Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56459
Title: การคัดเลือกดัชนีที่เหมาะสมเพื่อการเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน
Other Titles: SELECTION OF SUITABLE INDICES FOR ENERGY INFRASTRUCTURE COMPARISON
Authors: สุวรรณา เหมือนสอาด
Advisors: จิตติชัย รุจนกนกนาฏ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jittichai.R@chula.ac.th,jttichai@hotmail.com,jttichai@hotmail.com
Subjects: ความมั่นคงทางพลังงาน
เลขดัชนี
การใช้พลังงาน -- พยากรณ์
การพัฒนาพลังงาน
Energy security
Index numbers (Economics)
Energy consumption -- Forecasting
Energy development
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานระหว่างประเทศ โดยพิจารณาคัดเลือกจากดัชนีชี้วัดต่างๆ เพื่อให้ได้ดัชนีที่เหมาะสมในการชี้วัดสถานการณ์ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศไทยเพื่อนำมาซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการวางแผน ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นไปที่พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง และไฟฟ้า เป็นหลัก โดยใช้ข้อมูลในปี พ.ศ. 2557 ในระดับประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และทุกกลุ่ม ประมาณ 60 ประเทศในโลก และในระดับจังหวัด ใช้ข้อมูล 77 จังหวัดของไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเชิงเส้น ซึ่งพิจารณาจากระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และคัดเลือกสมการแบบจำลองจากค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) ที่มีค่าสูงสุด ในแบบจำลองที่สมเหตุสมผล พบว่า ดัชนีที่เหมาะสมในการชี้วัดโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานระดับประเทศ สำหรับในภาพรวมโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว(OECD) ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และการใช้ไฟฟ้าต่อขนาดพื้นที่ อย่างไรก็ดี ในกรณีสำหรับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและการใช้ไฟฟ้าต่อจำนวนประชากร จะมีความเหมาะสมกว่า ในส่วนของไทยนั้น ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซินต่อปริมาณการเดินทางบนทางหลวง และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ถือเป็นดัชนีที่ควรนำมาพิจารณา ดัชนีเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับภาครัฐไทยในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศต่อไป ได้แก่ กำหนดระยะเวลาที่จะต้องขยายโรงกลั่นน้ำมัน หรือสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เป็นต้น
Other Abstract: This research's objective is to compare energy infrastructures though the selection of indices and use these indices to point out situations regarding Thailand's energy infrastructures and propose recommendation for planning and policy. This study focuses on fuel oil and electricity only by use data from approximately 60 countries around the world (for country scale) and all 77 provinces in Thailand (for provincial scale). These data are analyzed by multiple linear regression with the statistical significance (p-value) at 0.05 and high coefficients of determination. Then, the models are obtained with reasonableness. The findings show that the appropriate indices for overall especially the OECD countries are fuel consumption and electricity usage per area, while more appropriate ones for developing countries arefuel consumption and electricity usage per capita. For Thailand, the diesel and gasoline consumption per vehicle kilometers on national highways and electricity usage per area would be considered. These indices would be useful if the government agents has used them for policy determination regarding energy infrastructure planning such as timeframe for expanding oil refineries or opening new power plants.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56459
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1365
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1365
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787590320.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.