19.19±1.33 Al₂O₃, 22.91±1.19 FeO, 0.47±0.11% MnO, 8.64±0.89 MgO, 10.20±0.45% K₂O. Our result reveals that the Fe-Al biotite crystallized from peraluminous melts originating mostly from the partially melted Al-rich continental crust. We believe that the granites contains this group of biotite belong to S-type affinity. This biotite group shows brown pleochroism under microscope. Fe-biotite group is richest in FeO and comprises contents of 36.61±1.01% SiO₂, 3.17±0.92% TiO₂, 14.41±1.71 Al₂O₃, 28.32±3.38 FeO, 0.64±0.35% MnO, 7.50±0.91 MgO, 7.85±2.63% K₂O. The Fe-rich biotite group probably crystallized from melts originating from different source, e.g., oceanic and continental crusts (S/I type granites). The color of pleochroism is brownish green to greenish brown. Mg-biotite is characterized by high content of MgO and contains of 37.26±0.61% SiO₂, 2.79±0.90% TiO₂, 15.24±1.56 Al₂O3, 17.47±1.81 FeO, 1.98±0.50% MnO, 13.64±0.77 MgO, 9.49±0.59% K₂O. The Mg-rich biotites crystallized mostly from calc-alkaline magma (I-type granites). The pleochroic color is similar to Fe-biotite.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53295
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Report_Mayura.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.