Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5532
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชมพูนุช โสภาจารีย์-
dc.contributor.authorจิรภัค สุวรรณเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-18T05:14:46Z-
dc.date.available2008-01-18T05:14:46Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741733135-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5532-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ข้อ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ในการให้บริการผู้รับบริการในหน่วยงานห้องคลอดและหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานห้องคลอดและหลังคลอดจำนวน 16 คน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของผู้รับบริการระหว่างผู้รับบริการกลุ่มที่ได้รับการบริการด้วยระบบพยาบาลเจ้าของไข้กับผู้รับบริการกลุ่มที่ได้รับการบริการด้วยระบบการมอบหมายงานตามหน้าที่ในหน่วยงานห้องคลอดและหลังคลอด โรงพยาบาลชุมพร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการจำนวน 60 คน ที่ได้จากการคัดเลือกแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด และจัดเข้ากลุ่มโดยใช้วิธีการจับคู่กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ คู่มือระบบพยาบาลเจ้าของไข้ สำหรับพยาบาลวิชาชีพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยการสังเคราะห์เนื้อหาจากแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับระบบพยาบาลเจ้าของไข้ ร่วมกับการสัมภาษณ์แนวลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง คือ แบบทดสอบวัดความรู้ เรื่องระบบพยาบาลเจ้าของไข้ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .65 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง คือ แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของผู้รับบริการ ที่ผู้วิจัยสร้างและดัดแปลงขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .86 และ .91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ สูงกว่าก่อนใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ ในหน่วยงานห้องคลอดและหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.48, p < .05) 2. ความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของผู้รับบริการกลุ่มที่ได้รับการบริการพยาบาลด้วยระบบพยาบาลเจ้าของไข้ สูงกว่า ความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของผู้รับบริการกลุ่มที่ได้รับการบริการพยาบาลด้วยระบบการมอบหมายงานตามหน้าที่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 12.32, p < .05) ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการของหัวหน้าหน่วยงานให้เกิดการบริการที่มีความความพึงพอใจทั้งในพยาบาลวิชาชีพและในผู้รับบริการen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were 2 folds. One research purpose was to compare job satisfaction of nurses before and after using primary nursing system in labor and post partum unit . Research subjects composed of 16 nurses from labor and post partum unit. Another research purpose was to compare patients satisfaction in nursing services between patients in group who received nursing care utilizing primary nursing system and patients in group who received nursing care utilizing functional method. Sixty research subjects were selected by convenient sampling and were 30 subjects each were assigned into the two groups by matched pair technique. Research instruments included 1) primary nursing system manual which was developed by the researcher utilizing the content derived from the theoretical framework and from the transcription of the indepth interview of experts, 2) primary nursing system-related knowledge questionnaire with reliability of .65, and 3) job satisfaction of nurses and patient satisfaction measurements which were developed by the researcher and tested for content validity and internal reliability (Cronbach{174}s alpha = .86 and .91, respectively). Research data were analyzed using mean, standard deviation, and dependent t-test. Major findings were as followed : 1. Job satisfaction of nurses after using primary nursing system was statistically significantly higher than before using primary nursing system in labor and post partum unit (t = 8.48, p<.05) 2. Patients satisfaction in nursing services in experimental group was statistically significantly higher than the patients satisfaction in nursing services in control group (t = 12.32, p<.05) The findings could be used as guidelines for head nurse in administrative and management in order to gain satisfaction in both professional nurses and patients.en
dc.format.extent895507 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาล -- ความพอใจในการทำงานen
dc.subjectระบบพยาบาลเจ้าของไข้en
dc.subjectพยาบาลห้องคลอดen
dc.titleผลของการใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ในหน่วยงานห้องคลอดและหลังคลอดต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพและความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของผู้รับบริการโรงพยาบาลชุมพรen
dc.title.alternativeEffects of using primary nursing system in labor and post partum unit on job Satisfaction of nurses and patient satisfaction in nursign services, Chumphon Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChompunut.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirapuk.pdf874.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.