Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54927
Title: การพัฒนาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้าย ด้วยวิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay และวิธี Latex Particle Agglutination
Other Titles: Development and Comparison of Efficacy of Diagnosis for Strongyloidiasis by Enzyme-Linked Immunosorbent Assay and Latex Particle Agglutination
Authors: ก้องกริช ศรีบุรินทร์
Advisors: วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Vivornpun.S@chula.ac.th,vivornpun@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Strongyloides stercoralis หรือพยาธิเส้นด้ายเป็นพยาธิตัวกลมที่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ติดต่อโดยการไชเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง มีการระบาดในเขตที่มีฝนตกชุก โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรื้อรังและไม่แสดงอาการ มักพบอาการแสดงในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อพยาธิจำนวนมาก การวินิจฉัยในปัจจุบันอาศัยการตรวจหาตัวอ่อนของพยาธิที่ออกมากับอุจจาระ แต่มีความไวต่ำ เนื่องจากจำนวนพยาธิที่ออกมากับอุจจาระมีจำนวนไม่มาก และมีจำนวนไม่แน่นอน การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการวินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้าย ด้วยวิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) และวิธี Latex Particle Agglutination เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อการติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายโดยใช้แอนติเจนชนิดสกัดอย่างหยาบ และ NIE peptide แอนติเจน จากตัวอย่างซีรัมทั้งหมด 218 ตัวอย่าง พบว่าการตรวจด้วยวิธี ELISA โดยใช้แอนติเจนชนิดสกัดอย่างหยาบ ตรวจหา anti-S.stercoralis IgG1antibody มีความไว 100% และมีความจำเพาะ 88.4% การตรวจหา anti-S.stercoralis IgG2 antibody มีความไว 100% และมีความจำเพาะ 85.3% การตรวจหา anti-S.stercoralis IgG3 antibody มีความ 100% และมีความจำเพาะ 58.4% และการตรวจหา anti-S.stercoralis IgG4 antibody มีความไว 100% และมีความจำเพาะ 93.0% ส่วนการตรวจด้วยวิธี Latex Particle Agglutination เพื่อตรวจหา anti-S.stercoralis antibody มีความไว 100% และมีความจำเพาะ 79.7% ใช้ NIE peptide แอนติเจน ตรวจหา anti-S.stercoralis IgG1antibody มีความไว 100% และมีความจำเพาะ 85.3% การตรวจหา anti-S.stercoralis IgG2 antibody มีความไว 97.7% และมีความจำเพาะ 67.4% การตรวจหา anti-S.stercoralis IgG3 antibody มีความ 100% และมีความจำเพาะ 66.9% และการตรวจหา anti-S.stercoralis IgG4 antibody มีความไว 94.3% และมีความจำเพาะ 83.8% ส่วนการตรวจด้วยวิธี Latex Particle Agglutination เพื่อตรวจหา anti-S.stercoralis antibody มีความไว 28.4% และมีความจำเพาะ 100% จากการศึกษานี้พบว่าการตรวจหาแอนติบอดีต่อแอนติเจนชนิดสกัดอย่างหยาบทั้ง 2 วิธีมีความไวสูง 100% มีความไวในการวินิจฉัยสูงเท่ากัน แต่การตรวจหา anti-S.stercoralis IgG4 antibody ด้วยวิธี ELISA มีความจำเพาะสูงสุด (93.0%) ในขณะที่การใช้ NIE peptide antigen ตรวจโดยทั้ง 2 วิธี ไม่สามารถเพิ่มความไวและความจำเพาะได้ อย่างไรก็ตามการตรวจโดยวิธี Latex Particle Agglutination มีราคาถูก ใช้เวลาในการทดสอบน้อย ทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ สามารถนำไปใช้ในการศึกษาภาคสนาม และโรงพยาบาลขนาดเล็กได้ การศึกษาเพื่อพัฒนาหาแอนติเจนที่มีความจำเพาะเพื่อนำมาใช้ตรวจโดยวิธี Latex particle agglutination จะมีประโยชน์ต่อไป
Other Abstract: Strongyloides stercoralis or threadworm is an intestinal helminth commonly transmitted the host via penetrating through the epidermal skin. Most epidemics are recorded in tropical regions with specifically frequent heavy rain exposure particular in Southeast Asia countries including Thailand. Most victims harboring S. stercoralis have asymptomatic or chronic symptoms but symptoms expression with those whose carry the huge numbers of S. stercoralis. Low sensitivity of recently routine diagnoses seldom observed the larvae-contaminated in stool specimens due to a low or an uncertain number of the larvae. In this study, we aimed to develop and compare the efficiency of two immunodiagnostics techniques - Enzyme-Linked lmmunosorbent Assay (ELISA) and Latex Particle Agglutination test – in order to investigate antibody specific for S. stercoralis infection using crude antigen and NIE peptide. Of 218 serum samples, ELISA resulted in the sensitivity and specificity of anti-S.stercoralis among IgG1, IgG2, IgG3, and IgG4 as 100%:88.46%; 100%:85.38%; 100%:58.46%; and 100%:93.07%, respectively. Latex agglutination test resulted in 100% sensitivity and 72.72% specificity. And NIE peptide in the sensitivity and specificity of anti-S.stercoralis among IgG1, IgG2, IgG3, and IgG4 as 100%:85.38%; 97.72%:67.42%; 100%:66.9%; 94.3%:83.80%.The Latex agglutination test resulted in 28.4% sensitivity and 100%. In conclusion, our finding showed an equal sensitivity diagnosis of both techniques. Interestingly, IgG4 of ELISA using crude antigen had provided the best specificity results in strongyloidiasis diagnosis. However, latex particle agglutination test showed more convenient than ELISA in low cost, short time testing, simple performing without special techniques requirement and able to experiment in the field study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรสิตวิทยาทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54927
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.546
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.546
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674006030.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.