Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5381
Title: ความเป็นไปได้ของทางเลือกอื่นในการช่วยให้ปลาสามามารถผ่านสิ่งกีดขวางทางน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
Other Titles: Stertegies methods to assist fish in passing through the man-made obstruction in water ways
Authors: อุษารัศม์ นพคุณ
Advisors: สุรพล สุดารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suraphol.S@Chula.ac.th, suraphol@sc.chula.ac.th
Subjects: บันไดปลาโจน
ปลา -- การย้ายถิ่น
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตามธรรมชาติปลาบางชนิดจะมีการเคลื่อนย้ายที่เพื่อการวางไข่ หาอาหาร และเสาะหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในบางช่วง แต่เมื่อมีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการอพยพของปลา จึงได้ศึกษารูปแบบที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อช่วยลดปัญหานี้ ทำให้ปลาสามารถผ่านสิ่งกีดขวางทางน้ำไปได้บ้าง และขณะเดียวกันได้ศึกษาวิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ การก่อสร้างบันไดปลาโจน ซึ่งในประเทศไทยมีสร้างอยู่ 6 แห่งด้วยกัน แต่ขณะนี้สามารถใช้งานได้เพียง 3 แห่งเท่านั้น คือ บันไดปลาโจนเขื่อนระบายน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา บันไดปลาโจนเขื่อนระบายน้ำหนองหาน จังหวัดสกลนคร บันไดปลาโจนเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี อีก 3 แห่งชำรุดหรืออยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมจนไม่สามารถใช้งานได้ ส่วนอีกแห่งหนึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง บันไดปลาโจนที่สามารถใช้งานได้ 3 แห่งนั้น จากการเก็บข้อมูลสามารถสรุปได้ว่าสามารถช่วยให้ปลาเดินทางผ่านไปได้ 25 ชนิด 24 ชนิด และ 63 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 51.22 ร้อยละ 57 และร้อยละ 47 ตามลำดับ งานวิจัยนี้ได้นำแนวคิดของภูมิปัญญาชาวบ้าน และหาแนวความคิดใหม่เพื่อสร้างแบบจำลองในการช่วยให้ปลาสามารถเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางทางน้ำไปยังต้นน้ำได้ มีต้นแบบ 4 แบบ คือ แบบจำลองกังหันตักปลา แบบจำลองประตูกั้นน้ำ แบบจำลองระหัดวิดน้ำ และแบบจำลอง ลิฟท์ยกปลา โดยทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลองทางผ่านปลาทั้ง 4 แบบ กับปลาหางนกยูง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการช่วยให้ปลาหางนกยูงสามารถผ่านสิ่งกีดขวางทางน้ำได้ คิดเป็นร้อยละ 3.00 22.38 9.37 และ 11.70 ตามลำดับ และยังแสดงด้วยว่าความหนาแน่นของปลาหางนกยูงในการทดลองไม่มีผลต่อการผ่าน แบบจำลองกังหันตักปลา แต่มีผลต่อการผ่าน แบบจำลองประตูกั้นน้ำ แบบจำลองระหัดวิดน้ำ และแบบจำลองลิฟท์ยกปลา เพศของปลาหางนกยูงไม่มีผลต่อการผ่านแบบจำลองทางผ่านปลาต้นแบบทั้ง 4 แบบ และแบบจำลองกังหันตักปลา และแบบจำลองลิฟท์ยกปลามีความเหมาะสมกับปลาที่เป็นปลาหน้าดิน และปลาผิวน้ำ แบบจำลองระหัดวิดน้ำมีความเหมาะสมกับปลาชนิดที่เป็นปลาผิวน้ำ ส่วนแบบจำลองประตูกั้นน้ำเหมาะสมกับปลาทุกชนิด
Other Abstract: Naturally fish migrate to spawn, feed and seek suitable environment for the different steps of their lives. As a result of man-made obstruction which block the water way, effect the fish migration and reduce the number and species of fish in the water. In the past, local people in Thailand used folk wisdom to solve these problem. Presently the widely used technique is the fish ladder or fish way. There are 7 fish ladders in Thailand, but only 3 of those, namely Kaunpayoua fish ladder, Nhonghan fish ladder and Pakmun fish ladder are in use and also investigated in this study. From this study, the numbers of species of fish in 3 areas were able to pass the fish ladder are 25(51.22%), 24(57%) and 63(47%) consecutively. Folk wisdom, advantages and disadvantages of fish ladder were taken in to consideration in building 4 models, which are Water mill model, Water gate model, Ra-had model and Elevator model. After the experiment the efficiency of 4 models are 3.00%, 22.38%, 9.37% and 11.70% as follow consecutively. From this study it was found that the population density of fish do not effect the efficiency of the Water mill model but effects the Water gate model, Ra-had model and Elevator model. Also the sex of fish do not effect the efficiency of 4 models. Water mill model and Elevator model are suitable for Pelagic fish and Dermosal fish, Ra-had model is suitable for only Pelagic fish and Water gate model is suitable for all types of
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5381
ISBN: 9743345868
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
usaras.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.