Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55016
Title: วิธีการควบคุมคอนเวอร์เตอร์ของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ และการปรับตั้งระบบป้องกันสำหรับไมโครกริดกระแสสลับของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Converter Control Strategy of Battery Energy Storage System and Protection System Setting for Mae Hong Son AC Microgrid
Authors: รักษิณา ขณะฤกษ์
Advisors: สุรพงศ์ สุวรรณกวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Surapong.Su@Chula.ac.th,Surapong.Su@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการนำร่อง เอ ซี ไมโครกริด ของอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีการออกแบบให้มีโหมดการทำงานหลัก 3 โหมดได้แก่ โหมดเชื่อมต่อโครงข่าย โหมดแยกตัวอิสระ และโหมดการเปลี่ยนผ่าน เพื่อสนับสนุนการออกแบบดังกล่าว วิทยานิพนธ์นี้ให้ความสำคัญแก่ 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การปรับตั้งระบบป้องกันของระบบจำหน่าย และ 2) วิธีการควบคุมคอนเวอร์เตอร์ของระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ งานวิจัยนี้นำเสนอการปรับตั้งระบบป้องกันของระบบจำหน่ายให้สามารถรองรับการทำงานโหมดแยกตัวอิสระและโหมดเปลี่ยนผ่าน โดยไม่เกิดไฟดับชั่วคราว ในส่วนการควบคุมคอนเวอร์เตอร์ของระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ ในงานวิจัยนี้เลือกใช้การทำงานของคอนเวอร์เตอร์เป็นแหล่งจ่ายแรงดัน พร้อมกับประยุกต์ใช้การควบคุมดรูป-ความเร็วที่มีการจำลองค่าความเฉื่อยทางกล และยังปรับใช้เทคนิคการควบคุมของตัวควบคุมแรงดันอัตโนมัติ ซึ่งทำให้คอนเวอร์เตอร์มีลักษณะสมบัติเสมือนกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัส การทดสอบแนวคิดที่เสนอจะอาศัยการจำลอง เอ ซี ไมโครกริด ของอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยโปรแกรม DigSILENT ผลการจำลองการทำงานแสดงให้เห็นว่า การปรับตั้งระบบป้องกันที่นำเสนอสามารถรองรับการทำงานในโหมดต่างๆของไมโครกริดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโหมดการเปลี่ยนผ่านที่สามารถทำงานได้โดยไม่เกิดไฟดับชั่วคราว ผลการจำลองการทำงานยังแสดงให้เห็นว่า วิธีการควบคุมที่เสนอสามารถทำให้คอนเวอร์เตอร์มีลักษณะสมบัติเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัส โดยสามารถทำงานในโหมดพร้อมจ่ายเมื่ออยู่ในโหมดเชื่อมต่อโครงข่าย และสามารถควบคุมการจ่ายกำลังงานจริงตามลักษณะสมบัติของดรูป-ความเร็วเมื่ออยู่ในโหมดแยกตัวอิสระได้ รวมถึงสามารถควบคุมขนาดแรงดันผ่านการจำลองของตัวควบคุมแรงดันอัตโนมัติและลักษณะสมบัติการกระตุ้นได้ นอกจากนี้ส่วนควบคุมเสริมของคอนเวอร์เตอร์ยังสามารถสนับสนุนกระบวนการรีซิงโครไนซ์ เพื่อช่วยให้การทำงานในช่วงเปลี่ยนผ่านจากโหมดแยกตัวอิสระไปยังโหมดเชื่อมต่อกริดดำเนินการได้อย่างราบรื่น
Other Abstract: The pilot site of Mae-Hong-Son AC microgrid is designed to operate in 3 main modes; grid-connected, islanding and transition modes. In order to support this initiative, this thesis focuses on 2 major issues which are 1) the setting of protection scheme, and 2) the control strategy for power converter of Battery Energy Storage System (BESS). In this research work, the protection scheme of distribution system is altered to support the operation in islanding and transition modes without momentary interruption. For the control scheme of BESS’s converter, the converter in voltage-source operation is selected along with the employment of speed-droop control characteristic with the emulation of mechanical inertia. In addition, the control technique of Automatic Voltage Regulator (AVR) is adopted; hence the converter can be able to perform as an equivalent synchronous generator. The feasibility of proposed concept is verified by modeling the AC microgrid of Mae-Hong-Son province with DigSILENT. The simulation results show that the modified setting of protection scheme can well support the operation of microgrid in all modes, especially the transition mode which performs nicely without momentary interruption. Furthermore, the simulation results demonstrate the effectiveness of the proposed control strategy. The BESS’s converter can perform successfully as an emulated synchronous generator with various functions. Moreover, the auxiliary-control part of converter can support the resynchronization process in order to facilitate the seamless transition from islanding mode to grid-connected mode.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55016
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.938
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.938
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770284421.pdf24.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.